http://mc15chap.igetweb.com
สร้างเว็บไซต์Engine by iGetWeb.com

 หน้าแรก

 ทำเนียบ อศจ.ทบ.

 ผู้บังคับบัญชา

 ทำเนียบ อศจ.มทบ.๑๕

ภารกิจ

ประวัติอนุศาสนาจารย์

ผู้ดูแลระบบ

ปฎิทิน

« April 2024»
SMTWTFS
 123456
78910111213
14151617181920
21222324252627
282930    

ภาพกิจกรรม

คุณธรรมสำหรับทหารใหม่

นานาสาระน่ารู้

อดีตกาลของชีวิต

สถิติ

เปิดเว็บ04/08/2009
อัพเดท15/03/2019
ผู้เข้าชม1,012,110
เปิดเพจ1,767,755
iGetWeb.com
AdsOne.com

ประวัติความเป็นมา


พระบาทสมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๖ พระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว
พระผู้พระราชทานกำเนิดอนุศาสนาจารย์กองทัพไทย

 

“ อนุศาสนาจารย์ ” เป็นคำเรียกชื่อนายทหารผู้ปฏิบัติงานด้านศาสนาในกองทัพ ตามพระราชานุมัติของ พระบาทสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 6 พระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งทรงมีพระมหากรุณาธิคุณ พระราชทานกำเนิด กิจการอนุศาสนาจารย์ขึ้นในกองทัพไทย เมื่อ วันที่ 29 มิถุนายน ปีพุทธศักราช 2461 โดยทรงตระ หนักถึงความ จำเป็นทีต้องมีอนุศาสนาจารย์ ติดตามกองทหาร อาสาไปช่วยราชสัมพันธมิตรในงานพระราชสงคราม ทั้งนี้เพื่อทำหน้าที่ปลุกใจทหาร เป็นที่พึ่งทางใจและนำปฏิบัติศาสนกิจแก่ทหาร ตามพระราชปรารภ ความตอนหนึ่งว่า

“ …… ทหารที่ออกจากบ้านเมืองไปคราวนี้ ต้องอยู่ถิ่นไกล ไม่ได้พบเห็นพระเหมือนอยู่ในบ้านเมืองตน จิตใจจะเหินห่างจากธรรม ถึงยามคึกคะนองก็จะฮึกเหิมเกินไป ถึงคราวทุกข์ร้อนก็อาดูรระส่ำระสาย ไม่มีใครคอยช่วย ปลดเปลื้องบันเทาให้ ถ้ามีอนุศาสนาจารย์ออกไปจะได้คอยพร่ำสอน และปลอบโยนปลดเปลื้องในยามทุกข์ ”
โดยมีอำมาตย์ตรี พระธรรมนิเทศทวยหาญ ( อยู่ อุดมศิลป์ ) เป็นปฐมอนุศาสนาจารย์

 


พระธรรมนิเทศทวยหาญ
ปฐมอนุศาสนาจรย์
 

พระธรรมนิเทศทวยหาญ
นาม เดิมอยู่ สกุล อุดมศิลป์ เป็นบุตรนายด้วง นาง
เกิดเมื่อ ปีมะเส็ง วันจันทร์ที่ ๑๔ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๔๒๔ เวลา ๒๑ นาฬิกาเศษ ๘ นาที
ตั้งบ้านอยู่ตำบลตรอกข้าวหลาม อำเภอหัวลำโพง จังหวัดพระนคร

เมื่อยังเยาว์ มารดาบิดาได้จัดการให้ศึกษาอักขรสมัยเบื้องต้นที่บ้านก่อน ต่อมาจึงนำฝากให้เรียนเพิ่มเติมในสำนักวัดเทพศิรินทร์ อีกถึงปีมะโรง พุทธศักราช ๒๔๓๕ อายุได้ ๑๒ ขวบ บรรพชาเป็นสามเณรในสำนักนั้น พระธรรมไตรโลกาจารย์ (เดช) เมื่อยังเป็นพระเทพกวี เป็นพระอุปัชฌายะ ครั้นบวชแล้วคงอยู่ศึกษาพระปริยัติธรรมในสำนักนั้น จนจบชั้นเปรียญโท ถึงปีกุน พ.ศ.๒๔๔๒ สอบได้เปรียญเอก เทียบ ๗ ประโยค มหามกุฏราชวิทยาลัยตั้งให้เป็นครูเอกโรงเรียนภาษาบาลีวัดเทพศิรินทร์ในศกนั้นด้วย ลุปีขาล พ.ศ.๒๔๔๕ มีอายุ ๒๐ ปีบริบูรณ์

 
อุปสมบท

อุปสมบท ณ วันที่ ๘ กรกฎาคม มีนิยมนามตามภาษามคธว่า เขมจาโร สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส
ครั้งนั้นยังเสด็จดำรงพระยศเป็นพระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่น ฯ เป็นพระอุปัชฌายะ
สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์(ญาณวโร เจริญ) ยังดำรงสมณศักดิ์เป็นพระราชมุนี เป็นพระอุปสัมปทาจารย์

อุปสมบทแล้วคงอยู่ในพระอารามนั้นไปศึกษาเล่าเรียนในสำนักสมเด็จพระมหาสมณเจ้ากรมพระยาวชิรญาณวโรรส
เข้าแปลพระปริยัติธรรม ณ สนามวัดพระศรีรัตนศาสดาราม ได้ประโยค ๘ ในปีนั้น รุ่งขึ้น พ.ศ.๒๔๔๖ แปลได้ประโยค ๙ ถึง พ.ศ. ๒๔๕๒ ทรงตั้งเป็นพระอมราภิรักขิต ที่พระราชาคณะผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดเทพศิรินทร์ ในฝ่ายเทศนาก็ทรงตั้งให้เป็นคณาจารย์เอก และสมเด็จพระมหาสมณเจ้าโปรดให้เป็นกรรมการสนามหลวง และกรรมการในมหาเถรสมาคมด้วยองค์หนึ่ง ต่อมาขอพระบรมราชานุญาตลาสิกขา ณ วันที่ ๑๓ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๕๙

เข้ารับราชการ เข้ารับราชการในกรมราชบัณฑิต กระทรวงธรรมการ(กระทรวงศึกษาธิการปัจจุบัน)
ได้รับพระราชทานยศเป็นรองอำมาตย์ตรี
ต่อมา เมื่อเกิดสงครามโลกครั้งที่ ๑ ได้รับพระบรมราชโองการให้เป็นอนุศาสนาจารย์
ไปกับกองทัพในราชการสงคราม ประจำ ณ กองทูตทหารกรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส
และเมื่อเสร็จสิ้นสงครามแล้ว เดินทางกลับมาได้รับการโอนไปเป็นหัวหน้ากองอนุศาสนาจารย์
และได้รับพระราชทานยศเลื่อนเป็น รองอำมาตย์เอก และอำมาตย์ตรี พระธรรมนิเทศทวยหาญ
สังกัดกระทรวงกลาโหม เมื่อวันที่ ๑ มิถุนายน พ.ศ.๒๔๖๒
นับเป็นปฐมอนุศาสนาจารย์ ของกองทัพไทย

view

 กองทัพบก

 ยศ.ทบ.

กองอนุศาสนาจารย์ ยศ.ทบ.

ศูนย์การเรียนรู้ มทบ.๑๕

ฝอศจ.จทบ.ร.บ.

view