http://mc15chap.igetweb.com
สร้างเว็บไซต์Engine by iGetWeb.com

 หน้าแรก

 ทำเนียบ อศจ.ทบ.

 ผู้บังคับบัญชา

 ทำเนียบ อศจ.มทบ.๑๕

ภารกิจ

ประวัติอนุศาสนาจารย์

ผู้ดูแลระบบ

ปฎิทิน

« May 2024»
SMTWTFS
   1234
567891011
12131415161718
19202122232425
262728293031 

ภาพกิจกรรม

คุณธรรมสำหรับทหารใหม่

นานาสาระน่ารู้

อดีตกาลของชีวิต

สถิติ

เปิดเว็บ04/08/2009
อัพเดท15/03/2019
ผู้เข้าชม1,013,597
เปิดเพจ1,769,339
iGetWeb.com
AdsOne.com

โพสข้อความเทิดทูน กรมทหารช่างที่ ๓

(อ่าน 28301/ ตอบ 4194)

กรมทหารช่างที่ ๓


กฝศ.นรด.

“...ในหลักการการกีฬาเป็นสิ่งที่มีจุดประสงค์พื้นฐานเพื่อที่จะส่งเสริมให้ร่างกายแข็งแรง และสามารถที่จะแสดงฝีมือในเชิงกีฬาเพื่อความสามัคคีและเพื่อให้คุณภาพของมนุษย์ดีขึ้นมา เวลานี้การกีฬาก็นับว่ามีความสำคัญในทางอื่นด้วย คือในทางสังคมทำให้คนในประเทศชาติได้หันมาปฏิบัติสิ่งที่เป็นประโยชน์ในทางสุขภาพของร่างกายและของจิตใจทำให้สามารถที่จะอยู่เป็นสังคมอย่างอยู่เย็นเป็นสุข ทั้งเป็นสิ่งที่ก่อให้เกิดความเจริญของบ้านเมือง และโดยเฉพาะในการกีฬาระหว่างประเทศก็ได้เพิ่มความสำคัญกับมนุษย์อื่น ซึ่งอยู่ในประเทศอื่น ฉะนั้นกีฬามีความสำคัญอย่างยิ่งสำหรับชีวิตของแต่ละคน และชีวิตของบ้านเมือง ถ้าปฏิบัติกีฬาอย่างถูกต้องหมายถึงว่าอย่างมีประสิทธิภาพ มีความสามารถก็จะได้นำชื่อเสียงแก่ตนและแก่ประเทศชาติ ถ้าปฏิบัติกีฬาด้วยความเรียบร้อย ด้วยความสุขภาพก็ทำให้มีชื่อเสียงเหมือนกันและจะส่งเสริมความสามัคคีในประเทศชาติ...” (พระบรมราโชวาท พระราชทานเนื่องในวันกีฬาแห่งชาติ ณ พระตำหนักจิตรลดารโหฐาน วันที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ.2531)

กฝศ.นรด.

“...การทำนุบำรุงบ้านเมืองให้เจริญรุ่งเรืองนั้นมีวิธีทำได้หลาย ๆ อย่าง อย่างหนึ่งก็ที่สำคัญที่สุดและที่เป็นธรรมดาที่สุดก็คือ “ต้องทำงาน” ทำงานตามหน้าที่ของตน ตามที่ได้รับมอบหมายให้ดีที่สุดให้ได้ผลที่สุด งานอีกอย่างซึ่งอาจไม่ได้รับมอบหมายเป็นพิเศษจากทางราชการหรือหน้าที่ แต่ต้องนับว่าเป็นงานหรือเป็นการกระทำที่ต้องทำก็มี คือ งานในฐานะที่เป็นคนที่อาศัยผืนแผ่นดินไทย ทุกคนที่เป็นคนไทยควรจะต้องพยายามปฏิบัติการทุกวิถีทางเพื่อที่จะให้บ้านเมืองมีความเรียบร้อย มีความสงบ ถ้าแต่ละคนได้ทำแล้ว บ้านเมืองก็จะยืนยงอยู่ได้ แต่ถ้าผู้ใดมิได้ทำ ก็เป็นผู้ที่ได้ทำลายที่อยู่ของตนซึ่งตามธรรมดาเขาเรียกว่าเป็นคนทรยศต่อประเทศชาติ...” (พระราชดำรัส พระราชทานในงานราชอุทยานสโมสร เนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา ณ สวนศิวาลัย วันจันทร์ที่ 8 ธันวาคม พ.ศ.2512)

กฝศ.นรด.

“...มีคุณธรรมข้อหนึ่งที่สำคัญ ซึ่งท่านต้องปฏิบัติอย่างเคร่งครัดอยู่เสมอ คือ ความสัตย์สุจริตประเทศบ้านเมืองจะวัฒนาถาวรอยู่ได้ ก็ย่อมอาศัยความสัตย์สุจริตเป็นพื้นฐาน ท่านทั้งหลายจะออกไปรับราชการก็ดี หรือประกอบกิจการงานส่วนตัวก็ดี ขอให้มั่นอยู่ในคุณธรรมทั้ง 3 ประการ คือ สุจริตต่อบ้านเมือง สุจริตต่อประชาชน และสุจริตต่อหน้าที่ ท่านจึงจะเป็นผู้ที่ควรแก่การสรรเสริญของมวลชนทั่วไป...” (พระบรมราโชวาท ในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรแก่นิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย วันที่ 12 มิถุนายน 2497)

กฝศ.นรด.

“....ในการปฏิบัติราชการนั้น ขอให้ทำหน้าที่เพื่อหน้าที่ อย่านึกถึงบำเหน็จรางวัลหรือผลประโยชน์ให้มาก ขอให้ถือว่าการทำหน้าที่ได้สมบูรณ์เป็นทั้งรางวัลและประโยชน์อย่างประเสริฐ จะทำให้บ้านเมืองไทยของเราอยู่เย็นเป็นสุขและมั่นคง...” (พระบรมราโชวาท พระราชทานแก่ข้าราชการพลเรือน เนื่องในวันข้าราชการพลเรือน วันอาทิตย์ที่ 1 เมษายน 2533 พระตำหนักจิตรลดารโหฐาน วันที่ 19 มีนาคม พ.ศ.2533)

กฝศ.นรด.

“...ถ้าเราทำกรรมดี ทำต่อไป อย่าไปท้อใจ ถึงทำดีเท่าไร ๆ ไม่เห็นได้อะไรเลย หารู้ไม่ว่าต่อไปนะ ไม่แน่ บางที ภายในวินาทีเดียวก็ได้แล้ว...” (พระราชดำรัส พระราชทานแก่คณะชาวพุทธ  แขวงห้วยขวาง เขตพญาไท ณ พระตำหนักจิตรลดารโหฐาน วันจันทร์ที่ 21 กรกฎาคม พ.ศ.2518)

กฝศ.นรด.

“...ท่านทั้งหลายคงจะรู้จักนิทานเรื่อง “กระต่ายแข่งกับเต่า” กระต่ายมีฝีเท้าดี ทะนงตนว่าไม่มีผู้ใดวิ่งเร็วเสมอเหมือน ยิ่งเต่าก็เป็นคนละชั้น แต่ความที่ทะนงตัวว่าตัวเองเก่ง วิ่งไปยังไม่ทันถึงที่หมาย ไปนอนหลับเสีย ปล่อยเต่าซึ่งเดินช้ากว่ามากไปถึงที่หมายก่อน...” (พระบรมราโชวาท  ในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรแก่นิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย วันที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ.2505)

กฝศ.นรด.

“...ในการช่วยเหลือนั้น ควรยึดหลักสำคัญว่าเราจะช่วยเขา เพื่อให้เขาสามารถช่วยตนเองได้ต่อไป...” (พระราชดำรัส ในพิธีเปิดการประชุมการสังคมสงเคราะห์แห่งชาติ ครั้งที่ 5 ณ ห้องประชุมศาลาสันติธรรม วันอาทิตย์ที่ 6เมษายน พ.ศ.2512)

พลฯชลันธร ณ เชียงให

พระบรมราโชวาทของ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว


บ้านเมืองของเรากำลังต้องการการปรับปรุงและการพัฒนาที่มีประสิทธิภาพ ทางที่เราจะช่วยกันได้ ก็คือ การที่ทำความคิดให้ถูกและแน่วแน่ ในอันที่จะยึดถือประโยชน์ของบ้านเมืองเป็นที่หมาย ต้องเพลาการคิดถึงประโยชน์เฉพาะตัว และความขัดแย้งกันในสิ่งที่มิใช่สาระลง


(พระราชทานแก่ประชาชนชาวไทยในโอกาสขึ้นปีใหม่ 2543)



   

พลฯชลันธร ณ เชียงให

พระบรมราโชวาทของ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว


ความเจริญของประเทศชาติ เป็นความเจริญส่วนรวม ซึ่งเกิดจากผลงานหรือผลของการกระทำของคนทั้งชาติ ถือได้ว่าทุกคนแบ่งหน้าที่กันทำประโยชน์ให้แก่ชาติ ตามความถนัดและความสามารถ และเกื้อกูลกันและกัน ไม่มีผู้ใดจะอยู่ได้และทำงานให้แก่ประเทศชาติได้โดยลำพังตนเอง


 (ในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 10 กรกฎาคม 2513)



   

พลฯนิวัฒน์ ตุ้มพลอย

พระบรมราโชวาทของ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว


ความเจริญของประเทศชาติ เป็นความเจริญส่วนรวม ซึ่งเกิดจากผลงานหรือผลของการกระทำของคนทั้งชาติ ถือได้ว่าทุกคนแบ่งหน้าที่กันทำประโยชน์ให้แก่ชาติ ตามความถนัดและความสามารถ และเกื้อกูลกันและกัน ไม่มีผู้ใดจะอยู่ได้และทำงานให้แก่ประเทศชาติได้โดยลำพังตนเอง


 (ในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 10 กรกฎาคม 2513)



   

พลฯนิวัฒน์ ตุ้มพลอย

ถ้าไม่มีเศรษฐกิจพอเพียง เวลาไฟดับ...


จะพังหมด จะทำอย่างไร ที่ที่ต้องใช้ไฟฟากต้องแย่ไป


...หากมีเศรษฐกิจพอเพียงแบบไม่เต็มที่


ถ้าเรามีเครื่องปั่นไฟ ก็ใช้ปั่นไฟ


                หรือถ้าขั้นโบราณกว่า มืดก็จุดเทียน  


คือมีทางที่จะแก้ปัญหาเสมอ


                ...ฉะนั้นเศรษฐกิจพอเพียงนี้ ก็มีเป็นขั้น ๆ


                แต่จะบอกวาเศรษฐกิจพอเพียงนี้


                ให้พอเพียงเฉพาะตัวเองร้อยเปอร์เซนต์ นี่เป็นสิ่งที่ทำไม่ได้


                จะต้องมีการแลกเปลี่ยน ต้องมีการช่วยกัน



                ...พอเพียงในทฤษฎีหลวงนี้ คือ ให้สามารถที่จะดำเนินงานได้

พลฯนิวัฒน์ ตุ้มพลอย

พระราชดำรัสของ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว


คุณธรรม 4 ประการ ที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระราชทานแก่ประชาชนชาวไทย


ประกอบด้วย


ประการแรก คือการรักษาความสัจ ความจริงใจต่อตัวเอง รู้จักสละประโยชน์ ส่วนน้อยของตนเพื่อประโยชน์ ส่วนใหญ่ของบ้านเมือง ประพฤติแต่สิ่งที่เป็นประโยชน์ และเป็นธรรม


ประการที่สอง คือการรู้จักข่มใจตนเอง ฝึกใจตนเอง ให้ประพฤติปฏิบัติอยู่ในความสัจ ความดี


ประการที่สาม คือการอดทน อดกลั้น และอดออม ไม่ประพฤติล่วงความสัจสุจริต ไม่วาจะด้วยเหตุประการใด


ประการที่สี่ คือการรู้จักละวางความชั่ว ความทุจริต



คุณธรรม 4 ประการนี้ ถ้าแต่ละคนพยายามปลูกฝังและบำรุงให้เจริญงอกงามขึ้นโดยทั่วกันแล้ว จะช่วยให้ประเทศชาติบังเกิดความสุข ความร่มเย็น และมีโอกาสที่จะปรับปรุงพัฒนาให้มั่นคงก้าวหน้าต่อไปได้ดังประสงค์ 

พลฯนิวัฒน์ ตุ้มพลอย

พระราชดำรัสของ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว


หนังสือเป็นเสมือนคลังที่รวบรวมเรื่องราว ความรู้ ความคิด วิทยาการทุกด้านทุกอย่าง ซึ่งมนุษย์ได้เรียนรู้ ได้คิดอ่าน และเพียรพยายามบนทุกภาษาไว้ด้วยลายลักษณ์อักษร หนังสือแพร่ไปถึงที่ใด ความรู้ความคิดก็แพร่ไปถึงที่นั่น หนังสือจึงเป็นสิ่งมีค่าและมีประโยชน์ ที่จะประมาณมิได้ในแง่ที่เป็นบ่อเกิดการเรียนรู้ของมนุษย์



 

พลฯ กฤษดา ดิษบรรจง

 


พระราชดำรัสของ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว


                วิถีทางดำเนินของบ้านเมืองและประชาชนโดยทั่วไป มีความเปลี่ยนแปลงมาตลอดเนื่องจาก ความวิปริตผันแปรของวิถีแห่งเศรษฐกิจ สังคม การเมือง และอื่นๆ ของโลก ยากยิ่งที่เราจะหลีกเลี่ยงให้พ้นได้ จึงต้องระมัดระวัง ประคับประคองตัวเรามากขึ้น โดยเฉพาะในเรื่องการเป็นอยู่ โดยประหยัดเพื่อที่จะอยู่ ให้รอดและก้าวหน้าต่อไปได้โดยสวัสดี



                (เนื่องในโอกาสวันขึ้นปีใหม่ 31 ธ.ค.2521)  

พลฯนิวัฒน์ ตุ้มพลอย

พระราชดำรัสของ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว


สามัคคี คือการเห็นแก่บ้านเมือง และช่วยกันทุกวิธีทาง เพื่อที่จะสร้างบ้านเมืองให้เข้มแข็งด้วยการเห็นอกเห็นใจซึ่งกันและกัน ทำงานด้วยความซื่อสัตย์สุจริตอย่างตรงไปตรงมา นึกถึงประโยชน์ ส่วนรวม เพราะประโยชน์ ส่วนรวมนั้นคือความมั่นคงของบ้านเมือง


(พระราชดำรัส ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในพิธีประดับยศนายตำรวจชั้นนายพล 15 มกราคม 2519) 



 

พลฯ กฤษดา ดิษบรรจง

พระราชดำรัสของ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว


                การใช้จ่ายอย่างประหยัดนั้น จะเป็นหลักประกันความสมบูรณ์พูนสุขของผู้ประหยัดเอง และครอบครัว ช่วยป้องกันความขาดแคลนในวันข้างหน้า การประหยัดดังกล่าวนี้จะมีผลดีไม่เฉพาะแก่ผู้ที่ ประหยัดเท่านั้น ยงเป็นประโยชน์ แก่ประเทศชาติด้วย



                (เนื่องในโอกาสวันขึ้นปีใหม่ 31 ธ.ค.2502)  

พลฯนิวัฒน์ ตุ้มพลอย

พระราชดำรัสของ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว


งานด้านการศึกษาศิลปะและวัฒนธรรมนั้น คืองานสร้างสรรค์ความเจริญทางปัญญาและทางจิตใจ ซึ่งเป็นต้นเหตุทั้งองค์ประกอบที่ขาดไม่ได้ของความเจริญด้านอื่นๆทั้งหมด และเป็นปัจจัยที่จะช่วยให้เรารักษา และดำรงความเป็นไทยไว้ได้สืบไป


                (พระบรมราโชวาท ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรของมหาวิทยาลัยศิลปากร 12 ตุลาคม 2513) 



 

พลฯนิวัฒน์ ตุ้มพลอย

พระราชดำรัสของ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว


การสร้างงานศิลปทุกประเภท นอกจากจะต้องใช้ความฝึกหัดชัดเจนในทางปฏิบัติ ประกอบกับวิธีการที่ดีอย่างเหมาะสมแล้ว ศิลปินจำต้องมีความจริงใจและความบริสุทธิ์ใจในงานที่ทำด้วย จึงจะได้ผลงานที่มีค่าควรแก่การยอมรับนับถือ


(พระราชดำรัส ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในพิธีเปิดการแสดงศิลปกรรมแห่งชาติ ครั้งที่ 21 8 กันยายน 2515) 



 

พลฯนิวัฒน์ ตุ้มพลอย

พระราชดำรัสของ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว


ผู้หนักแน่นในสัจจะ พูดอย่างไรทำอย่างนั้น จึงจะได้รับความสำเร็จ พร้อมทั้งความศรัทธา เชื่อถือ และความยกย่องสรรเสริญจากคนทุกฝ่าย การพูดแล้วทำ คือพูดจริงทำจริง จึงเป็นปัจจัยสำคัญ ในการส่งเสริมเกียรติคุณของบุคคลให้เด่นชัด


                (พระบรมราโชวาท ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในพิธีพระราชทานปริญญาบัตร ของ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 10 กรกฎาคม 2540)



   

พลฯนิวัฒน์ ตุ้มพลอย

พระราชดำรัสของ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว


สัจวาจา นั้นเป็นรากฐานของการทำงาน หรือการดำรงชีวิตที่ดีที่งามที่มีความก้าวหน้ามีความสำเร็จ สัจ เป็นการตั้งใจ ตั้งจิตใจ วาจาเป็นคำพูดออกมา แสดงถึงคำพูดนั้นต้องออกมาจากใจ คือเป็นการตั้งใจที่จะทำอะไรเพื่อความสำเร็จในงานนั้น


                (พระราชดำรัส ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในโอกาสที่ผู้พิพากษาประจำกระทรวงยุติธรรมเฝ้าฯ ถวายสัตย์ปฏิญาณก่อนเข้ารับหน้าที่ 18 มีนาคม 2525) 



 

Webboardแสดงความคิดเห็น
เยี่ยม   แย่   แย่   แย่   เขิน   หยอกล้อ  ตกใจ  ร้องไห้   สงสัย   ขอโทษ   หดหู่   อย่าน่ะ   ต่อว่า   โอเค
*ชื่อ
*สถานะ  
*อีเมล
ลิงค์ที่เกี่ยวข้อง
*รหัสยืนยัน

หมายเหตุ : : กรุณากรอกข้อมูลที่มี * ทุกช่อง

view

 กองทัพบก

 ยศ.ทบ.

กองอนุศาสนาจารย์ ยศ.ทบ.

ศูนย์การเรียนรู้ มทบ.๑๕

ฝอศจ.จทบ.ร.บ.

view