รักษาความสงบเรียบร้อยการชุมนุมตามหลักสากล
ป.พัน. ๑๑ รอ.ร้อย.๒ |
แนวทางปฏิบัติทั่วไปในการใช้กำลัง ๑. หากเป็นไปได้ ให้ปฏิบัติหน้าที่โดยปราศจากการใช้กำลัง ๒. หากจำเป็นให้ใช้กำลังให้น้อยที่สุด ๓. พิจารณาระดับกำลัง ๓.๑ การโน้มน้าวด้วยวาจา ๓.๒ เทคนิคการป้องกันตัวแบบไม่ใช้อาวุธ ๓.๓ สิ่งระคายเคืองที่เป็นละอองสารเคมี เช่น แก๊ซน้ำตา ฯลฯ ๓.๔ การใช้กระบองของสารวัตรทหาร ๓.๕ การใช้สุนัขทหาร ๓.๖ การแสดงให้เห็นอาวุธสังหาร ๓.๗ การใช้กำลังที่ทำให้เกิดอันตรายถึงชีวิต ๔. ห้ามมิให้ใช้การยิงเตือน (warning shots) สาเหตุเนื่องจากในสถานการณ์ที่มีความสับสนนั้น เสียงทีดังมาจากการยิงเตือนนั้น อาจก่อให้เกิดความเข้าใจผิดไปได้หลายทาง เช่น เข้าใจว่าเกิดการปะทะขึ้นแล้ว หรือผู้ถูกยิงเตือนเข้าใจว่ากำลังถูกทำการยิง ฯลฯ ซึ่งมักจะส่งผลให้บุคคลอื่นๆ รวมทั้งผู้ที่ถูกยิงเตือนนั้น รู้สึกถึง “ภัย” ที่อาจจะเกิดขึ้น และด้วยสัญชาตญาณจะพยายามที่จะหลบหลีกออกจากบริเวณดังกล่าว ( getaway from the area) ให้รวดเร็วที่สุด ซึ่งจะยิ่งทำให้การควบคุมเป็นไปได้ยากยิ่งขึ้น นอกจากนี้จากผลการศึกษา การใช้การยิงเตือน ยังมักจะก่อให้เกิดอันตรายเป็นอย่างยิ่ง ไม่ว่าจะเป็นการยิงปืนขึ้นฟ้า ซึ่งตามหลักวิทยาศาสตร์ กระสุนก็จะต้องไปตกยังที่แห่งใดแห่งหนึ่งซึ่งอาจถูกคนหรือทรัพย์สินเสียหาย หากเป็นการยิงขึ้นฟ้าไปตรงๆ ก็จะพบว่ากระสุนจะตกกลับมาถูกคนหรือทรัพย์สินในบริเวณที่ทำการยิงขึ้นไปนั่นเอง ตัวอย่างที่เห็นได้ชัด เช่น การยิงปืนเฉลิมฉลองในงานเทศกาลต่างๆ เมื่อมีคนตายหรือบาดเจ็บ มักจะพบว่าเกิดจากกระสุนที่ตกลงมานั่นเอง หรือกรณีการยิงปืนลงพื้นนั้น ยิ่งพบว่ามีอันตรายมาขึ้นไปอีก โดยเฉพาะเราไม่ทราบเลยว่ากระสุนจะแฉลบไปทางใด และจะถูกใครได้รับบาดเจ็บบ้าง ๕. หากเวลาและสถานการณ์อำนวย บุคคลที่แสดงอาการเป็นภัย ควรได้รับการเตือนและได้รับโอกาสที่จะหยุดการกระทำที่เป็นภัยนั้น ๖. ใช้การเปิดเผยให้เห็นว่าพาอาวุธเท่านั้น การชักอาวุธปืนออกมาจากซองปืนจริงๆนั้น ใช้เฉพาะกรณีมีเหตุผลอันสมควรที่จะเชื่อได้ว่าอาจจำเป็นที่จะต้องใช้อาวุธเท่านั้น |
