http://mc15chap.igetweb.com
สร้างเว็บไซต์Engine by iGetWeb.com

 หน้าแรก

 ทำเนียบ อศจ.ทบ.

 ผู้บังคับบัญชา

 ทำเนียบ อศจ.มทบ.๑๕

ภารกิจ

ประวัติอนุศาสนาจารย์

ผู้ดูแลระบบ

ปฎิทิน

« April 2025»
SMTWTFS
  12345
6789101112
13141516171819
20212223242526
27282930   

ภาพกิจกรรม

คุณธรรมสำหรับทหารใหม่

นานาสาระน่ารู้

อดีตกาลของชีวิต

สถิติ

เปิดเว็บ04/08/2009
อัพเดท15/03/2019
ผู้เข้าชม1,129,918
เปิดเพจ1,890,973
iGetWeb.com
AdsOne.com

เรียนรู้มาตรา 112

(อ่าน 273/ ตอบ 7)

ป.พัน.๑ รอ.

กฎหมายอาญาของไทยเป็นกฎหมายที่มีความเป็นสากล กล่าวคือ ให้ความคุ้มครองประมุขของรัฐต่างประเทศและผู้แทนของรัฐต่างประเทศด้วย ดังจะเห็นได้จากมาตรา ๑๓๓ และ มาตรา ๑๓๔ ซึ่งบัญญัติไว้ว่า


 มาตรา ๑๓๓ ผู้ใดหมิ่นประมาท ดูหมิ่นหรือแสดงความอาฆาตมาดร้ายราชาธิบดี ราชินี ราชสามี รัชทายาท หรือประมุขแห่งรัฐต่างประเทศ ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่หนึ่งปีถึงเจ็ดปี หรือปรับตั้งแต่สองพันบาทถึงหนึ่งหมื่นสี่พันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ


 มาตรา ๑๓๔ ผู้ใดหมิ่นประมาท ดูหมิ่น หรือแสดงความอาฆาตมาดร้ายผู้แทนรัฐต่างประเทศ ซึ่งได้รับแต่งตั้งให้มาสู่พระราชสำนัก ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่หกเดือนถึงห้าปี หรือปรับตั้งแต่หนึ่งพันบาทถึงหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ


 ดังนั้น ถ้ายกเลิกมาตรา ๑๑๒ ผลตามกฎหมาย ก็คือ ประเทศไทยให้ความคุ้มครองประมุขแห่งรัฐต่างประเทศ แต่ไม่คุ้มครองประมุขของตนเอง ซึ่งเป็นเรื่องผิดวิสัยของอารยประเทศอย่างยิ่ง และหากจะยกเลิกมาตรา ๑๓๓ และมาตรา ๑๓๔ ไปพร้อมกับมาตรา ๑๑๒ ผลก็คือ ประเทศไทยจะกลายเป็นประเทศป่าเถื่อนในสายตาสังคมโลก และไม่มีประเทศที่เจริญแล้วประเทศใดในโลกคบค้าสมาคมด้วย เพราะไม่ให้เกียรติแก่ประมุขของเขา ซึ่งถือเป็นสัญลักษณ์แห่งเกียรติยศสูงสุดของประเทศเหล่านั้น


 


  - “ข้อแตกต่างของความผิดฐานหมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์กับบุคคลธรรมดาประการแรก ก็คือ มาตรา ๑๑๒ เป็นความผิดอาญาแผ่นดิน ซึ่งหมายความว่ารัฐเป็นผู้เสียหายและเจ้าหน้าที่ของรัฐจะต้องดำเนินการกับผู้กระทำความผิด ส่วนมาตรา ๓๒๖ เป็นความผิดอันยอมความได้หรือความผิดต่อส่วนตัว ซึ่งถ้าไม่มีผู้เสียหายไปแจ้งความร้องทุกข์กล่าวโทษ เจ้าหน้าที่รัฐก็จะไม่ดำเนินคดีให้ เหตุที่บัญญัติไว้แตกต่างกันเช่นนี้ เพราะไม่มีประเทศใดในโลกที่ประมุขของรัฐจะไปฟ้องร้องกล่าวโทษพลเมืองของตนเอง ดังนั้น หากยกเลิกมาตรา ๑๑๒ ก็เท่ากับเป็นการจำกัดสิทธิของประมุขแห่งรัฐไม่ให้สามารถคุ้มครองตนเองจากการถูกหมิ่นประมาทได้


    - “มาตรา ๒๘ วรรคแรก ของรัฐธรรมนูญ ระบุว่า เสรีภาพของบุคคล ย่อมมีข้อจำกัดโดยเสรีภาพอีกคน ดังนั้น จะปล่อยให้คนผู้หนึ่งไปละเมิดเสรีภาพคนอื่นก็ทำไม่ได้อยู่แล้ว เพราะเสรีภาพมีขอบเขต ไม่ใช่ไม่มีข้อจำกัด เรื่องนี้เป็นเรื่องพื้นฐาน แค่อย่าใช้เสรีภาพไปก้าวล่วงเท่านั้น ก็จะไม่เกิดปัญหาเกี่ยวกับมาตรา ๑๑๒


    - “การที่มีกลุ่มต่างๆ ออกมาเคลื่อนไหวเรียกร้องให้แก้ไขประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๑๑๒ โดยมองว่าเป็นการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของตนนั้น อยากทำความเข้าใจให้ทราบว่า คนทุกคนมีสิทธิและเสรีภาพของตน แต่สิทธินั้นเป็นสิทธิที่อยู่ภายใต้ขอบเขตที่เหมาะสม และจะต้องไม่กระทบต่อสิทธิของผู้อื่นด้วย และทุกคนไม่ควรมองถึงบทลงโทษของกฎหมายแต่เพียงอย่างเดียว แต่ควรมองถึงประเด็นที่มีคนบางคน หรือบางกลุ่ม ที่พยายามจะกระทำผิดกฎหมาย โดยการละเมิดสิทธิเสรีภาพของสถาบันฯ และมองว่าคนผู้นั้นกระทำผิดอย่างไร ได้รับโอกาสชี้แจงแก้ข้อกล่าวหาแล้วหรือไม่ เพราะกฎหมายและบทลงโทษในทุกมาตราถูกกำหนดมาเพียงเพื่อป้องปรามการกระทำผิดเท่านั้น หากไม่มีผู้ใดกระทำผิดหรือละเมิดกฎหมายก่อน บทลงโทษนั้นย่อมจะไม่มีผลแต่อย่างใด


Webboardแสดงความคิดเห็น
เยี่ยม   แย่   แย่   แย่   เขิน   หยอกล้อ  ตกใจ  ร้องไห้   สงสัย   ขอโทษ   หดหู่   อย่าน่ะ   ต่อว่า   โอเค
*ชื่อ
*สถานะ  
*อีเมล
ลิงค์ที่เกี่ยวข้อง
*รหัสยืนยัน

หมายเหตุ : : กรุณากรอกข้อมูลที่มี * ทุกช่อง

view

 กองทัพบก

 ยศ.ทบ.

กองอนุศาสนาจารย์ ยศ.ทบ.

ศูนย์การเรียนรู้ มทบ.๑๕

ฝอศจ.จทบ.ร.บ.

view