http://mc15chap.igetweb.com
สร้างเว็บไซต์Engine by iGetWeb.com

 หน้าแรก

 ทำเนียบ อศจ.ทบ.

 ผู้บังคับบัญชา

 ทำเนียบ อศจ.มทบ.๑๕

ภารกิจ

ประวัติอนุศาสนาจารย์

ผู้ดูแลระบบ

ปฎิทิน

« May 2024»
SMTWTFS
   1234
567891011
12131415161718
19202122232425
262728293031 

ภาพกิจกรรม

คุณธรรมสำหรับทหารใหม่

นานาสาระน่ารู้

อดีตกาลของชีวิต

สถิติ

เปิดเว็บ04/08/2009
อัพเดท15/03/2019
ผู้เข้าชม1,013,590
เปิดเพจ1,769,332
iGetWeb.com
AdsOne.com

โพสข้อความเทิดทูน กรมทหารช่างที่ ๓

(อ่าน 28297/ ตอบ 4194)

กรมทหารช่างที่ ๓


ร้อย.ปจว.4

ความจงรักภักดีต่อสถาบันอันสูงสุด ถือว่าเป็นหน้าที่หนึ่งของคนไทยทุกคน

ร้อย.ปจว.4

รักพ่อเชื่อฟังพ่อก็อยู่รอดโดยปลอดภัย รักไทยหวงแหนไทยรักษาชาติ ศาสน์ องค์ราชัน

ผธก.ศสพ.

พ่อหลวงคือพ่อของปวงชน

ผธก.ศสพ.

พ่อหลวงคือพ่อของปวงชน

กสท.

1 ประชาชน และคณะบุคคล ไปลงนามถวายพระพร พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ด้วยสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ
ศาลาสหทัยสมาคม ในพระบรมมหาราชวัง มีประชาชน และคณะบุคคล จากจังหวัดต่าง ๆ และในกรุงเทพมหานคร นำแจกันดอกไม้และสิ่งของไปทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวาย พร้อมกับลงนามถวายพระพร พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ขอให้มีพระพลานามัยแข็งแรง ด้วยสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ อาทิ นักบริหารการศึกษามหานครระดับ 7, ชมรมผู้สูงอายุชาวพัทลุง, นายกเทศมนตรีตำบลบ้านไร่ กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน อาสาสมัคร จังหวัดสงขลา, ข้าราชการ ครู นักเรียน โรงเรียนหนองบัวฮีวิทยาคม จังหวัดอุบลราชธานี, พลโทสรรชัย อจลานนท์ เจ้ากรมกำลังพลทหารบก, เฉพาะกิจราชสีห์, บริษัท เอฟ ดับบลิว ดี ประกันชีวิต จำกัด, อบต.กาตอง จังหวัดยะลา, เกษตรกรในเขตที่ดินพระราชทานเพื่อการเกษตร, ฝ่ายการพยาบาลโรงพยาบาลบางบาล จังหวัดพระนครศรีอยุธยา, ชมรมลูกเสือชาวบ้านจังหวัดสตูล

ผู้บริหาร ครู โรงเรียนวัดไร่ขิง สุนทรอุทิศ จังหวัดนครปฐม, เทศบาลตำบลบ่อหลวง และชมรมผู้สูงอายุ อำเภอฮอด จังหวัดเชียงใหม่, นักศึกษาฝึกงานโครงการส่วนพระองค์ สวนจิตรลดา, ตัวแทนประชาชนชาวบ้าน อำเภอเขาพนม จังหวัดกระบี่, นักเรียนโรงเรียนวัดเอนกดิษฐาราม สำนักงานพื้นที่ประถมศึกษา นนทบุรี เขต 2, นักศึกษาหลักสูตรนักบริหารการคลัง รุ่น 72/1 สถาบันพัฒนาบุคคลากรท้องถิ่น จังหวัดปทุมธานี, อาจารย์ นักเรียนโรงเรียนวชิราวุธวิทยาลัย, คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานและกรรมการเครือข่ายผู้ปกครองโรงเรียนประชาบำรุง สำนักงานเขตหนองแขม กรุงเทพมหานคร และนักเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า รุ่นที่ 38
2 ผู้แทนพระองค์ เยี่ยมและเชิญถุงพระราชทานมอบแก่ราษฎรผู้ประสบอุทกภัย ที่จังหวัดลพบุรี
พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี พระวรราชาทินัดดามาตุ โปรดให้ รองศาสตราจารย์นายแพทย์ พิชิต สุวรรณประกร รองประธานมูลนิธิอาสาเพื่อนพึ่ง ภาฯ ยามยาก สภากาชาดไทย เป็นผู้แทนพระองค์ เยี่ยมราษฎรผู้ประสบอุทกภัยถึงบ้านที่ชุมชนวัดวังน้ำดำ ชุมชนบ้านหนองถ้ำ โรงเรียนบ้านหนองถ้ำ ชุมชนหนองขาม วัดหนองขาม ตำบลนิคมสร้างตนเอง

รวมทั้งเชิญถุงยังชีพพระราชทานไปถวายแด่พระภิกษุสงฆ์ และมอบแก่ราษฎรผู้ประสบอุทกภัย ณ หอประชุมเทศบาลตำบลโคกตูม อำเภอเมือง จังหวัดลพบุรี ซึ่งส่วนใหญ่เป็นผู้สูงอายุ ผู้พิการ และผู้มีรายได้น้อย รวม 2,000 ชุด เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนในเบื้องต้น หลังจากพื้นที่ดังกล่าวเกิดฝนตกหนัก ทำให้น้ำท่วมบ้านเรือนราษฎร วัด และโรงเรียน โดยที่ตำบลโคกตูมและตำบลนิคมสร้างตนเอง มีบ้านเรือนราษฎรเสียหายกว่า 20 หลัง วัดถูกน้ำท่วมเสียหาย ส่วนโรงเรียนได้รับความเสียหายทั้งตัวอาคารและอุปกรณ์การเรียน พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี พระวรราชาทินัดดามาตุ โปรดให้มูลนิธิฯ ร่วมกับกรมป้องกันและ
บรรเทาสาธารณภัย สร้างบ้านพักชั่วคราวเพื่อนพึ่ง ภาฯ เพื่อบรรเทาความเดือดร้อน พร้อมประทานเงินช่วยเหลือซ่อมแซมบ้าน วัด โรงเรียนทุกแห่งด้วย
3 ด้วยสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี จะเสด็จเยือนสหราชอาณาจักรและราชอาณาจักรเนเธอร์แลนด์ ระหว่างวันที่ 2 ถึงวันที่ 23 กันยายน พุทธศักราช 2559 เพื่อทรงร่วมงานเลี้ยงรับรองที่บริษัทเอสเปร (Asprey) จัดขึ้น ณ กรุงลอนดอน เพื่อส่งเสริมและจำหน่ายผลิตภัณฑ์ที่ทรงออกแบบ และนำรายได้สมทบทุนมูลนิธิจุฬาภรณ์ เพื่อช่วยเหลือผู้ป่วยในพระอนุเคราะห์ที่ยากไร้ และจะทรงร่วมพิธีลงพระนามความตกลงความร่วมมือระหว่างวิทยาลัยวิทยาศาสตร์การแพทย์เจ้าฟ้าจุฬาภรณ์ กับมหาวิทยาลัยยูนิเวอร์ซิตี คอลเลจ ลอนดอน
ในการเสด็จเยือนราชอาณาจักรเนเธอร์แลนด์ สมเด็จพระเจ้าลูกเธอเจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี จะทอดพระเนตรงานด้านสัตวแพทย์และวิทยาศาสตร์การแพทย์ ณ มหาวิทยาลัยยูเทรกต์ มหาวิทยาลัยฟรี อัมสเตอร์อัม และมหาวิทยาลัยอีราสมุส รอตเทอร์ดาม โดยจะมีพิธีลงพระนามบันทึกความร่วมมือระหว่างวิทยาลัยวิทยาศาสตร์การแพทย์เจ้าฟ้าจุฬาลงกรณ์ กับมหาวิทยาลัยเหล่านี้ และจะทอดพระเนตรงานวิชาการด้วย ตลอดจนทรงรับฟังการบรรยายงานวิจัยด้านอณูพันธุศาสตร์ และงานวิจัยด้านหู คอ จมูก
สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี จะเสด็จโดยเครื่องบินของบริษัท การบินไทย จำกัด มหาชน เที่ยวบินที่ ทีจี 910 จากท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ จังหวัดสมุทรปราการ ในวันศุกร์ที่ 2 กันยายน พุทธศักราช 2559 เวลา 01.10 น. และจะเสด็จกลับโดยเครื่องบินของบริษัท การบินไทย จำกัด มหาชน เที่ยวบินที่ ทีจี 921 ถึงท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ จังหวัดสมุทรปราการ ในวันศุกร์ที่ 23 กันยายน พุทธศักราช 2559 เวลา 06.25 น. จึงขอประกาศให้ทราบโดยทั่วกัน สำนักพระราชวัง 1 กันยายน พุทธศักราช 2559
4 พระราชปณิธานในสมเด็จพระนางเจ้าฯ : ตอบแทนพระคุณแผ่นดินแม่
ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมาจวบจนถึงปัจจุบัน สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถทรงมุ่งมั่นปฏิบัติพระราชกรณียกิจนานัปการเคียงคู่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว โดยทรงดำเนินการทุกวิถีทาง เพื่อนำพาประเทศไทยให้เจริญก้าวหน้าและประชาชนมีความผาสุก ร่มเย็น ทรงรักและห่วงใยประเทศชาติและประชาชนเหมือน “แม่ที่รักและห่วงใยลูกอยู่ตลอดเวลา”
ในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถในปีนี้ ผมขอเริ่มต้นโดยกล่าวถึงพระราชประวัติในสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถและพระราชปณิธานเพื่อแผ่นดินไทย ด้วยได้รับความสนับสนุนด้านข้อมูลจากสำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ดังนี้ครับ
สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถทรงเป็นพระธิดาองค์ใหญ่ในพระวรวงศ์เธอ กรมหมื่นจันทบุรีสุรนาถ และหม่อมหลวงบัว กิติยากร พระราชสมภพ ณ บ้านพักของท่านพระยาวงษานุประพันธ์ กรุงเทพฯ เมื่อวันศุกร์ที่ ๑๒ สิงหาคม ๒๔๗๕ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวพระราชทานนามว่า “สิริกิติ์”

สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถทรงศึกษาในชั้นอนุบาลที่โรงเรียนราชินีล่าง แล้วย้ายไปศึกษาต่อที่โรงเรียนเซ็นต์ฟรังต์ ซีสซาเวียร์ ตำบลสามเสน และเมื่อมีพระชนมายุได้ ๑๖ พรรษา ได้เสด็จตามพระราชบิดาซึ่งไปดำรงตำแหน่งเอกอัครราชทูตประจำกรุงปารีส และโคเปนเฮเกน เดนมาร์ก และทรงศึกษาด้านภาษาอังกฤษและฝรั่งเศสเป็นอย่างดี
สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ได้เข้าเฝ้าพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชครั้งแรก ณ ฟองเทนโบล ประเทศฝรั่งเศส เมื่อปี ๒๔๙๒ จนเมื่อวันที่ ๑๙ กรกฎาคม ๒๔๙๒ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ทรงประกอบพิธีหมั้นกับสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถขึ้น ณ กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ และทรงให้จัดพระราชพิธีราชาภิเษกสมรสขึ้นในวังสระปทุม เมื่อวันที่ ๒๘ เมษายน ๒๔๙๓ พร้อมทั้งมีพระบรมราชโองการดำรัสให้สถาปนาหม่อมราชวงศ์สิริกิติ์ เป็นสมเด็จพระราชินีสิริกิติ์
เมื่อวันที่ ๕ พฤษภาคม ๒๔๙๓ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงประกอบพระราชพิธีบรมราชาภิเษก ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ สถาปนาสมเด็จพระราชินีให้ทรงฐานันดรเพิ่มขึ้นเป็น สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินี และเมื่อวันที่ ๒๒ ตุลาคม ๒๔๙๙ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชศรัทธาปสาทะในพระพุทธศาสนาได้ทรงผนวช สมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีได้ทรงเป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ได้ทรงปฏิบัติพระราชกรณียกิจเป็นอย่างดีทุกประการ
ต่อมาได้ทรงรับการสถาปนาขึ้นเป็น “สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ” นับเป็นสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถองค์ที่สองแห่งพระบรมราชวงศ์จักรี

พระราชกรณียกิจมากมายหลายด้านที่สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถทรงบำเพ็ญด้วยพระปรีชาสามารถ พระวิริยะ อุตสาหะและขันติธรรม ด้วยพระราชหฤทัยที่ทรงเมตตาและทรงห่วงใยในพสกนิกรและแผ่นดินเป็นสำคัญ ดังจะเห็นได้จากการเสด็จพระราชดำเนินไปทรงเยี่ยมเยียนทุกข์สุขของราษฎรในทุกภูมิภาคของประเทศไทย โดยทรงงานเคียงข้างพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอยู่เสมอ ทำให้ทรงทราบถึงปัญหาต่างๆ ของราษฎร
และนำมาซึ่งโครงอันเนื่องมาจากพระราชดำริในการช่วยเหลือราษฎรมากมาย เกิดประโยชน์หลายด้าน ดังที่ได้ทรงเคยมีพระราชดำรัสถึงเหตุที่ต้องทรงงานหนัก พระราชทานแก่คณะบุคคลต่างๆ ที่เข้าเฝ้าฯ ในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา เมื่อวันที่ ๑๒ สิงหาคม ๒๕๒๒ ความตอนหนึ่งว่า
“…ความจริงที่ข้าพเจ้ามีกำลังใจและกำลังกายที่จะปฏิบัติหน้าที่รับใช้บ้านเมือง ก็เนื่องด้วยเหตุนึกถึงคำของพ่อที่สอนมาตั้งแต่เล็กๆ และก็เมื่อแต่งงาน พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวก็ทรงสอนตลอดมาว่า แผ่นดินนี้มีคุณ มีบุญคุณแก่ชีวิตของพวกเรามากมายนัก เพราะฉะนั้นชีวิตที่เกิดมานี้อย่าได้ว่างเปล่า จงตอบแทนให้รู้สึกตัวเสมอว่าเป็นหนี้บุญคุณ… พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและข้าพเจ้ารู้สึกว่า ทำงานเท่าไรก็ยังไม่คุ้ม ยังไม่สมกับที่บรรพบุรุษของเผ่าไทยทั้งหลาย ผู้มีพระคุณ ผู้ที่ได้ปกป้องยึดผืนแผ่นดินนี้ได้มาตลอด แล้วดูตามประวัติศาสตร์แล้ว ท่านทั้งหลายได้ประสบความทุกข์ยากอย่างมากมาย ท่านทั้งหลายก็แน่วแน่ในปณิธานที่จะทำนุบำรุงผืนแผ่นดินนี้ไว้ให้เป็นแผ่นดินที่ร่มเย็น เป็นแผ่นดินที่ทุกคน มีอิสระเสรีที่จะมีความเชื่อถือในศาสนาใดก็ได้ มีความสงบสุขอยู่ในศาสนาของตนโดยที่ไม่มีการข่มเหงรังแกบีบคั้น อันนี้เป็นลักษณะประเสริฐของบรรพบุรุษของไทยทั้งหลาย ซึ่งข้าพเจ้าอยากขอให้ทุกท่านนำคำพูดของข้าพเจ้าไปคิดดูให้ดี แล้วก็จะเห็นว่า ข้าพเจ้านั้นไม่ได้ดีวิเศษอะไรเลย เพียงแต่ว่าเมื่อนึกถึงพระคุณอย่างนี้แล้ว ก็ต้องยิ่งพยายามที่จะทำให้สุดความสามารถ…”

พระราชกรณียกิจในสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ มีหลายด้าน แต่ไม่ว่าจะเป็นด้านใดก็ตาม ทรงล้วนตั้งอยู่บนพื้นฐานของความห่วงใยในประชาราษฎร์และแผ่นดินไทย ดังพระราชดำรัสพระราชทานแก่คณะกรรมการอาสาสมัครและอาสาสมัครสภาสังคมสงเคราะห์แห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ ณ พระที่นั่งอัมพรสถาน เมื่อวันที่ ๒ มีนาคม ๒๕๑๐ ความตอนหนึ่งว่า
“…เรามีความสุขแต่ลำพังโดยไม่คำนึงถึงความเดือดร้อนของคนอีกหลายคนที่แวดล้อมเราอยู่นั้นไม่ได้ ผู้มีเมตตาจิตหวังของประโยชน์ส่วนรวมย่อมรู้จักแบ่งปันความสุขเพื่อผู้อื่น และพร้อมที่จะช่วยบรรเทาความทุกข์ของผู้อื่นตามกำลังและโอกาสเสมอ…”

พระราชดำรัสพระราชทานแก่บุคคลต่างๆ ที่เข้าเฝ้าฯ ในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา เมื่อวันที่ ๑๑ สิงหาคม ๒๕๓๕ ความตอนหนึ่งว่า
“…เราเรียกแผ่นดินนี้ว่าแผ่นดินแม่ เพราะแผ่นดินนี้เป็นที่เกิด และเลี้ยงดูคนไทยมากว่า ๗๐๐ ปี ควรที่เราทั้งหลายจะบำรุงรักษาแผ่นดินให้คงความอุดมสมบูรณ์ไว้ ถ้าเรามัวแต่ตักตวงผลประโยชน์จากผืนดิน… สักวันหนึ่งแผ่นดินแม่คงตายจากเราไป โดยไม่มีวันหวนกลับคืนมา คงเหลือไว้ซึ่งพื้นดินที่แห้งแล้ง สิ้นสภาพจากการเป็นดินที่จะทำการเพาะปลูกได้คงจะมีแต่ฝุ่นตลบไปหมด เสมือนแผ่นดินที่ไร้วิญญาณไร้ความหมายใดๆ ต่อชีวิตบนผืนโลก ขณะนี้เรายังมีเวลาและโอกาสที่จะฟื้นฟูรักษาแผ่นดินแม่…”

ด้วยพระราชปณิธานข้างต้น สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถจึงเสด็จฯ ไปทรงบำเพ็ญพระราชกรณียกิจในทุกภูมิภาคของประเทศ ไม่ว่าหนทางจะยากลำบากเพียงใด หรือต้องทรงงานโดยใช้เวลายาวนานเท่าใด จะทรงรับฟังทุกข์สุขของพสกนิกรที่มาเข้าเฝ้าฯ และรับเสด็จอย่างตั้งพระทัย และพระราชทานแนวทางการแก้ไขให้หน่วยงานราชการต่างๆ รับไปดำเนินการ
จากการเรียนรู้การทรงงานของสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ พบว่า ในการช่วยเหลือพสกนิกรในโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริมากมายนั้น “ทรงทำตามและยึดหลักแนวพระราชดำริในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว” โดยตั้งอยู่บนหลักการที่สำคัญ ๕ ประการ
ได้แก่ ประการแรก ทรงให้ความสำคัญกับการแก้ไขปัญหาในระดับพื้นฐานของประเทศ อันได้แก่ “ชนบท” ซึ่งเป็นแหล่งผลิตอาหาร และ “เกษตรกร” ซึ่งเป็นคนส่วนใหญ่ของประเทศ
ประการที่สอง ทรงให้ความสำคัญกับการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ที่มี “คน” เป็นศูนย์กลาง
ประการที่สาม ทรงให้ความสำคัญกับ “โอกาส” ของราษฎรที่จะได้รับการพัฒนาหรือมีส่วนร่วมในการพัฒนา ไม่ว่าจะเป็นราษฎรในภูมิภาคใดของประเทศ นับถือศาสนา หรือพูดภาษาใดก็ตาม ไม่ทรงแบ่งแยกหรือเน้นเฉพาะคนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง ทรงเห็นว่าราษฎรนั้นมีศักยภาพและความสามารถอยู่แล้ว เพียงแต่ให้โอกาสเขาได้ใช้ความรู้ความสามารถเท่านั้น ก็จะสามารถแก้ไขปัญหาของตนเองได้
ประการที่สี่ ทรงให้ความสำคัญกับการ“พัฒนาด้านจิตใจ” ของคนในชาติให้มีคุณธรรมและจริยธรรม นำสู่การพัฒนาที่ยั่งยืนอย่างแท้จริง ประการที่ห้า ทรงให้ความสำคัญกับการทรงงานพัฒนาเพื่อ “เสริมและสนับสนุน” งานพัฒนาของรัฐบาล

ด้วยสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณอย่างล้นพ้น และในโอกาสอันเป็นมหามงคลเวียนมาบรรจบเนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษาในครั้งนี้
ข้าพระพุทธเจ้าขออาราธนาคุณพระศรีรัตนตรัยดลบันดาลให้สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถทรงมีพระพลานามัยแข็งแรง ทรงพระเกษมสำราญ และทรงสถิตเป็นพระมิ่งขวัญของปวงชนชาวไทยตลอดไป ขอพระองค์ทรงพระเจริญยิ่งยืนนาน.
……………………………………..

5 ทูลกระหม่อมอาจารย์
สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงมีพระอัจฉริยภาพด้านการถ่ายทอดความรู้ ซึ่งเป็นทักษะที่จำเป็นอย่างยิ่งสำหรับครู อีกทั้งยังทรงมีเทคนิคและวิธีการสอนที่น่าสนใจด้วย
พระองค์ทรงถ่ายทอดความรู้ ทรรศนะ และพระราชวินิจฉัยในเรื่องต่างๆ ที่ทรงมีประสบการณ์จริง ทั้งจากในประเทศและต่างประเทศแก่นักเรียนนายร้อยฯ โปรดการซักถาม การอภิปราย และด้วยพระอารมณ์ขัน จึงทำให้การบรรยายมีคุณค่าและมีชีวิตชีวา
“ทูลกระหม่อมอาจารย์” ที่โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า ทรงวางแผนการสอนร่วมกับอาจารย์ประจำ ทรงแบ่งแนวการสอนของพระองค์เป็น 2 ด้าน คือ ด้านหนึ่งเป็นการศึกษาประวัติศาสตร์และโบราณคดี ย้อนเรื่องราวในอดีต อีกด้านหนึ่งทรงสอนวิชาการพัฒนาชุมชนซึ่งเป็นเรื่องของการสร้างสิ่งใหม่
6 ถึงแม้ว่าพระองค์จะมีพระราชกรณียกิจด้านอื่นๆ มากมาย แต่ด้วยพระวิริยะอุตสาหะ ทูลกระหม่อมอาจารย์จะทรงมีเอกสารประกอบการสอนพระราชทานแก่นักเรียนทุกครั้ง
ถ้าไม่ชำนาญ จะทรงเชิญอาจารย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะเรื่องมาบรรยาย เพื่อให้ความรู้อย่างละเอียดทุกด้านด้วย
จากบทพระราชทานสัมภาษณ์ในฐานะครูประวัติศาสตร์ ความตอนหนึ่ง ในเรื่องวิธีการสอนว่า
“….ด้านวิธีการสอน พยายามใช้ทุกวิธีการเท่าที่จะทำได้ ได้แก่ การบรรยายถ่ายทอดความรู้ของอาจารย์ให้นักเรียน การเปิดโอกาสให้นักเรียนมีส่วนร่วมออกความคิดเห็น การให้นักเรียนอ่านหนังสือ การค้นคว้าในห้องสมุด การไปศึกษาต่อในสถาบันที่มีข้อมูลเช่น การออกไปสัมภาษณ์ ออกไปเห็นอะไรๆ ให้กว้างขวาง
..และรู้จักโยงวิชาการต่างๆ ที่ได้เรียนรู้มาเข้าด้วยกัน ประวัติศาสตร์คือศาสตร์ที่ว่าด้วยความเป็นมา ไม่จำเป็นจะต้องเป็นอดีตที่ห่างไกลอย่างเดียว ความเป็นมาทุกๆนาทีที่เปลี่ยนไปก็ถือเป็นประวัติศาสตร์ โดยคิดอย่างกว้างที่สุด…”
สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงให้ความสำคัญกับการสอนด้วยการนำนักเรียนออกไปศึกษาโบราณสถานที่ทั่วประเทศอีกด้วย ซึ่งนอกจากนักเรียนจะได้พบกับสถานที่จริง ที่เต็มไปด้วยประวัติศาสตร์ในแง่ต่างๆ
แล้วยังทรงสอดแทรกในเรื่องของความเป็นอยู่ของชุมชน การเจริญเติบโตของชุมชนในด้านต่างๆ ตามยุคตามสมัยไว้ด้วยทุกครั้งไป พระองค์ทรงวางแผนและมีการเตรียมการเป็นอย่างดี
โดยกองวิชาการประวัติศาสตร์ จะจัดพิมพ์หนังสือซึ่งมีลักษณะเป็นเอกสารคู่มือ เพื่อให้นักเรียนได้รับประโยชน์จากการไปทัศนศึกษาแต่ละครั้ง ทรงพระราชนิพนธ์คำนำให้นักเรียนทราบแผนการทัศนศึกษาและการเตรียมตัวศึกษาด้วย
7 “…ผู้หนักแน่นในสัจจะ พูดอย่างไรทำอย่างนั้น จึงจะได้รับความสำเร็จ
พร้อมทั้งความศรัทธา เชื่อถือ และความยกย่องสรรเสริญจากคนทุกฝ่าย
…การพุดแล้วทำ คือพูดจริงทำจริง จึงเป็นปัจจัยสำคัญ ในการส่งเสริมเกียรติคุณของบุคคลให้เด่นชัด…”
(พระบรมราโชวาท พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
จาก ๑๐๘ มงคลเพื่อความสุขและความสำเร็จของชีวิตที่ยั่งยืน)
8 “…ปัญหาทุกอย่างไม่ว่าเล็กหรือใหญ่มีทางแก้ไขได้ถ้ารู้จักคิดให้ดี
ปฏิบัติให้ถูก การคิดให้ดี มิใช่การคิดได้ด้วยลูกคิดหรือด้วยสมองกล
เพราะโลกเราในปัจจุบันจะวิวัฒนาการไปมากเพียงใดก็ตาม
ก็ยังไม่มีเครื่องมืออันวิเศษชนิดใดสามารถขบคิดแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ได้อย่างสมบูรณ์
การขบคิดวินิจฉัยปัญหาจึงต้องใช้สติปัญญาคือคิดด้วยสติรู้ตัวอยู่เสมอ
เพื่อหยุดยั้งและป้องกันความประมาทผิดพลาดและอคติต่าง ๆ มิให้เกิดขึ้น
ช่วยให้การใช้ปัญญาพิจารณาปัญหาต่าง ๆ เป็นไปอย่างเที่ยงตรง
ทำให้เห็นเหตุเห็นผลที่เกี่ยวเนื่องกันเป็นกระบวนการได้กระจ่างชัดทุกขั้นตอน”
(พระบรมราโชวาท พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
จาก ๑๐๘ มงคลเพื่อความสุขและความสำเร็จของชีวิตที่ยั่งยืน)
9 “ในการปฏิบัติราชการนั้น ขอใหทําหนาที่เพื่อหนาที่ อยานึกถึงบําเหน็จรางวัลหรือผลประโยชนใหมาก
ขอใหถือวาการทําหนาที่ไดสมบูรณเปนทั้งรางวัลและประโยชนอยางประเสริฐ
จะทําให้บ้านเมืองไทยของเราอยูเย็นเปนสุขและมั่นคง
(พระบรมราโชวาท เนื่องในโอกาสวันข้าราชการพลเรือน พุทธศักราช ๒๕๓๓)
10 “...ชัยของการพัฒนานี้มีจุดประสงค์คือ ความสงบความเจริญความกินดีอยู่ดี...”
(พระราชดำรัสพระราชทานแก่ประชาชนชาวไทยในโอกาสขึ้นปีใหม่2515 วันศุกร์ที่31ธันวาคม2514)
11 “…เป็นความจริงอยู่โดยธรรมดาที่บุคคลในสังคมนั้น
ย่อมมีอัธยาศัยจิตใจแตกต่างเหลื่อมล้ำกันเป็นหลายระดับ
ขึ้นอยู่กับพื้นฐานภูมิธรรมของตน บางคนก็มีความคิดจิตใจสูง
มีความประพฤติปฏิบัติดีงาม เป็นคุณประโยชน์อยู่แล้วเป็นปกติ
แต่บางคนก็ไม่สามารถจะทำเช่นนั้นได้เพราะยังไม่เห็นคุณค่าของการปฏิบัติดี
จึงมักก่อปัญหาให้แก่สังคม
(พระบรมราโชวาท พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว จาก ๑๐๘ มงคลเพื่อความสุขและความสำเร็จของชีวิตที่ยั่งยืน)
12 “…แม้ปัจจุบันโลกเราจะวิวัฒนาการก้าวหน้าไปเพียงใดก็ตาม แต่ปัญหาต่าง ๆ
ก็มีได้เปลี่ยนแปลงไป เพียงแต่มีตัวอย่างทั้งดีและไม่ดี ปรากฏให้เห็นเด่นชัดมากกว่าแต่ก่อน
ดังนั้น บุคคลผู้สามารถประคับประคองตนให้อยู่ในสังคมได้อย่างเป็นสุข
จึงต้องมีความเข้มแข็งยิ่งขึ้นที่จะยึดมั่นปฏิบัติมั่นตามแบบอย่างที่พิจารณา
รู้ชัดด้วยปัญญาแล้วว่าเป็นทางแห่งความดี ความเจริญ
ไม่ปล่อยตัวปล่อยใจให้มัวเมาหลงผิดไปในทางเสื่อมเสีย
พร้อมกันนั้นก็จะต้องมีสติกำกับอยู่ตลอดเวลา
ที่จะไม่ให้ประพฤติปฏิบัติผิดพลาด ด้วยความประมาทพลั้งเผลอ…”
(พระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระราชทานเพื่อเชิญไปอ่าน
ในพิธีเปิดการประชุมการสังคมสงเคราะห์แห่งชาติ ครั้งที่ ๑๕
ณ โรงแรมแอมบาสซาเดอร์ วันพฤหัสบดีที่ ๒๕ เมษายน ๒๕๓๙)
13 “…เพราะว่าเป็นประเทศของเราไม่ใช่ประเทศของหนึ่งคนสองคน
เป็นประเทศของคนทุกคนเพราะปัญหามีอยู่ที่เวลาเกิดจะใช้คำว่า
บ้าเลือดเวลาคนมีการปฏิบัติรุนแรงมันลืมตัว
ลงท้ายเขาไม่รู้ว่าตีกันเพราะอะไรแล้วก็จะแก้ปัญหาอะไร
เพียงแต่ว่าจะต้องเอาชนะแล้วใครจะชนะ ไม่มีทางอันตรายทั้งนั้น
มีแต่แพ้คือต่างคนต่างแพ้ผู้ที่เผชิญหน้าก็แพ้ แล้วที่แพ้ที่สุด
ก็คือประเทศชาติประชาชนจะเป็นประชาชนทั้งประเทศ
ไม่ใช่ประชาชนเฉพาะในกรุงเทพมหานคร
ถ้าสมมติว่าเฉพาะในกรุงเทพมหานครเสียหายไป
ประเทศก็เสียหายไปทั้งหมด แล้วก็จะมีประโยชน์อะไรที่จะทะนงตัว
ว่าชนะเวลาอยู่บนกองซากปรักหักพัง…”
(พระราชดำรัสในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระราชทานเมื่อวันที่ ๒๐ พฤษภาคม ๒๕๓๕)
14 “…ท่านผู้ใหญ่ไปตรวจราชการที่ไหน ถ้าไปถึงไม่มีใครเลี้ยงก็โกรธ
แต่ถ้าไปถึงแล้วเลี้ยงก็พอใจ แต่ว่าเงินที่เลี้ยง… เอามาจากไหน
เมื่อไม่มีเงินรับรองของส่วนภูมิภาคก็ต้องไปเรี่ยไรกัน
ไปเรี่ยไรจากข้าราชการชั้นผู้น้อย หรือ ไม่อย่างนั้นก็ไปขูดรีดจากพ่อค้า
แล้วพ่อค้าก็ต้องถือว่า เป็นการลงทุน มันก็กลายเป็นคอรัปชั่นไป…”
( พระราชดำรัสพระราชทานแก่คณะกรรมการอำนวยการสภาสังคมสงเคราะห์แห่งประเทศไทยฯ
ณ พระตำหนักจิตรลดารโหฐาน เมื่อวันที่ 24 กันยายน 2512 )
15 “…การใช้หลักวิชาการและความคิดริเริ่มสร้างงานที่อาจดูไม่ใหญ่โตนัก
แต่มีประสิทธิภาพสูงและอำนวยประโยชน์โดยตรงได้มาก
โดยนำเอาทรัพยากรธรรมชาติ ความรู้ ความสามารถ
ตลอดจนแรงงานของคนส่วนใหญ่ ให้ได้เต็มเม็ดเต็มหน่วย
และให้เกิดการเสียหายหรือความสูญเปล่าน้อยที่สุด
การสร้างความเจริญในลักษณะนี้
จะช่วยเสริมสร้างความเจริญของกิจการส่วนรวมได้แน่นอน…”
(พระบรมราโชวาทในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรของสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า
ณ วิทยาเขตเจ้าคุณทหารลาดกระบัง วันที่ ๑๘ ตุลาคม พุทธศักราช ๒๕๔๐)

16 “…ท่านก็ตักเตือนอยู่ว่า ให้คิดดี ทำดี ถูกต้อง ให้โอวาทกับตัวเองเพราะว่า
ไม่มีใครให้โอวาทแล้ว เราสบายใจก็เข้าใจว่า ท่านทั้งหลายอาจจะได้ยิน ได้ยิน
สมเด็จพระบรมราชชนนี ท่านให้โอวาทลูก แล้วเราก็ให้โอวาทข้าราชการ
ใครต่อใครที่อยู่ในที่นี้ ประชาชนทั่วไปว่าทำอะไร ถ้าทำดีก็ปลาบปลื้มกัน
ถ้าทำไม่ดีพิจารณาตัวเองว่า ไม่ดี เว้นไว้ ยังมีที่ควรจะเป็น
พวกนี้ก็ประชาชนเหมือนกัน พวกนี้บางคนบางทีเขาก็นึกว่าเขาไม่เป็นประชาชน
จริง ๆ ก็เป็นประชาชน ถูกให้โอวาทเหมือนกัน
(พระราชดำรัส พระราชทานแก่บุคคลต่าง ๆ ที่เข้าเฝ้าฯ ถวายชัยมงคล
เนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา ณ ศาลาดุสิดาลัย
สวนจิตรลดาฯ พระราชวังดุสิต วันจันทร์ที่ ๔ ธันวาคม ๒๕๓๘)
17 “…ในการปฏิบัติงานนั้น ย่อมมีปัญหาต่าง ๆ เกิดขึ้นได้เสมอ
เมื่อปัญหาเกิดขึ้นต้องแก้ไข อย่าทิ้งไว้พอกพูนลุกลามจนแก้ยาก
ขอให้ทุกคนระลึกว่าปัญหาทุกอย่างมีทางแก้ไขได้ ถ้าแก้คนเดียวไม่ได้ก็ช่วยกันคิด
ช่วยกันแก้หลาย ๆ คนหลาย ๆ ทาง ด้วยความร่วมมือปรองดองกัน
ปัญหาที่เกิดขึ้นนั้นจักได้ไม่กลายเป็นอุปสรรคขัดขวาง
และบั่นทอนทำลายความเจริญและความสำเร็จของการงาน…”
(พระบรมราโชวาท พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
จาก ๑๐๘ มงคลเพื่อความสุขและความสำเร็จของชีวิตที่ยั่งยืน)
18 “…คนไม่มีความสุจริต คนไม่มีความมั่นคง ชอบแต่มักง่าย
ไม่มีวันจะสร้างสรรค์ประโยชน์ส่วนรวมที่สำคัญอันใดได้
ผู้ที่มีความสุจริตและความมุ่งมั่นเท่านั้น
จึงจะทำงานสำคัญยิ่งใหญ่ที่เป็นคุณประโยชน์แท้จริงได้สำเร็จ…”
(พระบรมราโชวาท พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
จาก ๑๐๘ มงคลเพื่อความสุขและความสำเร็จของชีวิตที่ยั่งยืน)

19 “…ผู้ใดมีความรู้ใดก็ควรจะแพร่ออกไปให้คนอื่นทราบ
เพราะว่าการเผยแพร่ความรู้ ความสามารถไปให้ผู้อื่นนั้นไม่ได้เสียประโยชน์ใด ๆ
เพราะว่าความรู้ และความดีเมื่อเผยแพร่ออกไปยิ่งทวีคูณขึ้น ไม่ได้หมดไปจากตัว
ยิ่งทำดียิ่งทำให้คนอื่นมีความรู้ ความรู้ของเราก็ไม่หมดลงไป ยิ่งเพิ่มพูนมากขึ้น อันนี้เรียกว่า การสร้างบารมี…”
(พระบรมราโชวาท พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว จาก ๑๐๘ มงคลเพื่อความสุขและความสำเร็จของชีวิตที่ยั่งยืน)
20 “…ผู้ใดมีความรู้ใดก็ควรจะแพร่ออกไปให้คนอื่นทราบ
เพราะว่าการเผยแพร่ความรู้ ความสามารถไปให้ผู้อื่นนั้นไม่ได้เสียประโยชน์ใด ๆ
เพราะว่าความรู้ และความดีเมื่อเผยแพร่ออกไปยิ่งทวีคูณขึ้น ไม่ได้หมดไปจากตัว
ยิ่งทำดียิ่งทำให้คนอื่นมีความรู้ ความรู้ของเราก็ไม่หมดลงไป ยิ่งเพิ่มพูนมากขึ้น อันนี้เรียกว่า การสร้างบารมี…”
(พระบรมราโชวาท พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
จาก ๑๐๘ มงคลเพื่อความสุขและความสำเร็จของชีวิตที่ยั่งยืน)
21 "การมีเสรีภาพนั้นเป็นของที่ดีอย่างยิ่งแต่เมื่อจะใช้จำเป็นต้องใช้ด้วยความระมัดระวัง และความรับผิดชอบมิให้ล่วงละเมิดเสรีภาพของผู้อื่นที่เขามีอยู่เท่าเทียมกัน ทั้งมิให้กระทบกระเทือนถึงสวัสดิภาพและความเป็นปกติสุขของส่วนรวมด้วย" (พระบรมราโชวาทของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระราชทานแก่ผู้บังคับบัญชาลูกเสือ9กรกฎาคม2514)
22 “คำว่า “สหกรณ์” แปลว่า การทำงานร่วมกัน การทำงานร่วมกันนี้ลึกซึ้งมาก
เพราะว่าจะต้องร่วมมือกันในทุกด้าน ทั้งในด้านงานการที่ทำด้วยร่างกาย
ทั้งในด้านการที่ทำด้วยสมอง และงานการที่ทำด้วยใจ ทุกอย่างนี้ขาดไม่ได้ ต้องพร้อม
งานที่ทำด้วยร่างกาย ถ้าแต่ละคนทำก็เกิดผลขึ้นมาได้ เช่น การเพาะปลูกก็มีผลขึ้นมา
สามารถที่จะใช้ผลนั้นในด้านการบริโภค คือ เอาไปรับประทาน
หรือเอาไปไว้ใช้หรือเอาไปจำหน่าย เพื่อให้มีรายได้เลี้ยงชีพได้ ถ้าแต่ละคนทำไปโดยลำพังแต่ละคน
งานที่ทำนั้นผลอาจไม่ได้เต็มเม็ดเต็มหน่วย และอาจจะไม่พอเพียงในการเลี้ยงตัวเอง
ทำให้มีความเดือดร้อน ฉะนั้น จะต้องร่วมกัน แม้ในขั้นที่ทำในครอบครัวก็จะต้องช่วยกัน
ทุกคนในครอบครัวก็ช่วยกันทำงานทำการ เพื่อที่จะเลี้ยงครอบครัวให้มีชีวิตอยู่ได้
แต่ว่าถ้าร่วมกันหลาย ๆ คน เป็นกลุ่มเป็นก้อน
ก็สามารถที่จะปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ มีความสามารถ มีผลได้มากขึ้น”
(พระราชดำรัสที่ได้พระราชทานแก่ผู้นำสหกรณ์ทั่วประเทศ
เมื่อครั้งเข้าเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาท ณ ศาลาดุสิดาลัยฯ เมื่อวันที่ ๑๑ พฤษภาคม ๒๕๓๖
23 “…ทุกคนต้องการความสุข ทุกคนต้องการแสวงหาความสุข
แต่ว่าบางทีก็มีความรู้สึกมีทุกข์ เราก็อยากขจัดความทุกข์
การที่ทำบุญนี้เป็นการเตรียมตัวที่จะขจัดความทุกข์ที่จะเกิดขึ้นมาได้
เพราะว่าถ้าจะสร้างสภาพจิตของเราให้มีความสุข เราก็จะมีความสุข
ถ้าพูดแบบนี้จะเข้าใจหลักธรรมะคือ เราไม่สร้าง
ไม่ยอมให้เหตุของทุกข์เกิดขึ้น เราก็ไม่ต้องเป็นทุกข์…”
(พระบรมราโชวาท พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
จาก ๑๐๘ มงคลเพื่อความสุขและความสำเร็จของชีวิตที่ยั่งยืน)
24 “…การจะเล่าเรียน หรือทำการใด ๆ ให้สำเร็จได้ด้วยดีโดยตลอดนั้น
ขึ้นอยู่กับความตั้งใจจริงเป็นใหญ่ เพราะความตั้งใจ
จริงนี้เป็นเครื่องมือสำคัญที่จะช่วยกำจัดความเกียจคร้าน
ความอ่อนแอ และความท้อถอยได้อย่างดียิ่ง จะปลูกฝังความเอาใจใส่
ความขยันหมั่นเพียร และความเข็มแข็งให้เกิดเป็นนิสัย และนิสัยที่ดีที่ปลูกไว้แต่เยาว์วัย
จะเป็นคุณสมบัติติดตัวไปในวันข้างหน้า จะช่วยพาตัวให้องอาจ
สามารถเอาชนะอุปสรรคและปัญหาต่าง ๆ ได้โดยตลอด
และประสบความสำเร็จ ความเจริญรุ่งเรืองต่อไปในชีวิต…”
(พระบรมราโชวาท พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
จาก ๑๐๘ มงคลเพื่อความสุขและความสำเร็จของชีวิตที่ยั่งยืน)
25 “….ความจริงใจต่อผู้อื่น เป็นคุณธรรมสำคัญมากสำหรับผู้ที่ต้องการความสำเร็จและความเจริญ
เพราะช่วยให้สามารถขจัดปัดเป่าปัญหาได้มากมาย
โดยเฉพาะอย่างยิ่งปัญหาอันเกิดจากความกินแหนงแคลงใจและเอารัดเอาเปรียบกัน
นอกจากนั้น ยังทำให้ได้รับความเชื่อถือไว้วางใจ และความร่วมมือสนับสนุนจากทุกคน
ทุกฝ่าย ที่ถือมั่นในเหตุผลและความดี ผู้มีความจริงใจจะทำการสิ่งใดก็มักสำเร็จได้โดยราบรื่น….”
(พระบรมราโชวาท พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
จาก ๑๐๘ มงคลเพื่อความสุขและความสำเร็จของชีวิตที่ยั่งยืน)
26 “…สัจวาจานั้นเป็นรากฐานของการทำงานหรือการดำรงชีวิตที่ดีที่งาม
ที่มีความก้าวหน้า มีความสำเร็จสัจ เป็นการตั้งใจ ตั้งจิตใจวาจา
เป็นคำพูดออกมาแสดงถึงคำพูดนั้นต้องออกมาจากใจ
คือเป็นการตั้งใจที่จะทำอะไรเพื่อความสำเร็จในงานนั้น…”
(พระบรมราโชวาท พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
จาก ๑๐๘ มงคลเพื่อความสุขและความสำเร็จของชีวิตที่ยั่งยืน)
27 “…ข้าพเจ้าใคร่ขอให้ท่านทั้งหลายจงมั่นอยู่ในความซื่อสัตย์สุจริต
ถือเอาประโยชน์ส่วนรวมเป็นที่ตั้ง เพราะคุณธรรมอันนี้เป็นมูลฐานอันสำคัญที่จะยังความเจริญ
และความเป็นปึกแผ่นแก่สังคม เป็นบ่อเกิดแห่งความสามัคคีกลมเกลียว
ความซื่อสัตย์ที่ว่านี้ หมายถึง ความสุจริตซื่อตรงต่อหน้าที่การงาน
ต่อตนเองและต่อผู้อื่นที่เกี่ยวข้อง มีเจตนาบริสุทธิ์ไม่เอารัดเอาเปรียบ…”
(พระบรมราโชวาท พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
จาก ๑๐๘ มงคลเพื่อความสุขและความสำเร็จของชีวิตที่ยั่งยืน)
28 ในหลวงพระราชทานคำแนะนำเรื่องการปฏิบัติสมาธิ
แก่ข้าราชบริพารผู้ติดตามพระองค์อยู่เสนอ ความจริงแล้ว ตัวผมเองนั้นก็มีความสนใจเกี่ยวกับการปฏิบัติสมาธิก่อนหน้าที่จะมีโอกาสเข้าไปอยู่ในวังแต่ว่าไม่มีโอกาสปฏิบัติอย่างจริงจัง ครั้นพอได้เข้าไปอยู่ในวัง เข้าไปได้เห็นว่า พระเจ้าอยู่หัวทรงปฏิบัติเจริญสมาธิอยู่เสมอ และเห็นนายตำรวจ นายทหารหลายๆ ท่านที่รับราชการอยู่ใกล้กันเขาปฏิบัติกัน เจริญรอยตามพระยุคลบาทพากันฝึกสมาธิอย่างขะมักเขม้นผมจึงถือปฏิบัติตาม…ฉะนั้น หลังจากที่พวกเราลงมือปฏิบัติกันแล้ว เวลามีโอกาสเข้าเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาท พระเจ้าอยู่หัวทรงรับสั่งเรื่องสมาธิกับพวกเราเสมอและเวลามีโอกาสเสด็จก็จะพระราชทานคำแนะนำเกี่ยวกับเรื่องนี้ทุกครั้งซึ่งผมก็ยังจำได้และนำวิธีฝึกปฏิบัติของพระเจ้าอยู่หัวมาฝึกปฏิบัติอยู่สม่ำเสมอ และเกี่ยวกับการปฏิบัติสมาธิของผมนั้น มีปัญหาเกี่ยวกับตัวผมเองว่า เมื่อตอนหัดใหม่ๆ ผมไม่มีครู ผมหัดจากหนังสือ และหนังสือที่ใช้เป็นหนังสือของท่านพุทธทาสภิกขุ ก็ใช้โดยวิธีอานาปานสติที่ว่ามีปัญหานั้นก็เพราะว่า ผมจะภาวนาว่าพุทโธก็ไม่ได้ จะใช้สัมมาอรหังแบบวัดปากน้ำ หรือใช้แบบยุบหนอพองหนอ อย่างวัดมหาธาตุก็ไม่ได้ ใจไม่สงบ ไม่สามารถทำสมาธิให้เกิดขึ้นได้…ในหลวงทรงใช้การ “นับ” เป็นวิธีปริกรรม ในการปฏิบัติกัมมัฏฐานของพระองค์เอง…ดังนั้น เมื่อมีโอกาสจึงได้กราบทูลถาม พระเจ้าอยู่หัวก็รับสั่งบอกว่า ถ้าทำไม่ได้ก็ต้องใช้วิธีนับ และทรงแนะนำให้ว่า หนึ่ง – เข้า หนึ่ง – ออก สอง – เข้า สอง – ออก ท่านบอกว่าการฏิบัติกัมมัฏฐานของท่านก็ทำเช่นนี้ ผมจึงได้ทราบว่า พระเจ้าอยู่หัวทรงใช้วิธีนี้ พระราชจริยาวัตรในการปฏิบัติสมาธิภาวนาของพระเจ้าอยู่หัวนอกจากจะทรงปฏิบัติอย่างสม่ำเสมอแล้ว ยังทรงให้ความสนใจศึกษาตลอดเวลา จะเห็นว่า เวลาเสด็จพระราชดำเนินไปไหนก็ตามมักจะเสด็จเข้าไปในวัดไปรับสั่งกับพระผู้ใหญ่เป็นเวลานานๆ อย่างเช่นกับหลวงปู่แหวน สุจิณโณ วัดดอยแม่ปั๋ง หลวงปู่ขาว อนาลโย วัดถ่ำกลองเพล ในสมัยที่หลวงปู่ทั้งสองยังมีชีวิตอยู่ อย่างนี้เป็นต้น เป็นเรื่องที่ทรงศึกษาทั้งสิ้น…

29 พระเจ้าอยู่หัวทรงนำสมาธิมาใช้ในพระราชกรณียกิจ
ผลของการฝึกสมาธิทำให้ในหลวง
สามารถทรงงานหนักต่อเนื่องโดยมิทรงเกิดอาการง่วง
เหน็ดเหนื่อย หรือเบื่อหน่าย
…นอกจากเรื่องที่ทรงศึกษาแล้วก็เป็นเรื่องของการปฏิบัติที่ทรงนำมาธิเข้ามามีส่วนในการปฏิบัติพระราชกรณียกิจ เพราะเท่าที่ผมสังเกตเอานะครับ พระเจ้าอยู่หัวไม่ทรงศึกษาสมาธิแต่อย่างเดียว แต่ได้ทรงนำสมาธิมาใช้ในพระราชกรณียกิจประจำด้วย ในเรื่องนี้เราจะสังเกตเห็นว่า ไม่ว่าจะเป็นงานอะไรก็ตาม ที่ปกติแล้ว อย่างพวกเราๆ ท่านๆ ไม่น่าจะทำได้แต่พระองค์ทรงทำได้ อย่างงานที่ต้องประทับเป็นเวลานานๆ ติดต่อกันถึง 2-3 ชั่วโมง จะทรงปฏิบัติได้อย่างไม่น่าเชื่อ คือไม่ทรงมีอาการเหนื่อยหรือง่วงเลยแม้แต่น้อย
ตลอดเวลาที่ผมอยู่ในตำแหน่ง 11ปี 11 เดือน ผมยังไม่เคยเห็นเลยว่า เวลาเสด็จพระราชดำเนินที่ใดแล้ว จะทรงแสดงอาการเหนื่อยจนถึงขนาดหลับ…ไม่มี แม้จะเป็นการทรงงานทั้งวันก็ตาม ดังเรื่องที่จำได้และจะเล่าให้ฟังต่อไปนี้ ทรงขับรถพระที่นั่งเอง ทั้งขาไปและกลับ แม้ระยะทางไกลเพียงไหน หรือเวลานานเท่าใด คงจะทราบกันอยู่แล้วว่า เวลาเสด็จพระราชดำเนินเป็นการส่วนพระองค์เพื่อเยี่ยมเยียนประชาชน พระบาทสมเด็จพะเจ้าอยู่หัวโปรดทรงขับรถยนต์ด้วยพระองค์เอง ผมได้เคยตามเสด็จทั้งในและนอกรถพระที่นั่งมาหลายต่อหลายครั้ง เป็นระยะทางทั้งใกล้และไกล ถนนเรียบบ้างขรุขระบ้างลุ่มดอนบ้าง ตามสภาพภูมิประเทศ บางครั้งเมื่อเสด็จถึงที่หมายแล้วทรงจอดรถพระที่นั่งและเสด็จฯ ลงไปประกอบพระราชกรณีกิจด้วยความตรากตรำพระวรกาย เช่น พระราชดำเนินเป็นระยะทางไกล และเป็นเวลาหลายชั่วโมง ขากลับนึกว่าจะทรงพักผ่อนพระวรกาย และให้นายสารถีทำหน้าที่ขับรถพระที่นั่งถวายก็เปล่า กลับทรงขับเองอีก โดยไม่ทรงแสดงพระอาการเหนื่อยหรือง่วง เจ้าหน้าที่ผู้ตามเสด็จนั้นพอกลับขึ้นไปบนรถก็ต้องผลัดกันทำหน้าที่ และผลัดกันหลับไปในรถเพราะความเหน็ดเหนื่อย…เสด็จพระราชดำเนิน เยี่ยมชาวไทยภูเขา ด้วยวิธีเดินขึ้น-ลงเขาเป็นระยะทางไกล…หลายปีมาแล้ว ตามเสด็จไปบ้านแม่สา ในอำเภอริม จังหวัดเชียงใหม่ บ้านแม่สานั้นเดี๋ยวนี้ใครๆ ก็รู้จัก เพราะได้กลายเห็น “แม่สาแวลลีย์” มีถนนชั้นหนึ่งเชื่อมกับโลกภายนอก และมีอาคารบ้านเรือนตลอดจน “รีสอร์ต” หรือที่พักตากอากาศทันสมัย โผล่ขึ้นมากมาย แต่แม่สาในสมัยที่ผมตามเสด็จเมื่อเกือบ 20 ปีมาแล้ว เป็นหมู่บ้านชาวเขาเผ่าม้งที่ยังไม่ได้รับการพัฒนาเวลาเสด็จฯ เยี่ยม ต้องเสด็จฯ โดยเฮลิคอปเตอร์ไปลงตรงที่เขาเตรียมไว้แล้วทรงพระราชดำเนินไปยังหมู่บ้านซึ่งอยู่บนไหล่เขาลูกถัดไป วันนั้นและปีนั้นมีรายการพิเศษ คือนอกจากเสด็จฯ เยี่ยมชาวเขาเผ่าม้งที่บ้านแม่สาแล้ว ยังทรงพระราชดำเนินลงไปยังเขา เพื่อทอดพระเนตรการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ตามพระราชดำริอีกด้วย ผู้ที่ตามเสด็จนอกจากเจ้าหน้าที่ฝ่ายที่เกี่ยวข้องแล้วก็มีผม มีพลโทดำรง สิกขมณฑล (รองสมุหราชองครักษ์ขณะนั้นเป็นนายทหารราชองครักษ์ประจำและดูเหมือนจะมียศเป็นพันโทอยู่) และพลโทเทียนชัย จั่นมุกดา หัวหน้าแผนกถวายความปลอดภัยของกรมราชองครักษ์(ขณะนั้นก็ดูเหมือนจะมียศเป็นพันโทอยู่เหมือนกัน) ตามเสด็จฯ ตามหน้าที่ด้วย ผมเป็นนายตำรวจประจำราชสำนัก ฉะนั้นจึงเดินนำอยู่ข้างหน้า เดินไปได้ครู่หนึ่ง ผมก็เห็นด้วยความวิตกว่า ทางเดินนั้นลาดลงไปตามไหล่เขาค่อนข้างชัน และเป็นระยะทางไกลลิบ ที่วิตกกันเพราะรู้ว่า เมื่อเสด็จพระราชกรณียกิจแล้ว จะต้องทรงพระราชดำเนินกลับ เป็นห่วงพระยุคลบาทก็ส่วนหนึ่ง อีกส่วนหนึ่งนั้นเป็นห่วงตัวเองว่าจะตามเสด็จไหวหรือ ขากลับก็ได้เรื่องจริงๆ คือพอเดินกลับขึ้นไปได้ไม่ถึงครึ่งลูกเขา ผมกำลังหอบและลากขาอยู่ด้วยความเหนื่อยใจจะขาด พระเจ้าอยู่หัวก็เสด็จพระราชดำเนินผ่านขึ้นไป ทรงก้าวยาวเนิบๆ และสม่ำเสมอ มีหม่อมเจ้า ภีศเดชผู้อำนวยการโครงการในพระองค์ ทรงพระดำเนินตามไปอีกพระองค์ หนึ่ง จนต่อมาอีกครู่หนึ่งเมื่อรู้ว่ามีกำลังบ้างแล้ว จึงกัดฟันออกเดินต่อไป เมื่อไปถึงบ้านแม่สานั้น เห็น พระเจ้าอยู่หัวทรงยืนอยู่กับหม่อมเจ้าภีศเดชและผู้อื่น อีกหลายคน ขณะที่เราผ่านไปได้ยินรับสั่งด้วย แต่ฟังพระราชกระแสไม่ถนัด (เพราะหูกำลังอื้อและตากำลังลายด้วย) และไม่มีใครกราบบังคมทูลตอบสักครู่หนึ่ง ผมจึงได้ยินท้ายพระสุรเสียงว่า “ยังพูดภาษาราชการไม่ได้”…
เรียบเรียงจากบทสัมภาษณ์ พลตำรวจเอก วสิษฐเดชกุญชร ในหนังสือ “สองธรรมราชา” ของ อัครวัฒน์ โอสถานุเคราะห์
30 “…การสร้างสรรค์แผ่นดินไทยให้เป็นแผ่นดินทอง
หรือการช่วยตัวเองในปัจจุบันนี้ เห็นว่าจำเป็นอย่างยิ่ง
ที่จะต้องทำความสงบให้เกิดขึ้นโดยเร็ว เพราะถ้าความไม่สงบยังไม่เกิด
เราจะคิดอ่านแก้ปัญหา หรือจะรวมกำลังกันทำการงานช่วยตัวเองหาได้ไม่…”
(พระบรมราโชวาท พระราชทานเพื่อเชิญไปอ่านในพิธีเปิดการประชุมยุวพุทธิกสมาคมทั่วประเทศ
ครั้งที่ ๑๘ ณ สถาบันพัฒนาข้าราชการพลเรือน สำนักงาน ก.พ. วันเสาร์ที่ ๓๑ มกราคม ๒๕๓๐)

ร้อย.ลว.ไกล๑พล.๑รอ.


พระคุณพ่อมากล้น ในพารา                                                                     ดวงจิตร้อยปวงประชา ซาบซึ้ง                                                         พสกนิกรทั้งหลายล้วนรวมหนึ่ง ราชา                                                 ภูมิพลราชกษัตรา สง่าล้ำ เลิศเทวัญ

ร้อย.ลว.ไกล๑พล.๑รอ.


พระบารมี มากล้น เหลือคณา ปกเกศเกล้า ชาวประชา สุขสันต์ ขอพระองค์ ทรงพระเจริญ 

ร้อย.ลว.ไกล๑พล.๑รอ.


ขอให้คุณพระศรีรัตนตรัยและสิ่งศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลายในโลกนี้จงดลบันดาลให้พระองค์ อายุยืนนาน สุขภาพแข็งแรง

ฝกบ.รพศ.4 พัน.2

ขอพระองค์ทรงพระเจริญยิ่งยืนนาน

ผธก.ศสพ.

พระองค์ทรงเป็นพ่อของแผ่นดิน

รร.สพศ.ศสพ.

คำปฏิญาณตนของทหารรักษาพระองค์ แด่พระบาทสมเด็จฯ พระเจ้าอยู่หัว ว่า" ขอเดชะฝ่าละอองธุลีพระบาทปกเกล้าปกกระหม่อม ข้าพระพุทธเจ้า..(ทหารทุกนายกล่าวยศ นามของตนเอง)ขอถวายคำสัตย์ปฏิญาณต่อใต้ ฝ่าละอองธุลีพระบาทว่า
ข้าพระพุทธเจ้า จักยอมตาย เพื่อรักษาไว้ซึ่งพระบรมเดชานุภาพแห่งพระมหากษัตริย์เจ้า
ข้าพระพุทธเจ้า จักจงรักภักดี และถวายความปลอดภัยต่อใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาทจนชีวิตหาไม่
ข้าพระพุทธเจ้า จักเชิดชู และรักษาไว้ ซึ่งเกียรติยศ เกียรติศักดิ์ของทหารรักษาพระองค์
ทั้งจักปฏิบัติตนให้เป็นที่ไว้วางพระราชหฤทัยต่อใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาท ทุกประการ"
ไม่ ว่าจะเหน็ดเหนื่อยลำบากกว่านี้สักเพียงใด แต่พอคิดถึงพระพักตร์ของในหลวงในวันนั้น ความเหนื่อยล้าของชีวิตทหารคอราบอย่างผมก็หายเป็นปลิดทิ้ง ผมภูมิใจในช่วงชีวิตหนึ่งที่ผมได้ตอบแทนพระมหากรุณาธิคุณของพระองค์ ได้เกิดมารับใช้ใต้เบื้องพระยุคลบาท 
“ถึงตัวตายวายชีวา จะขอเป็นข้าฝ่าพระบาททุกชาติไป”

รร.สพศ.ศสพ.

พ่อผู้หาคำเปรียบเทียบมิได้ ขอเทิดไท้พ่อหลวงของไทย พ่อหลวงผู้ทรงเป็นธรรม ประดุจล้ำศาลไคฟงผู้ทรงคุณธรรมเมื่อยามลูกทุกข์กายใจ  พ่อหลวงบรรเทาให้ทุกครา ขอจงทรงพระเจริญ

รร.สพศ.ศสพ.

ตามรอยเบื้องพระยุคลบาท จะขอเป็นข้าพระบาททุกชาติไป
รวมใจภักดิ์ รัก ในหลวง

รร.สพศ.ศสพ.

พระองค์ทรงงานหนักและเหนื่อย เพื่อให้ราษฎรของพระองค์ มีความร่มเย็นเป็นสุข

รร.สพศ.ศสพ.

พ่อหลวงของเรา ทรงานหนักมานานหลายปีแล้ว พวกเราทุกคนรักและเป็นห่วง
พระวรกาย และขอให้ท่านมีพระวรกายแข็งแรง อยู่เป็นที่พึ่งของปวงชวนชาวไทยตลอดไป

ร้อย.ปจว.4

ในหลวงของเราทรงเป็นมหาราชผู้ทรงธรรม ย่อมนำความเจริญร่มเย็นมาสู่ปวงชนชาวไทยผู้มีความจงรักภักดีอย่างแท้จริง 

รร.สพศ.ศสพ.

.โครงการตามแนวทางพระราชดำริ ในการพิทักษ์รักษ์ ธรรมชาติสำคัญยิ่ง เพราะหากธรรมชาติไม่สมดุล อาจจะก่อให้เกิดภัยพิบัติกับโลกอย่างใหญ่หลวง จนไม่มีสรรพสิ่งใด ๆ หลงเหลืออยู่อีกเลย

ร้อย.ลว.ไกล๑พล.๑รอ.


จากความแห้งแล้งกลับกลายมาชุ่มชื้น จากผืนทรายกลับกลายเป็นดินดี ด้วยพระบารมีของทั้ง ๒ พระองค์

ร้อย.ลว.ไกล๑พล.๑รอ.


กราบขอพรสิ่งศักดิ์สิทธิ์ทั่วทุกชั้นฟ้า                                                  อภิบาลปกปักรักษาคุ้มครอง องค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

ร้อย.ลว.ไกล๑พล.๑รอ.


เย็นศิระ เพราะพระบริบาล                                                             เย็นทั่วหล้า ด้วยพระบารมี

Webboardแสดงความคิดเห็น
เยี่ยม   แย่   แย่   แย่   เขิน   หยอกล้อ  ตกใจ  ร้องไห้   สงสัย   ขอโทษ   หดหู่   อย่าน่ะ   ต่อว่า   โอเค
*ชื่อ
*สถานะ  
*อีเมล
ลิงค์ที่เกี่ยวข้อง
*รหัสยืนยัน

หมายเหตุ : : กรุณากรอกข้อมูลที่มี * ทุกช่อง

view

 กองทัพบก

 ยศ.ทบ.

กองอนุศาสนาจารย์ ยศ.ทบ.

ศูนย์การเรียนรู้ มทบ.๑๕

ฝอศจ.จทบ.ร.บ.

view