ส่งเสริมสถาบันพระมหากษัตริย์
Rdf312@gmail.com |
ใช้ชีวิตอย่างพอเพียง รู้จักประหยัดอดออม |
ยศมน |
พระผู้ทรงงานไอที พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ทรงเป็นพระมหากษัตริย์ที่สนพระหทัยใฝ่ศึกษาอย่างจริงจัง ในการใช้เครื่องมือเทคโนโลยีต่างๆ โดยเฉพาะด้านเทคโนโลยีสารสนเทศนั้น ทรงเห็นความสำคัญและประโยชน์อย่างยิ่ง ทรงสนับสนุนการค้นคว้าในทางวิทยาการคอมพิวเตอร์ในด้านส่วนพระองค์นั้น ทรงศึกษาคิดค้นสร้างโปรแกรมคอมพิวเตอร์ เพื่อการประมวลผลข้อมูลต่างๆ ด้วยพระองค์เอง ทรงประดิษฐ์รูปแบบตัวอักษรไทยที่มีลักษณะงดงาม เพื่อแสดงผลบนจอภาพคอมพิวเตอร์และเครื่องพิมพ์ ทรงใช้เครื่องคอมพิวเตอร์เพื่อบันทึกพระราชกรณียะกิจต่างๆ และทรงติดตั้งเครือข่ายสื่อสารคอมพิวเตอร์เพื่อสนับสนุนพระราชภารกิจต่างๆ ทั้งยังทรงประดิษฐ์ ส.ค.ส. ด้วยคอมพิวเตอร์ เผยแพร่ผ่านสื่อมวลชน เพื่อทรงอวยพรปวงชนชาวไทยเป็นประจำทุกปี ด้วยฟร้อนที่ทรงประดิษฐ์เอง นอกจากนั้น พระองค์ยังทรงใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ในงานส่วนพระองค์ทางด้านดนตรี โดยทรงใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ในการป้อนโน้ตเพลงและเนื้อร้อง โดยทรงศึกษาวิธีการใช้เครื่องและโปรแกรมที่เกี่ยวข้องด้วยพระองค์เอง พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวยังทรงตั้งพระหทัยในการประดิษฐ์อักษรภาษาอื่นๆ นอกจากภาษาไทย คือภาษาสันสกฤต และทรงศึกษาการใช้คอมพิวเตอร์แสดงตัวเทวะนาครี อันมีรากมาจากศาสนาฮินดู บนจอภาพ ซึ่งจัดทำได้ยากกว่าตัวอักษรภาษาไทย และทรงสนพระหทัยศึกษาในการพัฒนา Software ต่างๆ ทรงสร้างโปรแกรมใหม่ๆ ความใฝ่พระหทัยในเทคโนโลยีสารสนเทศ ได้ทำให้งานพัฒนาประเทศ ที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมุ่งมั่น ดำเนินไปอย่างทันโลก ทันเหตุการณ์ ประดุจการเปิดหน้าต่างบานใหญ่ให้ข้อมูลข่าวสารนำทางงานพัฒนาเพื่อประโยชน์สุขของมหาชนอย่างแท้จริง กกร.กร.ทบ. |
111 |
๑. เพิ่มการมีส่วนร่วมและบทบาทในเวทีการแสดงความคิดเห็น และกิจกรรมต่างๆ ร่วมกับนักวิชาการ, แกนนำภาคประชาชน, ผู้นำทางความคิด/ทางศาสนา, องค์กรภาคประชาสังคม และประชาชนในพื้นที่อย่างต่อเนื่อง รวมทั้งพัฒนาสัมพันธ์กับบุคคลดังกล่าวในแต่ละพื้นที่ควบคู่ไปด้วยกัน เพื่อสร้างโอกาสในการรับทราบปัญหาและชี้แจงทำความเข้าใจกับประชาชนในพื้นที่โดยตรง (ยุทธศาสตร์การเสริมสร้างความเข้าใจ) ๒. เพิ่มการประชาสัมพันธ์มาตรการของเจ้าหน้าที่ ในการรักษาความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน ให้สาธารณชนทราบ เพื่อสร้างความเชื่อมั่นของประชาชนต่อมาตรการในการรักษาความปลอดภัยของเจ้าหน้าที่ให้เพิ่มขึ้น รวมทั้งป้องกันยุทธศาสตร์ของกลุ่ม ผกร. ในการสร้างสถานการณ์ เพื่อลดความน่าเชื่อถือในการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ และการใช้ พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ ในพื้นที่ จชต. ๓. สรุปผลการปฏิบัติงานที่สำคัญตามยุทธศาสตร์การแก้ไขปัญหาของ กอ.รมน. ในห้วงที่ผ่านมา (ตั้งแต่ ๔ ม.ค.๔๗) เพื่อประชาสัมพันธ์ให้สาธารณชนทราบ โดยผลิต/จัดทำสื่อผสม และเผยแพร่ผ่านสื่อต่างๆอย่างต่อเนื่อง (โดยเฉพาะสื่อวิทยุ, โทรทัศน์ และ Social Network) ทั้งในภาษาไทยและภาษาท้องถิ่น เพื่อสื่อให้ประชาชนเห็นว่าเจ้าหน้าที่รัฐได้ดำเนินการแก้ไขปัญหาในทุกมิติอย่างต่อเนื่อง ซึ่งจะส่งผลดีต่อการสร้างความเชื่อมั่นของประชาชนต่อการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่รัฐให้เพิ่มขึ้นได้ |
