http://mc15chap.igetweb.com
สร้างเว็บไซต์Engine by iGetWeb.com

 หน้าแรก

 ทำเนียบ อศจ.ทบ.

 ผู้บังคับบัญชา

 ทำเนียบ อศจ.มทบ.๑๕

ภารกิจ

ประวัติอนุศาสนาจารย์

ผู้ดูแลระบบ

ปฎิทิน

« May 2024»
SMTWTFS
   1234
567891011
12131415161718
19202122232425
262728293031 

ภาพกิจกรรม

คุณธรรมสำหรับทหารใหม่

นานาสาระน่ารู้

อดีตกาลของชีวิต

สถิติ

เปิดเว็บ04/08/2009
อัพเดท15/03/2019
ผู้เข้าชม1,013,807
เปิดเพจ1,769,559
iGetWeb.com
AdsOne.com

เทิดทูนสถาบันพระมหากษัตริย์

(อ่าน 65892/ ตอบ 5447)

ร้อย.ม.(ลว.) ๑ พล.๑

๑ เรารักในหลวงเรารักประเทศไทยจงร่วมใจกันให้เป็นดินแดนที่น่า อยู่ที่สุดแห่งหนึ่งในโลก
๒ ด้วยพระบารมี เราจึงรวมกันอยู่ได้อย่างเหนียวแน่นมีชาติมีประเทศอันตั้งเป็นอิสรเสรีมาช้านาน
๓ สถาบันพระมหากษัตริย์ ช่วยให้ประเทศไทยอยู่เป็นเอกราชมานานนับร้อย ๆ ปี
๔ ในหลวงพระ องค์ทรงเป็นองค์ประมุขแผ่นดินทองของพระบวรพุทธศาสนาและทุกศาสนาในประเทศ
๕ สถาบันชาติ ศาสน์ กษัตริย์ เป็นสถาบันหลักในผืนธงชาติไทยที่เราเคารพ
๖ ในหลวงพระองค์ทรงมีพระราชดำรัสให้คนในชาติมีความรักใคร่กลมเกลียวสมัครสมานสามัคคีมีความ เป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน อันจะนำพาประเทศชาติไปสู่ความเจริญรุ่งเรืองคงความเป็นชาติไทยไว้ได้
๗ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงทุ่มเทพระวรกายตรากตรำและมุ่งมั่นเพื่อแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของพสกนิกรชาวไทย
๘ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมิทรงย่อท้อเข้าไปช่วยเหลือราษฎรไม่ว่าจะอยู่ห่างไกลสักเพียงใดไม่ว่าเชื้อชาติใด ศาสนาใด
๙ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงมีความละเอียดรอบคอบ ทรงคิดหาแนวทางพัฒนาเพื่อมุ่งประโยชน์ต่อประชาชนสูงสุด
๑๐ เราชาวไทยควรยึดแบบอย่างเจริญรอยตามเบื้องพระยุคลพระบาทนำมาปฏิบัติให้เกิดผลแก่ตนเอง สังคมและประเทศชาติ
๑๑ ด้วยพระปรีชาญาณในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ให้คนทั้งหลายได้ประจักษ์ว่า แนวทางพระราชดำริในพระองค์ เรียบง่าย ปฏิบัติได้ผลเป็นที่ยอมรับโดยทั่วกัน
๒๒ พระองค์ทรงมีแนวทางพระราชดำริในการพึ่งตนเองเพื่อให้สามารถดำรงชีพอยู่ได้อย่างอิสระ มั่นคงและสมบูรณ์
๑๓ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระองค์ได้พระราชทานพระราชดำริเกี่ยวกับปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อเป็นแนวทาง ก้าวไปข้างหน้าอย่างมั่นคง
๑๔ เราจงน้อมนำราชดำรัส ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มาเป็นแนวทางในการประพฤติปฏิบัติ เป็นเครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจ
๑๕ ในหลวงพระองค์ทรงหลั่งหยาดเหงื่อเพื่อคนไทย ให้มีความผาสุก
๑๖ ถ้าเราไม่เคารพรักในสถาบันชาติแล้ว ความปั่นป่วนระส่ำระสายก็จะเกิดตามมา
๑๗ ประวัติศาสตร์สอนให้เรารู้ว่าชาติใดขาดสามัคคีธรรมจะสูญเสียย่อยยับอับปางไปในที่สุด
๑๘ เรารักษาเอกราชอธิปไตยมาได้จนถึงทุกวันนี้ ด้วยความจงรักภักดีต่อสถาบันและความสมัครสมานสามัคคี
๑๙ หากเราทุกคนช่วยกันรักษาสถาบันหลักของชาติโดยทั่วกันจะช่วยให้บ้านเมืองมีความปกติเรียบร้อยได้
๒๐ การกระทำความดี ถึงแม้จะเห็นผลช้าแต่ก็ทำให้มีความสุขสมบูรณ์ได้อย่างยั่งยืน


กยก.มทบ.32

ขอเดินตามรอยเท้าพ่อหลวงตามรอยพระยุคลบาทเศรฐกิจพอเพียงและขอให้ท่านมีพระชนมายุยิ่งยืนนาน

กบร.ศป.

พระทรงเป็นศูนย์รวมใจไทยทั้งชาติ ทรงเป็นปราชญ์เป็นบิดาแห่งสยาม 
พระเป็นพ่อผู้ให้ไทยทุกนาม ชาวสยามขอให้พระองค์ทรงพระเจริญ

m

เศรษฐกิจ พอเพียง เลี้ยงชีวิต 
ทรงอุทิศ เวลา เงินตราให้ 
พระตรากตรำ ทำเอง จากจิตใจ 
ต้องการให้ เห็นจริง ทุกสิ่งงาน 
ความสำเร็จ เสร็จสม อารมณ์หวัง 
เสริมพลัง สร้างความคิด ลิขิตขาน 
พระทรงชัย ไตร่ตรอง มองเหตุการณ์ 
เพื่อลูกหลาน รุ่งเรือง เมืองไทยงาม 

nutum

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงเริ่มพระราชนิพนธ์เพลงเมื่อมีพระชนมพรรษาได้ ๑๘ พรรษา ในปีพุทธศักราช ๒๔๘๙ ทรงพระราชนิพนธ์ทำนองเพลง “แสงเทียน” เป็นเพลงพระราชนิพนธ์เพลงแรก และจนถึงปัจจุบันมีเพลงพระราชนิพนธ์ ทั้งสิ้น ๔๘ เพลง ทุกเพลงล้วนมีทำนองไพเราะประทับใจผู้ฟัง สอดคล้องกับเนื้อร้อง ซึ่งมีคตินานัปการ และเป็นส่วนสำคัญส่วนหนึ่งของชีวิตคนไทย ในยามที่บ้านเมืองไม่สงบสุข ก็พระราชทานเพลงปลุกใจเพื่อเป็นขวัญกำลังใจ แก่ ข้าราชการ ทหาร พลเรือน และประชาชน ผู้ปฏิบัติหน้าที่เพื่อประเทศชาติ มิให้เกิดความย่อท้อในการทำความดี ต่อชาติ ศาสน์ กษัตริย์ ต่อตนเองและสังคม


          รายการสยามานุสติขอนำความเป็นมาของบทเพลงพระราชนิพนธ์มาเล่าสู่ท่านผู้ฟัง ตามลำดับดังนี้


          เพลงพระราชนิพนธ์ลำดับที่ ๑ เพลงพระราชนิพนธ์แสงเทียน CANDLELIGHT BLUES ทรงพระราชนิพนธ์ในเดือนกันยายน พ.ศ. ๒๔๘๙ ครั้งดำรงพระราชอิสริยยศเป็น สมเด็จพระอนุชาธิราช ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจักรพันธ์เพ็ญศิริ (ขณะดำรงพระยศเป็นหม่อมเจ้าจักรพันธ์เพ็ญศิริ จักรพันธ์) นิพนธ์คำร้องภาษาไทย แต่เนื่องจากมีพระราชประสงค์ที่จะทรงแก้ไขทำนอง และคอร์ดบางตอน จึงยังไม่โปรดเกล้าฯ พระราชทานให้นำออกมาบรรเลงในเวลานั้น ต่อมาได้พระราชทานให้นำออกบรรเลงครั้งแรก พ.ศ. ๒๔๙๐ และใน พ.ศ. ๒๔๙๖ นางสาวสดใส วานิชวัฒนา (รองศาสตราจารย์ สดใส พันธุมโกมล) ประพันธ์คำร้องภาษาอังกฤษถวาย


            คำร้องภาษาอังกฤษมิได้แปลมาจากคำร้องภาษาไทย หากแต่เขียนเกี่ยวกับผู้ที่สูญเสียคนรัก แต่ยังมีความคิดถึง ฝันถึงคนรัก และรอวันที่จะหวนกลับมาโดยยังคร่ำครวญถึงวันเก่าๆ


            เพลงพระราชนิพนธ์ลำดับที่   เพลงพระราชนิพนธ์ ยามเย็น “LOVE AT SUNDOWN” พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมีพระราชดำรัสกับคณะกรรมการของสมาคมดนตรีแห่งประเทศไทย ในโอกาสเข้าเฝ้าฯ ทูลเกล้าฯ ถวายเงินเพื่อสมทบทุน โครงการพัฒนาตามพระราชประสงค์ณ ศาลาดุสิดาลัย เมื่อวันพุธที่ ๑๖ ธันวาคม ๒๕๒๔ ว่าเพลง ยามเย็นเพลงที่สองนั้นนะ เป็นเพลงพี่ของเพลง สายฝนแก่เดือนไป ๑ เดือน เขาเกิดเดือนเมษายน (๒๔๘๙)” ทรงพระราชนิพนธ์เพลง ยามเย็นตั้งแต่ยังทรงเป็นสมเด็จพระอนุชาธิราช และโปรดเกล้าฯ ให้ พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจักรพันธ์เพ็ญศิริ ทรงประพันธ์คำร้องภาษาไทย และศาสตราจารย์ท่านผู้หญิงนพคุณ ทองใหญ่ ณ อยุธยา ประพันธ์คำร้องภาษาอังกฤษ เพลงพระราชนิพนธ์ ยามเย็นเป็นเพลงพระราชนิพนธ์เพลงแรกที่พระราชทานให้นำออกบรรเลงในงานของสมาคมป้องกันวัณโรค เป็นเพลงในจังหวะฟ็อกซ์ทร็อต เหมาะสำหรับการเต้นรำของคนไทยในสมัยนั้น จึงเป็นที่ประทับใจพสกนิกรมาก และกลายเป็นเพลงที่ได้รับความนิยมทันที แต่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมีพระราชดำรัสว่า เพลง ยามเย็นนี้เป็นที่รู้จัก แต่ไม่โด่งดังเหมือน สายฝน’ “


          เพลงพระราชนิพนธ์ลำดับที่  ๓ เพลงพระราชนิพนธ์ “สายฝน” ซึ่งทรงพระราชนิพนธ์เมื่อเดือนพฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๙ ขณะที่ยังทรงพระอิสริยยศเป็นสมเด็จพระราชอนุชา และเป็นเพลงที่สองที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้นำออกบรรเลงต่อจากเพลงพระราชนิพนธ์ ยามเย็น ณ เวทีลีลาศสวนอัมพร 


            เพลงพระราชนิพนธ์สายฝนเป็นเพลงแรกในจังหวะวอลทซ์ มีลีลานุ่มนวล การที่ทรงใช้จังหวะวอลทซ์สำหรับสายฝน ทำให้เป็นที่นิยมใช้เป็นเพลงลีลาศในขณะนั้น แม้จะมิได้ฟังเนื้อร้องก็ยังรู้สึกได้ถึงความชุ่มชื่น เยือกเย็น สะอาด และเต็มไปด้วยความหวัง จังหวะวอลทซ์ที่ช้าเนิบช่วยทำให้ผู้ฟังเกิดความสงบและผ่อนคลายได้อย่างดี อาจกล่าวได้ว่า เป็นเพลงพระราชนิพนธ์ที่พสกนิกรชื่นชอบมากที่สุดเพลงหนึ่ง


            เมื่อวันพุธที่ ๑๖ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๒๕ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มีพระราชดำรัสกับคณะกรรมการของสมาคมดนตรีแห่งประเทศไทยถึงที่มาของเพลง ซึ่งเป็นความลับในการพระราชนิพนธ์เพลงนี้ว่าคืนวันนั้นที่แต่งเพลงเพราะว่าเข้านอนแล้วฟังวิทยุ มันเกิดครึ้มใจ ก็ปิดวิทยุแล้วเอาเศษกระดาษมาขีดๆแล้วก็จดไว้ แล้ววันรุ่งขึ้นก็ไปเคาะที่เปียโน ซึ่งมีเปียโนหลังหนึ่งที่โปเก เสียงก๊องๆแก๊งๆไม่ได้เรื่อง แต่ก็เคาะไป แล้วก็เรียบเรียงไปสัก ๒ ชั่วโมง ส่งไปให้ ม.จ. จักรพันธ์เพ็ญศิริ บอกว่าได้เพลงแล้ว ม.จ.จักรพันธ์เพ็ญศิริก็ส่งไปให้ครูเอื้อ ครูเอื้อก็เรียบเรียง วันรุ่งขึ้นออกสวนอัมพรแล้ว

nutum

นับเป็นเวลากว่า ๗๐๐ ปีที่สถาบันพระมหากษัตริย์ได้ตั้งมั่นอยู่ในสยามประเทศ  ในฐานะศูนย์รวมของชาวไทย โดยพระมหากษัตริย์ทรงมีความผูกพันกับราษฎรอย่างแน่นแฟ้น  และทรงเป็นผู้นำในการปกปักรักษาแผ่นดินในการสร้างสรรค์ความเจริญก้าวหน้าในทุกๆด้านให้แก่ชนในชาติ  ขณะเดียวกันพระองค์ก็ทรงเอาพระทัยใส่ต่อกิจการด้านศาสนา  จนคตินิยมทางด้านพระพุทธศาสนาได้หยั่งรากลึกลงสู่สังคมไทย  และกลายเป็นปัจจัยสำคัญที่สร้างบรรทัดฐานสังคมก่อให้เกิดแนวคิด ทัศนคติและค่านิยม  ที่บ่งบอกถึงวิถีชาวไทย  อันเป็นเอกลักษณ์เฉพาะบนพื้นฐานที่มั่งคงของสถาบันทั้งสาม คือ ชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์  โดยมีสถาบันพระมหากษัตริย์เป็นหลักสำคัญ


            ความจริงดังกล่าวคงเป็นที่ประจักษ์อย่างชัดเจน  ดังนั้น  แม้ในยุครัตนโกสินทร์ตอนปลาย  พระมหากษัตริย์จะทรงดำรงสถานะอยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย  สังคมไทยก็ยังคงได้รับการปลูกฝังและอบรมสั่งสอนให้มีความจงรักภักดีต่อสถาบันพระมหากษัตริย์เหนือสิ่งอื่นใด


            สำหรับในรัชกาลสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช  หากย้อนเหตุการณ์ไปเมื่อพุทธศักราช ๒๔๘๗ ประชาชนคงจำได้ดีว่า  เมื่อวันที่ ๙ มิถุนายน  รัฐบาลได้กราบบังคมทูลอัญเชิญสมเด็จพระอนุชาธิราชในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดลพระเจ้าอยู่หัว  ผู้ทรงเป็นที่รักยิ่งของปวงชนชาวไทย  ซึ่งเสด็จสวรรคตขณะเจริญพระชนมายุเพียง ๒๑ พรรษา เสด็จขึ้นครองราชย์สืบต่อจากพระบรมเชษฐาธิราช  โดยทรงได้รับเฉลิมพระปรมาภิไธยว่า  “พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช”


              วาระนั้น  แม้จะทรงอยู่ในฐานะยุวกษัตริย์ด้วยมีพระชนมายุเพียง ๑๙ พรรษา  พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวก็ทรงตระหนักดีว่า  พระองค์มีพระราชภารกิจในการเตรียมพร้อม  ต่อการดำรงสถานะแห่งพระมหากษัตริย์ไทย  จึงทรงเริ่มด้วยการเปลี่ยนวิชาที่ทรงศึกษา  จากสาขาวิชาด้านวิทยาศาสตร์  เป็นวิชารัฐศาสตร์และกฎหมาย  และในวันที่ ๑๙ สิงหาคม พุทธศักราช ๒๔๙๘  ซึ่งเป็นวันสุดท้ายของการประทับอยู่ในประเทศไทย  ก่อนเสด็จพระราชดำเนินกลับไปทรงเข้ารับการศึกษาต่อที่ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ได้เกิดเหตุการณ์หนึ่งก่อให้เกิดความซาบซึ้งในพระราชหฤทัย  และเหตุการณ์ครั้งนั้นได้นำไปสู่ความผูกพันที่แนบแน่นระหว่างพระมหากษัตริย์พระองค์นี้กับราษฎรของพระองค์ในเวลาต่อมา  กล่าวคือ  ขณะที่พระองค์เสด็จพระราชดำเนินกลับจากนมัสการลาพระแก้วมรกต  พระภิกษุสงฆ์  เจ้านายฝ่ายหน้า  และข้าราชการทั้งไทยและต่างชาติได้ถวายการส่งเสด็จ  เมื่อรถพระที่นั่งแล่นมาถึงวัดเบญจมบพิตร  พระองค์ทรงได้ยินเสียงใครคนหนึ่งพูดขึ้นด้วยเสียงอันดังว่า  “ในหลวงอย่าทิ้งประชาชนนะ”  จึงทรงบันทึกความทรงจำครั้งนั้นไว้ในพระราชนิพนธ์เรื่อง  “เมื่อข้าพเจ้าจากสยามมาสู่สวิตเซอร์แลนด์”  ทรงเปิดเผยความรู้สึกในขณะนั้น  ดังความตอนหนึ่งว่า


            “อยากจะร้องบอกเขาไปว่า  ถ้าประชาชนไม่ทิ้งข้าพเจ้า


              แล้วข้าพเจ้าจะ  “ละทิ้ง”  ประชาชนได้อย่างไร


              แต่รถวิ่งเร็ว  และเลยไปไกลเสียแล้ว”


            ความรู้สึกที่ทรงมีต่อประชาชนชาวไทย  ดังความที่ทรงบันทึกไว้นั้น  ยังความปลื้มปิติและซาบซึ้งแก่พสกนิกรโดยถ้วนหน้า  ประการสำคัญ  พระองค์ทรงแสดงให้ประจักษ์อย่างเป็นรูปธรรมนับตั้งแต่วันที่เสด็จเถลิงถวัลย์ราชสมบัติจนถึงกาลบัดนี้  รวมเป็นเวลากว่า ๖๖ ปีแล้ว  ทุกพระราชกรณียกิจที่ทรงบำเพ็ญ  สมดังพระราชปณิธานที่ทรงแสดงให้ปรากฏในพระปฐมบรมราชโองการ  เมื่อวันศุกร์ที่ ๕ พฤษภาคม พุทธศักราช ๒๔๖๓ อันเป็นวันที่ทรงกระทำพระราชพิธีบรมราชาภิเษกว่า


                        “เราจะครองแผ่นดินโดยธรรม  เพื่อประโยชน์สุขแห่งมหาชนชาวสยาม”

nutum

นับเป็นเวลากว่า ๗๐๐ ปีที่สถาบันพระมหากษัตริย์ได้ตั้งมั่นอยู่ในสยามประเทศ  ในฐานะศูนย์รวมของชาวไทย โดยพระมหากษัตริย์ทรงมีความผูกพันกับราษฎรอย่างแน่นแฟ้น  และทรงเป็นผู้นำในการปกปักรักษาแผ่นดินในการสร้างสรรค์ความเจริญก้าวหน้าในทุกๆด้านให้แก่ชนในชาติ  ขณะเดียวกันพระองค์ก็ทรงเอาพระทัยใส่ต่อกิจการด้านศาสนา  จนคตินิยมทางด้านพระพุทธศาสนาได้หยั่งรากลึกลงสู่สังคมไทย  และกลายเป็นปัจจัยสำคัญที่สร้างบรรทัดฐานสังคมก่อให้เกิดแนวคิด ทัศนคติและค่านิยม  ที่บ่งบอกถึงวิถีชาวไทย  อันเป็นเอกลักษณ์เฉพาะบนพื้นฐานที่มั่งคงของสถาบันทั้งสาม คือ ชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์  โดยมีสถาบันพระมหากษัตริย์เป็นหลักสำคัญ


            ความจริงดังกล่าวคงเป็นที่ประจักษ์อย่างชัดเจน  ดังนั้น  แม้ในยุครัตนโกสินทร์ตอนปลาย  พระมหากษัตริย์จะทรงดำรงสถานะอยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย  สังคมไทยก็ยังคงได้รับการปลูกฝังและอบรมสั่งสอนให้มีความจงรักภักดีต่อสถาบันพระมหากษัตริย์เหนือสิ่งอื่นใด


            สำหรับในรัชกาลสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช  หากย้อนเหตุการณ์ไปเมื่อพุทธศักราช ๒๔๘๗ ประชาชนคงจำได้ดีว่า  เมื่อวันที่ ๙ มิถุนายน  รัฐบาลได้กราบบังคมทูลอัญเชิญสมเด็จพระอนุชาธิราชในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดลพระเจ้าอยู่หัว  ผู้ทรงเป็นที่รักยิ่งของปวงชนชาวไทย  ซึ่งเสด็จสวรรคตขณะเจริญพระชนมายุเพียง ๒๑ พรรษา เสด็จขึ้นครองราชย์สืบต่อจากพระบรมเชษฐาธิราช  โดยทรงได้รับเฉลิมพระปรมาภิไธยว่า  “พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช”


              วาระนั้น  แม้จะทรงอยู่ในฐานะยุวกษัตริย์ด้วยมีพระชนมายุเพียง ๑๙ พรรษา  พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวก็ทรงตระหนักดีว่า  พระองค์มีพระราชภารกิจในการเตรียมพร้อม  ต่อการดำรงสถานะแห่งพระมหากษัตริย์ไทย  จึงทรงเริ่มด้วยการเปลี่ยนวิชาที่ทรงศึกษา  จากสาขาวิชาด้านวิทยาศาสตร์  เป็นวิชารัฐศาสตร์และกฎหมาย  และในวันที่ ๑๙ สิงหาคม พุทธศักราช ๒๔๙๘  ซึ่งเป็นวันสุดท้ายของการประทับอยู่ในประเทศไทย  ก่อนเสด็จพระราชดำเนินกลับไปทรงเข้ารับการศึกษาต่อที่ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ได้เกิดเหตุการณ์หนึ่งก่อให้เกิดความซาบซึ้งในพระราชหฤทัย  และเหตุการณ์ครั้งนั้นได้นำไปสู่ความผูกพันที่แนบแน่นระหว่างพระมหากษัตริย์พระองค์นี้กับราษฎรของพระองค์ในเวลาต่อมา  กล่าวคือ  ขณะที่พระองค์เสด็จพระราชดำเนินกลับจากนมัสการลาพระแก้วมรกต  พระภิกษุสงฆ์  เจ้านายฝ่ายหน้า  และข้าราชการทั้งไทยและต่างชาติได้ถวายการส่งเสด็จ  เมื่อรถพระที่นั่งแล่นมาถึงวัดเบญจมบพิตร  พระองค์ทรงได้ยินเสียงใครคนหนึ่งพูดขึ้นด้วยเสียงอันดังว่า  “ในหลวงอย่าทิ้งประชาชนนะ”  จึงทรงบันทึกความทรงจำครั้งนั้นไว้ในพระราชนิพนธ์เรื่อง  “เมื่อข้าพเจ้าจากสยามมาสู่สวิตเซอร์แลนด์”  ทรงเปิดเผยความรู้สึกในขณะนั้น  ดังความตอนหนึ่งว่า


            “อยากจะร้องบอกเขาไปว่า  ถ้าประชาชนไม่ทิ้งข้าพเจ้า


              แล้วข้าพเจ้าจะ  “ละทิ้ง”  ประชาชนได้อย่างไร


              แต่รถวิ่งเร็ว  และเลยไปไกลเสียแล้ว”


            ความรู้สึกที่ทรงมีต่อประชาชนชาวไทย  ดังความที่ทรงบันทึกไว้นั้น  ยังความปลื้มปิติและซาบซึ้งแก่พสกนิกรโดยถ้วนหน้า  ประการสำคัญ  พระองค์ทรงแสดงให้ประจักษ์อย่างเป็นรูปธรรมนับตั้งแต่วันที่เสด็จเถลิงถวัลย์ราชสมบัติจนถึงกาลบัดนี้  รวมเป็นเวลากว่า ๖๖ ปีแล้ว  ทุกพระราชกรณียกิจที่ทรงบำเพ็ญ  สมดังพระราชปณิธานที่ทรงแสดงให้ปรากฏในพระปฐมบรมราชโองการ  เมื่อวันศุกร์ที่ ๕ พฤษภาคม พุทธศักราช ๒๔๖๓ อันเป็นวันที่ทรงกระทำพระราชพิธีบรมราชาภิเษกว่า


                        “เราจะครองแผ่นดินโดยธรรม  เพื่อประโยชน์สุขแห่งมหาชนชาวสยาม”

nutum

                               ต่างชาติต่างภาษา                                 ต่างใจพาถวายชัย


                 ชื่นชมบารมีไท้                                                   ว่าชาวไทยโชคดีจริง


                               ในปีมหามงคล                                      ไทยทุกคนทั้งชายหญิง


                  กราบพระคู่ขวัญมิ่ง                                            กว่าทุกสิ่งในโลกา


                                รวมใจไทยทั้งผอง                                ร่วมสนองพระเมตตา


                   ทำดีกันทั่วหล้า                                                   ดั่งสนองบิดาเรา


                                ขอรัตนตรัย                                            ถวายชัยทุกค่ำเช้า


                      ทรงสุขนานเนา                                              ตลอดการนิรันด์เทอญ


            เป็นที่ประจักษ์แล้วว่า  แม้ในเวลานี้บ้านเมืองจะไม่มีการรบทัพจับศึกกับอริราชศัตรูเช่นในอดีต  แต่นั่นก็มิได้หมายความว่า  ประเทศชาติปราศจากซึ่งศัตรู  เพียงแต่ศัตรูในปัจจุบันแตกต่างไปจากอดีต คือ มาในรูปของสภาวการณ์ที่นำไปสู่ความยากจนของคนในแผ่นดิน  โดยความปรวนแปรของธรรมชาติเป็นปัจจัยพื้นฐาน  จึงจำเป็นที่  “พระมหากษัตริย์”  ซึ่งในคำศัพท์หมายถึงนับรบผู้ยิ่งใหญ่ หรือ  “จอมทัพ”  ต้องทรงนำทัพออกสู้ศัตรูในฐานะผู้นำของสังคม  เพื่อปกป้องราษฎรให้พ้นจากภัยแห่งความยากจน  โดยมีข้าราชการทั้งฝ่ายทหาร  ตำรวจ  และพลเรือน ตลอดประชาชนในแต่ละพื้นที่เป็นกำลังรบสำคัญ


             ความปรวนแปรต่างๆ  ที่เกิดขึ้นในแผ่นดินมีความชัดเจนมากขึ้น  หลังจากสงครามโลกครั้งที่       ๒ สิ้นสุดลง ปัญหามากมายรุมเร้าเข้ามาเป็นลำดับแล้วค่อยๆ สลับซับซ้อนขึ้นทุกขณะ โดยเฉพาะปัญหาเศรษฐกิจที่ตกต่ำไปทั่วโลกอันเป็นผลมาจากสงครามนั่นเอง  ประเทศไทยถูกกระทบกระเทือนมิใช่น้อย  เนื่องจากระหว่างสงคราม  หลังจากการยกพลขึ้นบกของประเทศในของกองทัพญี่ปุ่น  ไทยจำยอมเป็นประเทศคู่มิตรกับญี่ปุ่นซึ่งเป็นฝ่ายอักษะ  ทำให้ในเวลาต่อมาไทยต้องกลายเป็นประเทศคู่สงครามกับฝ่ายพันธมิตร  ซึ่งมีประเทศอังกฤษ  ฝรั่งเศส  และสหรัฐอเมริกา  เป็นแกนนำที่สำคัญ


            ผลของสงครามครั้งนั้นทำให้พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในรัชกาลปัจจุบัน  ต้องมีพระราชภารกิจในการทรงงานหนักกว่าพระมหากษัตริย์พระองค์อื่น  เพื่อการฟื้นฟูประเทศและสภาพจิตใจของประชาชนในสงครามความยากจนที่สร้างขึ้นบนความยากแค้นลำเค็ญ  ซึ่งตลอดห้วงเวลาที่ผ่านมา  นับตั้งแต่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชเสด็จขึ้นครองราชย์เมื่อวันที่ ๖ มิถุนายน พุทธศักราช ๒๔๘๙  พระมหากษัตริย์องค์นี้ก็ทรงใช้เวลาส่วนใหญ่อยู่กับประชาชนของพระองค์  เพื่อทรงบำบัดทุกข์บำรุงสุขให้โดยมิได้ทรงเห็นแก่ความเหน็ดเหนื่อยยากจน  จนอาจกล่าวได้ว่า  ที่ใดที่ความทุกข์  ความเดือดร้อนกระจายตัวไปถึง  ที่นั่น  พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชจะเสด็จพระราชดำเนินไปประทับด้วย  หรือมิเช่นนั้นก็จะทรงขวนขวายพระราชทานความช่วยเหลือไปให้อย่างเร่งด่วน และทันต่อเหตุการณ์  เพื่อเป็นการบรรเทาปัญหาเบื้องต้น  พร้อมกันนั้นก็จะทรงหาวิธีการแก้ปัญหาอย่างถาวรต่อไป

กบร.ศป.

ขอให้องค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอยู่คู่กับพื้นแผ่นดินไทยไปนานแสนนาน พร้อมทั้งมีสุขภาพพลานามัยแข็งแรงสมบูรณ์ เป็นมิ่งขวัญของปวงประชาราชตลอดกาล

nutum

ประเทศไทยเป็นประเทศเกษตรกรรมมาช้านาน  มีชีวิตผูกพันกับเกษตร  ดิน  ฟ้า  อากาศ  คำว่า  “อู่ข้าวอู่น้ำของประชากรโลก”  จะใช้กับประเทศไทยคงไม่ผิดนัก  การที่ประเทศไทยยังสามารถดำเนินทางบนเส้นทางการเกษตรได้อย่างมั่งคงต่อเนื่อง  เป็นเพราะพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว  ที่ทรงพยายามคิดหาแนวทางการพัฒนาแหล่งน้ำเพื่ออุปโภคบริโภค  เพื่อแก้ปัญหาขาดแคลนน้ำ  ปัญหาน้ำท่วมและปัจจัยหลักเพื่อการเกษตรของราษฎร 


            พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว  ทรงได้รับการยกย่องว่าเป็น  “กษัตริย์เกษตร”  หรือ  “กษัตริย์นักพัฒนา”  โดยเฉพาะการพัฒนาการเกษตรอย่างต่อเนื่องมาเป็นเวลานาน  พระองค์ทรงริเริ่มโครงการพัฒนาการเกษตรอย่างมากมายภายใต้โครงการหลวง  นอกจากนี้พระองค์ยังทรงเป็นผู้วางแนวทางทฤษฎีใหม่  ให้ข้อคิดเรื่องเศรษฐกิจพอเพียงเมื่อประเทศประสบปัญหาทางเศรษฐกิจ


            เนื่องในวโรกาสพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงครองสิริราชสมบัติครอบ ๕๐ ปี ในพุทธศักราช ๒๕๓๙  กระทรวงเกษตรและสหกรณ์จึงได้จัดทำโครงการจัดตั้งพิพิธภัณฑ์การเกษตรเฉลิมพระเกียรติฯ    ขึ้นบนพื้นที่ประมาณ ๕๐๐ ไร่    ตำบลคลองหนึ่ง  อำเภอคลองหลวง  จังหวัดปทุมธานี


            อาคารพิพิธภัณฑ์ฉลิมพระเกียรติ  พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว  ประกอบด้วยอาคาร ๙ หลัง  หลังคาทรงไทยสีเหลืองทอง  หมายถึง  สีในวันพระราชสมภพของรัชกาลที่ ๙ ซึ่งตรงกับวันจันทร์  และหลังคาที่เชื่อมต่อตัวอาคารเป็นสีเขียว หมายถึง ความอุดมสมบูรณ์ทางการเกษตร

nutum

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว  ทรงตระหนักดีว่า  ประเทศไทยจำเป็นต้องพัฒนาบ้านเมืองในทุกๆด้านโดยพระองค์ทรงเน้นการพัฒนาชนบทเป็นสำคัญ  เพราะประชาชนส่วนใหญ่ในประเทศอาศัยอยู่ในเขตชนบท  ดังนั้นเพื่อให้ประชาชนมีชีวิตและความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นอันส่งผลถึงความมั่นคงของประเทศชาติและความเจริญก้าวหน้าให้ทัดเทียมนานาอารยประเทศ  พระองค์จึงทรงบำเพ็ญพระราชกรณียกิจต่างๆ  โดยมิได้ทรงคำนึงถึงความลำบากนานัปการ  เพื่อให้ทุกอย่างเป็นไปตามพระราชปณิธานที่ทรงตั้งพระราชหฤทัยไว้


            พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว  ได้เสด็จพระราชดำเนินเยี่ยมราษฎรในชนบททั่วทุกภาคของประเทศ  ทรงทราบถึงปัญหาต่างๆ ของพสกนิกรของพระองค์  และได้มีพระราชดำริแก้ปัญหาของชนบทด้วยวิธีต่างๆ หลายประการด้วยกันตามลักษณะของปัญหา  และสภาพทางกายภาพ  ตลอดจนสังคมจิตวิทยาแห่งชุมชนนั้นๆ


            แนวพระราชดำริเกี่ยวกับการพัฒนาชนบทที่สำคัญ  คือ  การที่ทรงมุ่งช่วยเหลือพัฒนาให้เกิดการพึ่งตนเองในชนบทเป็นหลัก  กิจกรรมและโครงการตามแนวพระราชดำริที่ดำเนินอยู่ในหลายพื้นที่ทั่วประเทศในปัจจุบันนั้นล้วนแล้วแต่มีเป้าหมายสุดท้ายอยู่ที่การพึ่งตนเองได้ของราษฎรทั้งสิ้น


            การที่ราษฎรในชนบทจะสามารถพัฒนาจนพึ่งตนเองได้นั้น  พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชดำริว่ามีแนวทางพัฒนาอยู่สองประการ  ประการแรกได้แก่  การสร้างความแข็งแรงให้ชุมชนด้วยการสร้างโครงสร้างพื้นฐานหลักที่จำเป็นต่อการผลิต  อันจะเป็นรากฐานนำไปสู่การพึ่งตนเองได้ในระยะยาว  โครงการพื้นฐานที่สำคัญคือ  แหล่งน้ำ  เพราะแหล่งน้ำเป็นปัจจัยสำคัญที่จะทำให้เกษตรกรที่ต้องพึ่งตนเองอาศัยน้ำฝน  ได้มีโอกาสผลิตพืชผลทางการเกษตรได้ตลอดทั้งปี  และทรงเห็นว่าการผลิตได้ตลอดทั้งปีเป็นเงื่อนไขข้อแรก ที่จะทำให้ชุมชนพึ่งตนเองในเรื่องอาหารระดับหนึ่ง  และเมื่อชุมชนแข็งแรงพร้อมเต็มที่แล้ว  ก็อาจสร้างโครงสร้างพื้นฐานอื่นๆ  ที่จำเป็นต่อการยกระดับรายได้ของชุมชนให้พร้อมติดต่อสัมพันธ์กับโลกภายนอกอย่างเป็นขั้นเป็นตอนต่อไป  พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงเรียกขั้นตอนนี้ว่า  “การระเบิดจากข้างใน”


            แนวพระราชดำริประการต่อมา คือ การส่งเสริม  หรือการสร้างสิ่งที่ชาวชนบทขาดแคลน  และเป็นการต้องการสำคัญคือ เรื่องการศึกษา  ทรงเห็นว่าชาวชนบทควรจะมีความรู้ในเรื่องการทำมาหากิน  การทำเกษตร  โดยใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่  ในเรื่องนี้ทรงเน้นถึงความจำเป็นที่จะต้องมี  “ตัวอย่างของความสำเร็จ”  ในเรื่องการพึ่งตนเอง  มีพระราชประสงค์ที่จะทำให้ราษฎรในชนบทได้มีโอกาสได้รู้ได้เห็นถึงตัวอย่างของความสำเร็จ  และนำไปปฏิบัติได้เอง  จึงปรารถนาที่จะให้ตัวอย่างของความสำเร็จทั้งหลายได้กระจายไปสู่ท้องถิ่นต่างๆ  ทั่วประเทศ  เรื่องนี้นับเป็นประเด็นแรก  ประเด็นต่อไปที่สำคัญยิ่งกว่านั้นก็คือ  การนำเอาความรู้ในด้านเทคโนโลยีเกษตรสมัยใหม่  เข้าไปให้ถึงมือชาวชนบทอย่างเป็นระบบ  และต่อเนื่องเป็นขบวนการเดียวกัน  เป็นเทคโนโลยีการผลิตที่ชาวบ้านรับได้  และสามารถนำไปปฏิบัติอย่างได้ผลแท้จริง

nutum

นับตั้งแต่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว  เสด็จขึ้นครองราชย์สมบัติเป็นพระมหากษัตริย์พระองค์    ที่ ๙ แห่งพระบรมราชจักรีวงศ์  ตั้งแต่พุทธศักราช ๒๔๘๙ จนถึงปัจจุบัน  พระองค์ทรงประกอบพระราชกรณียกิจน้อยใหญ่ในทุกด้าน ด้วยทรงตั้งพระราชปณิธานว่า  จะทรงอุทิศพระองค์เพื่อบำเพ็ญพระราชกรณียกิจที่จะก่อให้เกิดประโยชน์สุข  และความเจริญรุ่งเรืองเป็นปึกแผ่นของพสกนิกรและประเทศชาติเป็นสำคัญ


            พระราชกรณียกิจที่พระองค์ทรงปฏิบัติทุกครั้งจึงครอบคลุมไปทั่วทุกภูมิภาค  จะเห็นได้ว่าพระองค์ทรงเยี่ยมราษฎรและเจ้าหน้าที่ทั้งพลเรือน  ตำรวจ  ทหาร  ในพื้นที่จังหวัดต่างๆ  ทั่งราชอาณาจักร  จึงทำให้ทอดพระเนตรเห็นสภาพความเป็นจริงและทรงเข้าพระราชหฤทัยในปัญหาความเดือดร้อนของราษฎร  โดยเฉพาะผู้ประกอบอาชีพเกษตรกรรม  ซึ่งเป็นราษฎรส่วนใหญ่ของประเทศ  ทำให้ทรงหาทางช่วยเหลือปัญหาของเกษตรกร  ด้วยเหตุนี้จึงเป็นที่มาของโครงการส่วนพระองค์สวนจิตรลดา  โครงการนี้ได้จัดตั้งขึ้นบนพื้นที่ส่วนหนึ่งในบริเวณพระตำหนักจิตรลดารโหฐานเพื่อจะได้ทดลองหาวิธีแก้ไขปัญหาต่างๆ ให้ถูกต้อง และตรงจุดด้วยพระองค์เอง  โดยทรงออกพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ในการดำเนินงาน  ต่อมามีผู้ร่วมบริจาคสมทบและมีการจำหน่ายผลิตภัณฑ์บางส่วนด้วย


            โครงการส่วนพระองค์สวนจิตรลดานี้  เน้นให้ถึงการใช้ทรัพยากรธรรมชาติ  และปัจจัยทางเกษตรที่ประเทศไทยมีอยู่ ให้นำมาใช้สอยอย่างประหยัดและได้ประโยชน์สูงสุด  ด้วยขั้นตอนการผลิตที่ไม่ยุ่งยากนัก  ในรูปแบบของโรงงานย่อยๆ  ขนาดเล็กที่เกษตรกรสามารถดำเนินงานได้ด้วยตนเอง  มีการลงทุนต่ำ  รวมทั้งคำนึงถึงการใช้ปัจจัยทางการเกษตร  และวัสดุเหลือใช้ให้เกิดประโยชน์สูง  สุดซึ่งจะเป็นการประหยัดทั้งงบประมาณและเวลา  ที่สำคัญวัตถุประสงค์ของโครงการก็เพื่อเป็นโครงการทดลองที่ไม่หวังผลกำไรตอบแทน


            โครงการส่วนพระองค์สวนจิตรลดา  เริ่มดำเนินการจากพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์  และดำเนินการต่อมาด้วยรายได้จากการจำหน่ายผลิตภัณฑ์  รวมทั้งจากการทูลเกล้าฯ  ถวายเงินสนับสนุน  และการน้อมเกล้าฯ  ถวายอาคาร  เครื่องมือและคำแนะนำต่างๆ  จึงเป็นหน่วยงานราชการเพียงหน่วยงานเดียวที่สามารถบริหารจัดการด้านบัญชี  และการเงินเอง  โดยไม่ได้รับงบประมาณแผ่นดินสนับสนุน  แต่ละโรงงานจะรับผิดชอบค่าใช้จ่ายของตัวเอง  มีบัญชีเบิกจ่ายแยกกันไปในแต่ละโรงงาน  จากพระราชประสงค์ให้โครงการส่วนพระองค์สวนจิตรลดา  เป็นโครงการศึกษาทดลอง  และเป็นโครงการตัวอย่าง  จึงมีพระบรมราชานุญาตให้ผู้ที่สนใจสามารถเข้ามาชมกิจการ  รวมทั้งฝึกปฏิบัติงาน  เพื่อนำความรู้ไปเป็นแบบอย่างหรือแนวทางประกอบอาชีพต่อไป  นับตั้งแต่พุทธศักราช ๒๕๐๔  มีคณะพระราชอาคันตุกะจากประเทศต่างๆ  คณะบุคคลสำคัญ  ข้าราชการ  นักเรียน  นิสิต  นักศึกษา  เกษตรกร  รวมทั้งผู้สนใจ  ทั้งชาวไทย  และชาวต่างชาติเข้ามาเยี่ยมชมโครงการส่วนพระองค์  สวนจิตรลดาเป็นจำนวนมาก


            ในบริเวณทางด้านทิศตะวันตกเฉียงใต้ของพระราชตำหนักจิตรลดารโหฐานพระราชวังดุสิต        จะเป็นที่ตั้งของโครงการส่วนพระองค์ตั้งเรียงรายอยู่  เป็นโครงการตัวอย่างขนาดเล็กที่สามารถทำได้ด้วยตนเอง  เช่น  โครงการโรงโคนม  ซึ่งจะมีการรีดนมทุกเช้าเย็น  ผลิตภัณฑ์นมสดสวนจิตรลดา  นมสวนดุสิต  โรงสีข้าวขนาดเล็ก  โรงน้ำผลไม้  และผลิตภัณฑ์จากนมอื่นๆ  เช่น  เนยแข็ง  ไอศกรีม  เป็นต้น  ปัจจุบันนี้โครงการส่วนพระองค์มีมากกว่า ๑๐ โครงการ  แบ่งออกเป็น ๒ ประเภท คือ  โครงการแบบไม่ใช่ธุรกิจและโครงการกึ่งธุรกิจ

nutum

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเป็นพระมหากษัตริย์ผู้ยิ่งใหญ่ของประเทศไทย  พระองค์เสด็จ  ขึ้นครองราชย์สมบัติในขณะที่ยังทรงพระเยาว์  แต่ด้วยพระอัจฉริยภาพและพระหฤทัยที่ทรงเมตตาอย่างยิ่งแก่ปวงประชาชาวไทย  ทำให้ทรงเป็นประมุขที่ประชาชนทั้งประเทศจงรักภักดีอย่างจริงใจ  ด้วยพระราช-จริยาวัตรที่งดงาม  ด้วยพระสติปัญญาเฉียบแหลม  และสุขุมคัมภีรภาพ  ด้วยสายพระเนตรที่ยาวไกลและด้วยพระวิริยะอุตสาหะที่ไม่เคยทรงท้อถอย  รวมทั้งได้พระราชทานพระบรมราชานุเคราะห์แก่พสกนิกร     ทั้งในยามปกติและในยามประสบภาวะคับขันครั้งแล้วครั้งเล่าเสมอมา


            พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว  เสด็จพระราชสมภพในประเทศสหรัฐอเมริกา  และทรงเจริญวัย    ในประเทศสวิตเซอร์แลนด์ทรงรับการศึกษาในโรงเรียนของชนต่างชาติ  ทำให้ต้องทรงใช้ภาษาต่างประเทศตลอดเวลา  แต่ด้วยความที่ทรงมั่นอยู่ในความเป็นไทย  จึงมิได้ทอดทิ้งภาษาไทยเหมือนเด็กไทยที่ไปเติบโตในต่างประเทศหลายคน  ปรากฏหลักฐานชัดเจนว่าได้ทรงศึกษาภาษาไทย  ทั้งในการมีพระราชดำรัส    และการทรงพระอักษรได้อย่างดี  จนสามารถพระราชนิพนธ์เรื่อง  พระราชานุกิจรัชกาลที่ ๘  พระราชทานให้พิมพ์ในการพระราชกุศล ๑๐๐วัน  พระบรมศพ  พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล       เมื่อวันที่ ๒๐ กันยายน พ.ศ. ๒๔๘๙ ได้  ขณะนั้นมีพระชนมายุเพียง ๑๘ พรรษา  เป็นเวลาที่ยังทรงศึกษาอยู่  ณ ต่างประเทศใหม่ๆ    พระราชนิพนธ์เรื่องนี้เป็นหลักฐานอย่างดีที่แสดงให้เห็นถึง  พระอัจฉริยภาพทางภาษาไทยของพระองค์เพราะทรงใช้ภาษาที่ถูกต้อง สั้น กระชับ กระจ่างชัดเจน และไม่มีข้อบกพร่อง


            แม้ว่า ทรงมีพระราชกิจมากมายที่ต้องทรงปฏิบัติเพื่อประโยชน์สุขแห่งมหาชนชาวสยาม  พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวยังทรงตระหนักถึงความสำคัญของภาษาไทย  ว่าเป็นภาษาของชาติ         เป็นวัฒนธรรมที่สำคัญที่จะต้องทำนุบำรุงและรักษาไว้ให้ดี  ทรงห่วงใยว่าคนไทยจะไม่สนการศึกษาภาษาไทย  และไม่รักษาภาษาไทยไว้ให้ยืนยงตลอดไป  จึงได้พระราชทานทุนอานันทมหิดลให้นักเรียนไทยได้ศึกษาค้นคว้าภาษาไทย  และภาษาบาลี สันสกฤต ในชั้นปริญญาเอกหลายคน

nutum

นับตั้งแต่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ  ได้เสด็จเถลิงถวัลย์ราชสมบัติ เมื่อวันที่ ๙มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๙  จนถึงวันนี้นับเป็นเวลา กว่า ๖๐ ปีแห่งรัชสมัย  พระราชปณิธานแห่งพระองค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจากกระแสพระราชดำรัสอันเป็นพระปฐมบรมราชโองการว่า  “เราจะครองแผ่นดินโดยธรรมเพื่อประโยชน์สุขแห่งมหาชนชาวสยาม”  กระแสพระราชดำรัสนี้  ยังก้องอยู่ในหัวใจชาวไทยทั้งชาติ  ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา  พสกนิกรชาวไทยต่างซาบซึ้งในพระราชหฤทัยและพระมหากรุณาธิคุณของพระองค์ท่านอย่างหาที่เปรียบมิได้  จนถึงวันนี้เราชาวไทยตระหนักแล้วว่าพระองค์ทรงเป็นยิ่งกว่าพระมหากษัตริย์ด้วยทศพิธราชธรรมอันเปี่ยมล้น  ด้วยพระเมตตาที่ทรงมีต่ออาณาประชาราษฎร์โดยไม่เลือกชั้นวรรณะ   ด้วยพระปรีชาสามารถ และด้วยพระวิริยะอุสาหะต่อพระราช-กรณียกิจทั้งปวง  เพื่อช่วยราษฎรที่ยังยากจนในทุกภูมิภาค  ทรงเน้นการช่วยเหลือพสกนิกรด้วยการพัฒนาเพื่อยกระดับชีวิตความเป็นอยู่ของพสกนิกรให้ดีขึ้น  โดยมีหลักสำคัญเบื้องต้นคือให้ราษฎรพออยู่พอกินและสามารถพึ่งตนเองได้


            ทั่วทุกภูมิภาคของประเทศ  พระราชราชกรณียกิจส่วนใหญ่ของพระองค์  คือการวางแผนพัฒนาเพื่อความเจริญก้าวหน้า  และความมั่นคงในพื้นที่ทุกด้านอย่างสอดคล้องต้องกันเสมอตลอดเวลากว่า ๖๐ ปี ทรงตรากตรำพระวรกายอย่างมากเพื่องานในโครงการพระราชดำริต่างๆ  แต่ก็มิได้ทรงท้อต่อความลำบากและความเหน็ดเหนื่อย  ทรงติดตามผลงานอย่างต่อเนื่อง  เพื่อให้งานทุกขั้นตอนดำเนินไป  และสามารถให้ประโยชน์สูงสุดแก่ประชาชนโดยส่วนรวม  ตลอดทั้งปีจะทรงแปรพระราชฐานเสด็จพระราชดำเนินเยี่ยมราษฎรในท้องถิ่นทุรกันดาร

nutum

การที่ประเทศไทยมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขปกครองแผ่นดินเป็นเวลากว่า ๗๐๐ ปีนับตั้งแต่สร้างชาติ ก็เพราะพระมหากษัตริย์ไทยทุกพระองค์  ทรงประกอบพระราชภารกิจที่เป็นประโยชน์ต่อประเทศชาติและประชาชนชาวไทยอย่างอเนกประการ  ยังความรุ่งเรืองให้กับประเทศและความร่มเย็นเป็นสุขให้กับอาณาประชาราษฎร์มาจนตราบเท่าทุกวันนี้


            ในฐานะองค์พระประมุขของชาติ  พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช  คือพระมหากษัตริย์ผู้เป็นศูนย์รวมจิตใจของคนไทยทั้งชาติ  ทรงพระราชทานความร่มเย็นเป็นสุข  ปัดเป่าทุกข์ภัยพิบัติทั้งปวงอันบังเกิดแก่ประเทศชาติและชาวไทยในขอบขัณฑสีมา  ใช่แต่เท่านั้น  พระปรีชาสามารถและพระราชจริยวัตรอันงดงามของพระองค์ยังเป็นที่ประทับใจชาวต่างประเทศทั่วไป  พระราชกรณียกิจน้อยใหญ่เป็นที่กล่าวขวัญสู่นานาประเทศทั่วโลก


            เมื่อครั้งวาระเฉลิมพระชนมพรรษา ๗๒ พรรษา  นอกจากจะเป็นโอกาสเฉลิมฉลองของประชาชนชาวไทยทั่วประเทศเพื่อความจงรักภักดี  เทิดพระเกียรติพระองค์ท่านแล้ว  วาระเฉลิมพระชนมพรรษา  คนไทยในต่างประเทศสื่อมวลชนระดับโลกหลายฉบับ  เช่น  นิตยสารเอเชียวีค  นิตยสารไทม์  และสำนักข่าวเอพี  ได้ตีพิมพ์บทความเทิดพระเกียรติวาระเฉลิมพระชนมพรรษาในครั้งนั้นอีกด้วย  เริ่มจากนิตยสารเอเชียวีค  นิตยสารรายสัปดาห์แนวหน้าของเอเชีย  ฉบับล่าสุด  ข้อเขียนของ  จูเลียน  เกียริ่ง  ได้กล่าวถึง  พระบาทสมเด็จพระเข้าอยู่หัว  ว่าทรงเป็นองค์พระมหากษัตริย์ที่ได้รับความนิยมสูงสุดของงานเฉลิมฉลองหลากหลายรูปแบบตลอดทั้งปี  ทั่วพระราชอาณาจักรที่มีประชากร ๖๒ ล้านคน  พระบรมฉายาลักษณ์  พระบรมสาทิสลักษณ์ขนาดใหญ่กว่าพระองค์จริง  ถูกประดิษฐานไว้ตามจุดต่างๆ  เป็นการบอกให้ทราบถึงสถานะของพระองค์ในวิถีชีวิตของสุจริตคน


 

m

 



สละสุขส่วนพระองค์ทรงงานหนัก เป็นแบบหลักสร้างพื้นฐานการศึกษา 
ด้อยโอกาส ขาดสิ่งใด แม้ภัยมา พระเมตตา โครงการหลวงช่วยปวงชน 
สองพระหัตถ์ปัดทุกข์แผ่สุขชาติ สองพระบาทเบิกทางกระจ่างผล 
น้อมใจภักดิ์นบจักรีภูมิพล บุญเหลือล้นที่เกิดในร่มใบบุญ 
               

mandm

 



สละสุขส่วนพระองค์ทรงงานหนัก เป็นแบบหลักสร้างพื้นฐานการศึกษา 
ด้อยโอกาส ขาดสิ่งใด แม้ภัยมา พระเมตตา โครงการหลวงช่วยปวงชน 
สองพระหัตถ์ปัดทุกข์แผ่สุขชาติ สองพระบาทเบิกทางกระจ่างผล 
น้อมใจภักดิ์นบจักรีภูมิพล บุญเหลือล้นที่เกิดในร่มใบบุญ 
               

กบร.ศป.

กบร.ศป.

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงเป็นศูนย์รวมดวงใจของคนไทยทั้งชาติ ขอพระองค์ทรงพระเจริญ

กบร.ศป.

ขอเดินตามรอยเท้าพ่อหลวงตามรอยพระยุคลบาทเศรฐกิจพอเพียงและขอให้ท่านมีพระชนมายุยิ่งยืนนาน

mandm

พระทรงเป็น ยิ่งกว่า มหากษัตริย์ 
พระทรงเป็น นักปฏิบัติ สืบค้นหา 
พระทรงเป็น นักคิด พิจารณา 
พระทรงเป็น นักพัฒนา คู่ฟ้าไทย 
พระทรงธรรม น้อมนำ ธรรมชาติ 
พระเปรื่องปราชญ์ ชัดแจ้ง แถลงไข 
พระทรงสร้าง ทางถูก ให้ลูกไทย 
พระมหากษัตริย์ไทย ครองใจ ไทยทุกดวง 

Webboardแสดงความคิดเห็น
เยี่ยม   แย่   แย่   แย่   เขิน   หยอกล้อ  ตกใจ  ร้องไห้   สงสัย   ขอโทษ   หดหู่   อย่าน่ะ   ต่อว่า   โอเค
*ชื่อ
*สถานะ  
*อีเมล
ลิงค์ที่เกี่ยวข้อง
*รหัสยืนยัน

หมายเหตุ : : กรุณากรอกข้อมูลที่มี * ทุกช่อง

view

 กองทัพบก

 ยศ.ทบ.

กองอนุศาสนาจารย์ ยศ.ทบ.

ศูนย์การเรียนรู้ มทบ.๑๕

ฝอศจ.จทบ.ร.บ.

view