http://mc15chap.igetweb.com
สร้างเว็บไซต์Engine by iGetWeb.com

 หน้าแรก

 ทำเนียบ อศจ.ทบ.

 ผู้บังคับบัญชา

 ทำเนียบ อศจ.มทบ.๑๕

ภารกิจ

ประวัติอนุศาสนาจารย์

ผู้ดูแลระบบ

ปฎิทิน

« May 2024»
SMTWTFS
   1234
567891011
12131415161718
19202122232425
262728293031 

ภาพกิจกรรม

คุณธรรมสำหรับทหารใหม่

นานาสาระน่ารู้

อดีตกาลของชีวิต

สถิติ

เปิดเว็บ04/08/2009
อัพเดท15/03/2019
ผู้เข้าชม1,013,550
เปิดเพจ1,769,292
iGetWeb.com
AdsOne.com

โพสข้อความเทิดทูน กรมทหารช่างที่ ๓

(อ่าน 28262/ ตอบ 4194)

กรมทหารช่างที่ ๓


ร้อย.ลว.ไกล๑พล.๑รอ.


ทรงเป็นทุกลมหายใจ ของปวงประชาราษฎร ขอจงทรงพระเจริญยิ่งยืนนาน

ร้อย.ลว.ไกล๑พล.๑รอ.


ขอพระมหาราชทรงมีพระชนมายุยิ่งยืนนานทรงพระเจริญ

ร้อย.ลว.ไกล๑พล.๑รอ.


หยาดเหงื่อพ่อไหลรินรดแผ่นดินไทยทั่วหล้า หยาดเหงื่อซับน้ำตาชาวประชาทั้งแผ่นดิน หยาดเหงื่อที่ไหลรินล้วนแต่สิ้นพระเมตตา ราดรดทั่วพาราชาวประชาได้ร่มเย็น

ผธก.ศสพ.

ความจงรักภักดีต่อชาตินั้น คือความสำนึกตระหนักในคุณของแผ่นอันเป็นที่เกิด

ร้อย.ปจว.4

 ทรงพระปรีชาสามารถหาที่สุดมิได้ ขอจงทรงพระเจริญยิ่งยืนนาน

ร้อย.ลว.ไกล๑พล.๑รอ.



กราบขอพรสิ่งศักดิ์สิทธิ์ทั่วทุกชั้นฟ้า อภิบาลปกปักรักษาคุ้มครององค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว


พระชนม์มายุยิ่งยืนนาน พระพลานามัยสมบูรณ์แข็งแรงตราบนานเท่านาน ขอพระองค์ทรงพระเจริญ

ร้อย.ลว.ไกล๑พล.๑รอ.


เทิดพระองค์ ทรงบิดา ประชาชาติ ประมุขศาสตร์ ศิลปิน            


ปิ่นสง่า ภูมิพลล้นเกล้า ชาวประชา ไทยทั่วหน้า ขอพระองค์ ทรงพระเจริญ

ร้อย.ลว.ไกล๑พล.๑รอ.


ขอพระองค์จงทรงพระเจริญ ขออัญเชิญเทพไท้ในสวรรค์  


มาอำนวยอวยพรให้พร้อมกัน ทุกคืนวันปราศจากโรคพิษ

กสท.

1 “น้ำท่วม”หรือ“ฝนแล้ง”คุณจะนึกถึงใคร
หลายภาพที่ติดอยู่ในห้องนอนของผม ช่วงที่เรียนมัธยมนั้นส่วนใหญ่มาจากความนิยมชมชอบตามประสาวัยรุ่น แต่พอผมอยู่มหาวิทยาลัยภาพพวกนี้ก็ถูกปลดออกไป เพราะโตขึ้นเริ่มรู้อะไรดีขึ้น เริ่มรู้ว่าอะไรควรทำ อะไรไม่ควรทำ
ส่วนภาพที่เหลืออยู่และติดตัวผมมาตลอดชีวิต ไม่ว่าจะย้ายบ้านไปไหนคือ “ภาพในหลวง” ซึ่งปัจจุบันภาพจางแทบจะมองไม่เห็น เพราะเป็นภาพตัดมาจากหนังสือพิมพ์ นำมาใส่กรอบกระจก และมันผ่านวันเวลามาเกือบ 50 ปีแล้ว แต่ก็เป็นเครื่องเตือนใจที่ดีสำหรับผมให้รู้จักทำแต่ความดีเท่าที่ความสามารถจะทำได้ครับ
ตลอดช่วงชีวิตที่ผมเติบโตมาเรื่อยๆ นั้นเป็นห้วงเวลาที่ในหลวงทรงงานอย่างหนักเพื่อประชาชนของพระองค์ ท่ามกลางวิกฤติการณ์ของชาตินานาประการ ทั้งภายในและนอกประเทศ ผมจึงเห็นและเข้าใจดีว่า “ในหลวง” ท่านทรงห่วงประชาชนของท่านมากมายขนาดไหนครับ
นอกจากนั้นพระองค์ก็ยังทรงเป็นแบบอย่างนำเรื่อง “ความพอเพียงในการดำรงชีวิต”ถ่ายทอดมาสู่ประชาชน ถ้าสังเกตให้ดีจะพบว่า ในหลวงไม่ทรงเคยใช้ “ประชานิยม” เลยครับ พระองค์ไม่เคยพระราชทานเงินแก่ราษฎรโดยตรง แต่พระราชทาน “น้ำ”, ถนนหนทาง, ไฟฟ้า, โรงพยาบาล, วิธีปลูกข้าว และพืชพันธุ์ต่างๆ พระราชทานวิธีที่จะมีชีวิตอยู่ในพื้นที่ที่แห้งแล้ง หรือดินเค็มได้ จนเป็นที่มาของคำว่า “พ่อค้าให้ปลา พระราชาให้เบ็ด”
สิ่งสำคัญที่สุดคือการที่ประชาชนที่คิดเป็น ทำเป็น และช่วยเหลือตัวเองได้นั้น จะทำให้ประเทศชาติได้ประชาชนที่มีคุณภาพต่อไปในอนาคตควบคู่ไป
บางคนเกิดมาช้าเกินไปที่จะรู้ว่าประเทศชาติบ้านเมืองที่อยู่สงบ มีฐานะทางเศรษฐกิจที่มั่นคงมาถึงทุกวันนี้เพราะใคร คนที่เกิดมาช้าไปจึงแบ่งออกเป็น 2 พวกใหญ่คือ (1) พวกที่พ่อแม่สั่งสอนมาดี และ (2) พวกที่พ่อแม่ไม่ได้สั่งสอน หรือสอนแล้วไม่จำ คนจำพวกหลังนี้แม้จะมีจำนวนน้อยมากๆ ในสังคมไทย แต่ก็สามารถทำให้ชาติล่มจมได้ เนื่องจากไม่เข้าใจถึงหน้าที่ของตนเองต่อส่วนรวม ซึ่งจะต้องมีต่อประเทศชาติ แล้วยังคิดจะเอาแต่เรื่องของตัวเองมาเป็นใหญ่เพียงอย่างเดียว
จึงทำให้คนกลุ่มนี้ไม่ค่อยเข้าใจต่อความสำคัญของการมี “สถาบันพระมหากษัตริย์” มากนัก ในขณะที่ทุกประเทศที่เคยมีสถาบันพระมหากษัตริย์อยู่แล้วแต่สูญหายไป กำลังโหยหาอยากได้ “สถาบันกษัตริย์” กลับคืนมา เพราะพบว่า “ลัทธิทางการเมืองอะไรก็ตาม”ไม่สามารถยึดโยงประชาชนไว้ด้วยกันเหมือนกับการมีสถาบันพระมหากษัตริย์อยู่
สถาบันพระมหากษัตริย์ของไทยนั้น เป็นสถาบันสำคัญที่อยู่เคียงคู่กับความเป็น “คนไทย และประเทศไทย” มาตั้งแต่โบราณจนถึงปัจจุบัน
ทั้งนี้เพราะสถาบันพระมหากษัตริย์ของไทยมีคุณลักษณะพิเศษ เริ่มตั้งแต่ความสัมพันธ์ของสถาบันกับประชาชน ที่มีลักษณะสืบทอดมาจากรากฐานการปกครองแบบ “พ่อกับลูก” ไม่ใช่แบบ “เจ้าของที่ดินกับผู้อาศัย” หรือแบบ “พระเจ้ากับผู้ที่มาพึ่งพา” หรือแบบ “ผู้นำเป็นเจ้าของทุกอย่าง” การปกครองแบบพ่อกับลูกในอดีต ซึ่งมีทั้งการปกป้อง, การให้ความรัก, การร่วมทุกข์ร่วมสุข และร่วมคิดกับราษฎรอย่างใกล้ชิด จนสืบทอดมาถึงในหลวงองค์ปัจจุบันนี้ ที่นอกจากทรงดูแลพสกนิกรดังกล่าวแล้ว พระองค์ยังทรงวางแบบอย่างที่สำคัญต่อประเทศไทยอีกหลายประการ เช่น
(1) การใช้ “ความพอเพียง” ในการดำรงชีวิต
(2) การทำให้ราษฎร “คิดเป็น ทำเป็น” เพื่อให้ประชาชนของพระองค์ไม่ว่าจะเป็นคนยากจน หรือร่ำรวย สามารถมีชีวิตอยู่ได้อย่างมีศักดิ์ศรี
(3) การเป็นสัญลักษณ์ที่มีเกียรติและมีศักดิ์ศรีของชาติไทย
เพียง 3 ประการนี้ ก็เพียงพอแล้ว สำหรับคนที่มีเหตุ มีผล คนที่มีพ่อแม่ ปู่ย่าตายายสั่งสอนมา จะรู้ได้ด้วยตนเองว่า “ทำไมเราต้องรักในหลวง”
เวลาที่ “ฝนแล้ง” หรือ “น้ำท่วม” คุณจะนึกถึงใครครับ ถ้าไม่ใช่ “ในหลวง” ที่ทรงเฝ้าติดตามสถานการณ์ของชาติ ที่จะส่งผลกระทบต่อประชาชนของพระองค์อยู่ตลอดเวลา ทรงรู้กระทั่งคลองไหนในกรุงเทพฯ และปริมณฑล ซึ่งเป็นเส้นทางถ่ายเทน้ำว่ามีขยะหรือผักตบชวาอุดตันอยู่
ขอจงทรงพระเจริญยิ่งยืนนาน
2 ทุกคนนึกถึงในหลวงครับ
3 มิ่งขวัญ
ทรงเป็นพระมิ่งขวัญแห่งทวยราษฎร์
ข้าพระบาทกลั่นอักษรกลอนถวาย
เทิดพระเกียรติสักการะด้วยดวงใจ
ขอทรงให้”สุขสำราญ”ชั่วกาลเทอญ
4 “ในหลวงทรงคิดแก้ปัญหาน้ำไว้รอบด้าน”
กล่าวได้ว่าองค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเป็นหนึ่งในพระมหากษัตริย์ที่ทรง เปี่ยมไปด้วยพระอัจฉริยภาพหลากหลายด้าน แม้แต่เรื่องน้ำและปัญหาอุทกภัยที่คนไทยกำลังประสบอยู่ในขณะนี้
พระองค์ก็ทรงวางแนวทางในการป้องกันและแก้ไขมานานนับสิบปีแล้ว มีโครงการในพระราชดำริออกมามากมาย เพียงแต่ฝ่ายบริหารและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้น้อมนำไปปฏิบัติหรือไม่ เท่านั้น ?
ผู้เชี่ยวชาญด้านน้ำอย่าง ‘ปราโมทย์ ไม้กลัด‘ อดีต อธิบดีกรมชลประทาน อดีตผู้อำนวยการสำนักงานคณะกรรมการทรัพยากรน้ำแห่งชาติ และคณะกรรมการบริหารโครงการพัฒนาลุ่มน้ำป่าสัก อันเนื่องมาจากพระราชดำริ ซึ่งได้ติดตามถวายงานพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมานานนับสิบปี
ได้ถ่ายทอดถึงพระอัจฉริยภาพของพระองค์ท่านในการทรงงานด้านน้ำในหลากหลายแง่มุม อันนำมาซึ่งความปลาบปลื้มใจของคนไทยที่อยู่ภายใต้ร่มพระบรมโพธิสมภาร
**ไม่ทราบว่าอาจารย์ได้มาทำงานเรื่องน้ำถวายพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวตั้งแต่เมื่อไร
คือผมทำงานอยู่กรมชลประทาน และได้ไปทำงานถวายพระองค์ท่านตั้งแต่ 2520 ผมทำงานเป็นวิศวกรพิจารณาโครงการสนองพระราชดำริ ตอนนั้นก็ยังเดินตามหลังนายช่างใหญ่ ตามหลังอธิบดี จนกระทั่ง 2527 ก็ได้ทำงานในโครงการพระราชดำริในฐานะผู้แทนของกรมชลประทานอย่างเต็มตัว
**เหตุใดพระองค์จึงสนพระราชหฤทัยเรื่องน้ำเป็นพิเศษ
ปัญหาเรื่องน้ำเป็นเรื่องที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงสนพระราช หฤทัยมากที่สุด เนื่องจากราษฎรไทยส่วนใหญ่เป็นเกษตรกรซึ่งเป็นอาชีพที่ต้อง พึ่งพาน้ำ ไม่ว่าจะเป็นพื้นที่ในภาคเหนือ อีสาน กลาง ใต้
เพราะฉะนั้นพระองค์จึงมุ่งมั่นที่จะทรงงานเพื่อแก้ไขปัญหาเรื่องน้ำ พระองค์ท่านทรงมีพระอัจฉริยภาพในเรื่องการบริหารจัดการน้ำอย่างมาก ซึ่งกระบวนการการทรงงานจากที่ผมได้ติดตามพระองค์ท่านมาโดยตลอดก็จะเห็นว่า พระองค์ทรงงานแก้ไขปัญหาเรื่องน้ำใน 3 ด้านด้วยกัน คือ
การแก้ปัญหาเรื่องการขาดแคลนน้ำ ซึ่งพระองค์ท่านจะมุ่งไปในจุดที่การทำงานของรัฐบาลเข้าไปไม่ถึง ในพื้นที่ชนบทที่ห่างไกล แร้นแค้น เพราะพระองค์ท่านได้รับทราบปัญหาจากฎีกา หรือจดหมายร้องทุกข์ของประชาชนที่ส่งมาถึงพระองค์ท่าน
การแก้ปัญหาของพระองค์ก็จะยึดหลักการที่สอดคล้องกับสภาพธรรมชาติ อย่างหลักการเรื่องวิศวกรรมน้ำ พระองค์ก็จะดูว่าถ้าผืนดินแห้งตรงนี้ควรทำอะไร ถ้าผันน้ำจากธรรมชาติควรทำอย่างไร รูปแบบที่จะดำเนินงานก็จะเป็นการผสานระหว่างหลักการทางเทคนิคและหลัก ธรรมชาติของน้ำ
การปัญหาน้ำท่วม ซึ่งไม่ว่าจะเกิดน้ำท่วมในภาคเหนือ กลาง อีสาน ใต้ พระองค์ก็จะเสด็จพระราชดำเนินลงไปในพื้นที่เพื่อทอดพระเนตรปัญหา ทรงช่วยรัฐบาลแก้ปัญหา
พระองค์ก็จะเรียกประชุมผู้เกี่ยวข้องเพื่อรับฟังข้อมูลและระดมความเห็น หามาตรการแก้ปัญหาภายใต้โครงการบรรเทาอุทกภัยอันเนื่องมาจากพระราชดำริ คือฝ่ายรัฐบาลเขาก็ว่าของเขาไป ขณะที่พระองค์ก็มุ่งลงไปในพื้นที่ซึ่งเกิดน้ำป่าไหลหลาก แผ่นดินถล่ม ย่านเศรษฐกิจในตัวเมืองที่ได้รับผลกระทบ
การแก้ปัญหาเรื่องคุณภาพน้ำ ไม่ว่าจะเป็น น้ำเสีย หรือน้ำเค็ม น้ำกร่อย สำหรับการแก้ไขปัญหาน้ำเน่าเสียนั้นพระองค์ท่านก็ทรงศึกษาทดลองในหลายลักษณะ
เช่น โครงการบึงมักกะสัน ซึ่งเป็นการปรับปรุงคุณภาพน้ำในบึงซึ่งมีการเน่าเสียโดยใช้ ‘เครื่องกรองน้ำธรรมชาติ’’ คือผักตบชวาเป็นตัวกรอง , โครงการบึงพระราม 9 ซึ่งบำบัดน้ำเสียด้วยวิธีใช้เครื่องเติมอากาศ แบบทุ่นลอย
นอกจากนั้นยังมีโครงการที่เรารู้จักกันดีคือกังหันน้ำชัยพัฒนา ซึ่งพระองค์ทรงประดิษฐ์คิดค้นเครื่องมืออุปกรณ์แบบง่ายๆในการบำบัดน้ำเสีย โดยใช้หลักการตีน้ำเพื่อเติมอากาศ
ส่วนการแก้ปัญหาน้ำเค็ม- น้ำกร่อยนั้นคนทั่วไปอาจไม่รู้ว่าพระเจ้าอยู่หัวทรงศึกษาและทำโครงการแก้ไข ปัญหาน้ำในลักษณะนี้ด้วย โครงการนี้เกิดจากการที่พระองค์ทรงเป็นห่วงราษฎรว่า ถ้าน้ำเค็มน้ำกร่อยไหล เข้าไปในพื้นที่การเกษตร ในเรือกสวนไร่นาจะทำอย่างไร
พระองค์จึงโปรดให้ดำเนินโครงการพัฒนาลุ่มน้ำขึ้น เช่น โครงการพัฒนาพื้นที่ลุ่มน้ำปากพนัง ที่จังหวัดนครศรีธรรมราช ซึ่งเป็นโครงการใหญ่ มีการสร้างประตูบังคับน้ำกั้นแม่น้ำปากพนังเพื่อกักน้ำจืดไว้และกันน้ำทะเล ไม่ให้เข้ามา หรือโครงการพัฒนาลุ่มน้ำบางนรา จ.นราธิวาส ซึ่งใช้หลักการเดียวกัน
**พระองค์ทรงคิดแก้ปัญหาน้ำไว้รอบด้าน
ใช่ครับ น้ำน้อย น้ำไม่มี พระองค์ก็ทรงหาน้ำให้ น้ำมากเกินไปจนเกิดอุทกภัยก็เกิดโครงการนั้นโครงการนี้ขึ้นมา อย่างกรุงเทพมหานครก็มีโครงการในพระราชดำริของพระองค์ท่านเยอะ
ในภาคใต้ อย่างหาดใหญ่ นครศรีธรรมราช ซึ่งเกิดน้ำป่าไหลหลาก พระองค์ก็ทำโครงการเพื่อแก้ปัญหา พื้นพี่ไหนเกิดปัญหาเรื่องคุณภาพน้ำ ไม่ว่าจะเป็น น้ำเน่าเสีย น้ำเค็ม น้ำกร่อย ก็ทรงคิดหาวิธีแก้ปัญหาให้
** หลายๆ ครั้ง พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวก็เสด็จพระราชดำเนินลงไปดูพื้นที่น้ำท่วมด้วยพระองค์เอง
ใช่ เกิดปัญหาที่ไหนพระองค์จะเสด็จลงไปเลย สมัยที่พระองค์ยังทรงมีพระพลานามัยแข็งแรงพระองค์ท่านจะเสด็จไปยังพื้นที่ เลย อย่างๆน้อยก็ต้องทอดพระเนตรพื้นที่น้ำท่วม ทรงลงไปดูปัญหา ไปให้กำลังใจผู้ปฏิบัติงาน
หลังจากนั้นก็จะทรงปรึกษากับวิศวกรน้ำ กับข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ว่าจะทำอย่างไรกัน ทรงเรียกประชุม ให้เอาภาพถ่ายดาวเทียมมา ภาพถ่ายทางอากาศมา เอาข้อมูลมา วิเคราะห์กันว่าจะทำยังไง
พระองค์ท่านเสด็จไปทุกพื้นที่ แต่ถ้าไกลมากพระองค์ก็อาจจะเสด็จไปไม่ไหว ก็จะทรงเรียกเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องมาถวายรายงานและทรงแนะนำแนวทางปฏิบัติ คือพระองค์ทรงติดตามข้อมูลต่างๆทั้งในเชิงสังคม สิ่งแวดล้อม และเชิงเศรษฐกิจ จึงทรงมองปัญหาต่างๆ อย่างทะลุปรุโปร่ง
**เท่าที่อาจารย์ติดตามถวายงานพระองค์ท่านในการแก้ปัญหาน้ำท่วม มีเหตุการณ์ใหญ่ๆ เกิดขึ้นกี่ครั้ง
ก็จะมีน้ำท่วมใหญ่ในกรุงเทพฯเมื่อปี 2526 ตอนนั้นพื้นที่กรุงเทพฯและปริมณฑลยังอยู่กันแบบธรรมชาติ ไม่มีสิ่งปลูกสร้างมาก เมื่อเกิดน้ำท่วมก็ไม่มีอะไรมากีดขวาง น้ำก็ไหลไปตามธรรมชาติ คลองต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นคลองบางเขน คลองบางซื่อ คลองลาดพร้าว คลองแสนแสบ ก็รับน้ำจากแม่น้ำเจ้าพระยา
ตอนนั้นอยู่กันแบบเอ้าท่วมก็ท่วม พระองค์ท่านก็ทรงเสด็จไปดุสภาพพื้นที่เพื่อให้กำลังใจคนทำงานถึง 6-7 ครั้ง
ต่อมาปี 2538 ซึ่งเกิดน้ำท่วมใหญ่ที่กรุงเทพฯ เป็นปีที่เกิดโกลาหลมากที่สุดเพราะน้ำมวลใหญ่มันมา แต่ด้วยพระอัจฉริยภาพของพระองค์ท่าน พระองค์ทรงเรียกประชุมก่อนที่น้ำมวลใหญ่จะมาถึง
ตอนนั้นน้ำใหญ่มันก็มาโจมตีเยอะแต่ความเสียหายมันไม่มากเหมือนในปีนี้ ตอนนั้นสนามบินสุวรรณภูมิยังไม่มี น้ำท่วมยังกับทะเลเลย แต่กรีนเบลต์ ฟลัดเวย์ ยังทำงานได้ น้ำระบายออกได้ตามธรรมชาติ ไม่มีใครไปห้าม ก็สูบน้ำออกอ่าวไทยกันโกลาหล สูบออกตามแนวฟลัดเวย์ เขตเศรษฐกิจก็โกลาหลพอสมควรแต่ก็ป้องกันได้ น้ำไม่ทะลุสนามบินดอนเมือง ไม่ทะลุถนนวิภาวดี ไม่ทะลุลาดพร้าวหรอก
ตอนนั้นถนนราชชนนี ถนนรัชดาภิเษกมีน้ำท่วม ก็วิ่งรถฝ่าน้ำท่วมกัน คลองมหาสวัสดิ์ก็น้ำท่วมสูงต้องทำคันกั้นน้ำฉุกเฉินที่วัดบูรณาวาส ก็ไปช่วยกัน แต่ปีนั้นสถานการณ์ก็คลี่คลายไป มันไม่โกลาหลเท่าปี 2554
ปัจจุบันมันมีสิ่งปลูกสร้างเยอะ หมู่บ้านจัดสรร อะไรต่างๆเกิดขึ้นเยอะ แต่ปีนี้พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวท่านไม่ได้ทรงเข้ามาเกี่ยวข้องเพราะพระพลานามัยไม่ค่อยแข็งแรงเหมือนเมื่อก่อน
น้ำท่วมใหญ่ภาคใต้เมื่อปี 2531 ตอนนั้นน้ำท่วมหาดใหญ่ พระองค์ทรงเรียกเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องมาประชุมด่วน แล้วก็ทรงบัญชาการ วางแนวทาง พวกเราก็วิ่งกันวุ่นเลย คือพระองค์ทรงติดตามข้อมูลอยู่ตลอดเวลา ทรงคาดหมายเหตุการณ์ข้างหน้าได้ ทรงเห็นว่าจะเกิดอะไรขึ้นตั้งแต่น้ำยังไม่ลงมาเลย
พวกเราที่เป็นข้าราชการซึ่งรับใช้ถวายงานพระองค์ท่านก็ต้องตื่นตัว หาข้อมูล และถวายรายงานพระองค์ท่านตลอด หรือแม้แต่ภัยที่มันเกิดแล้วพระองค์ท่านก็ทรงคาดหมายถึงผลกระทบที่ตามมาได้ พระองค์ทรงเป็นนักคิดนักวิเคราะห์
พระราชดำรัสที่พระองค์พระราชทานก็เป็นหลักคิดที่รัฐบาลหรือบุคคลที่ เกี่ยวข้องต้องนำไปขบคิดและขับเคลื่อน
**จากที่อาจารย์ได้ติดตามถวายงานพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมานาน ได้เห็นความเหนื่อยยากของพระองค์อย่างไรบ้าง
ภาพที่เหล่าข้าราชบริพารและข้าราชการที่ถวายงานรับใช้พระองค์ท่านพบ เห็นมาโดยตลอดก็คือพระองค์ท่านทรงมุ่งที่จะทำงานเพื่อแก้ไขปัญหาให้กับ ประชาชน
โดยเฉพาะประชาชนที่อยู่ในชนบท พระองค์ท่านมักเสด็จไปประทับตามภูมิภาคต่างๆ คราวละหลายๆเดือน เสด็จพระราชดำเนินทั้งปี เสด็จออกแถบทุกวัน เสด็จไปเยี่ยมเยียนประชาชน พระราชทานสิ่งของ พระราชทานโครงการ พระราชทานงาน
ความยากลำบากของพระองค์ท่านนี่ไม่น้อยหรอกครับ เสด็จออกไปในชนบทนี่ไม่มีสบาย ทรงเสียสละพระวรกายทรงงานด้วยความเหนื่อยยาก แต่ว่าพระองค์ท่านไม่ได้คำนึกถึงความเหนื่อยยากเหล่านี้เลย กลับทรงสนุกกับการทรงงานเพื่อช่วยเหลือประชาชน
พระองค์ท่านมักจะรับสั่งว่า “ฉันสนุกกับการทำงาน” พระองค์ท่านไม่เคยตรัสว่าเหนื่อย แต่ภาพที่พวกเราเห็นอยู่เสมอเวลาที่พระองค์ทรงงานก็คือพระเสโท(เหงื่อ)ที่ ชุ่มโชกฉลองพระองค์
คือทรงเสด็จไปทุกภาค ทุกพื้นที่ เป็นเวลานับสิบๆปี ไม่เคยทรงเบื่อหน่าย พระองค์ทรงงานเพื่อประชาชน ไม่ได้ทำเพื่อพระองค์เอง แล้วก็ไม่เคยไปเกี่ยวข้องวอแวกับรัฐบาล มีแต่ทรงงานเพื่อช่วยรัฐบาล
**หลายครั้งประชาชนก็ได้เห็นภาพพระองค์ท่านเสด็จลงลุยน้ำด้วยพระองค์เอง
ใช่ครับ ไม่ว่าเหตุการณ์จะเป็นอย่างไร สภาพธรรมชาติจะเลวร้ายหรือมีอุปสรรคต่างๆพระองค์ท่านก็ไม่ทรงรังเกียจ น้ำท่วม ร้อนแล้ง พระองค์ท่านก็ทรงบุกไปทุกที่ เสด็จขึ้นดอย ในชนบทห่างไกลก็ทรงเสด็จไปเสมอ
พระกระยาหารที่พระองค์เสวย ขณะเสด็จลงพื้นที่ก็จะเป็นอะไรที่ง่ายๆ พระองค์เสวยง่าย ไม่ได้ยึดว่าจะต้องเป็นแบบไหน เวลาเสด็จลงพื้นที่ก็มักจะมีพระกระยาหารใส่กล่องไว้ในรถยนต์พระที่นั่ง
เวลาทรงงานกระทั่งดึก ถึงทุ่ม 2 ทุ่ม ก็จะเสวยแบบนี้ เจ้าหน้าที่จะก็เตรียมเครื่องเสวยไป ก็จะเป็นแบบง่ายๆ ผมเองสนองงานรับใช้พระองค์ท่านก็ได้มีโอกาสได้ร่วมโต๊ะเสวยกับพระองค์ท่าน บ่อยๆ อาหารที่พระองค์ท่านเสวยก็เป็นอาหารปกติเหมือนที่พวกเรากินกันนี่แหล่ะ ส่วนใหญ่จะเป็นอาหารไทย เป็นแกงเผ็ด แกงจืด ผัดผัก แล้วอาจจะมีอาหารตามประเพณีฝรั่งบ้าง
**ช่วงที่พระองค์ท่านทรงงาน ทรงพระประชวรบ้างไหม
ก็มีทรงพระประชวรเป็นคราวๆ แต่ในสมัยนั้นพระพลานามัยยังแข็งแรง แต่มาระยะหลัง ตั้งแต่ 2542 เป็นต้นมา พระพลานามัยของพระองค์ท่านไม่สู้แข็งแรง แล้วก็ทรงพระประชวรบ่อย อย่างที่เรารับรู้รับทราบกัน เพราะว่าพระองค์ทรงงานหนักมาตลอดพระชนม์ชีพ ไม่ได้ทะนุถนอมพระวรกาย ทรงใช้พระวรกายอย่างหนัก
**ขณะนี้พระองค์ทรงประชวรและประทับรักษาพระวรกายอยู่ที่โรงพยาบาลศิริราช แต่ก็ยังเสด็จลงมาทอดพระเนตรปริมาณน้ำที่ท่าน้ำศิริราชอยู่
คือพระองค์ทรงเป็นห่วงเกี่ยวกับสถานการณ์น้ำในขณะนี้ ทรงเป็นห่วงประชาชนที่กำลังเผชิญกับวิกฤตน้ำท่วม พร้อมทั้งได้พระราชทานถุงยังชีพ เพื่อช่วยเหลือประชาชนที่ประสบภัยในพื้นที่ต่างๆ อย่างต่อเนื่อง แม้พระองค์จะทรงงานไม่ไหว แต่ก็ยังทรงนึกถึงประชาชนของพระองค์อยู่ตลอดเวลา
**จากที่ทำงานรับใช้พระองค์ท่าน อาจารย์ประทับใจพระองค์ท่านในเรื่องใดบ้าง
ในชีวิตที่ทำงานถวายพระองค์ท่านก็มีความประทับใจเกิดขึ้นมากมาย คือได้เห็นพระองค์ท่านทรงงานตลอดเวลา ทรงเป็นแบบอย่างที่คนไทยควรน้อมนำมาเป็นต้นแบบ
พระองค์ทรงงานมาตั้งแต่ขึ้นครองราชย์จนถึงปัจจุบัน ไม่เคยทรงหยุดพัก ทรงงานตลอดเวลาเพื่ออาณาประชาราษฎร์ ทำให้ผมเองระลึกอยู่เสมอว่าผมเป็นข้าราชการคนหนึ่งที่ทำงานถวายพระราชา เราก็ต้องมีหน้าที่ทำงานอย่างเต็มที่ แล้วก็ดูพระองค์ท่านเป็นตัวอย่าง
ประการที่สอง พระองค์ทรงเป็นนักคิด ทรงคิดตลอดว่าจะทำโน่นทำนี่ แล้วก็รับสั่งออกมาเป็นโครงการพระราชดำริ แล้วก็ทรงขยัน ทรงรู้รอบ รอบรู้ ทั้งในเชิงวิชาการ เชิงเทคนิค ทรงรู้ทุกเรื่อง อย่างผมก็รู้แค่เรื่องน้ำ
แต่พระองค์ท่านทรงรู้ทุกเรื่อง เรื่องน้ำ เรื่องอากาศ เรื่องฝนเทียม แม้แต่เรื่องสังคม ปรัชญา ภาษาศาสตร์ ทรงรอบรู้หมด ผมจึงเทิดทูนพระองค์ท่านว่าทรงเป็นปราชญ์ และทั้งๆ ที่พระองค์ทรงเป็นพระมหากษัตริย์แต่ว่าพระองค์กลับทรงอ่อนน้อมถ่อมพระองค์ ไม่ทรงถือพระองค์เลย
เวลาเสด็จพระราชดำเนินไปเยี่ยมเยียนประชาชนก็ทรงตรัสกับประชาชนอย่างเป็นกันเองมาก ทรงน้อมพระองค์เข้าไปหาชาวบ้านที่มารับเสด็จ พระราชจริยวัตรของพระองค์ดูนุ่มนวล เปี่ยมไปด้วยพระเมตตา
เราก็มานึกถึงข้าราชการบางคนที่ไม่ได้เรื่องเลย ชอบวางตัวเป็นเจ้าขุนมูลนาย อย่างนี้ใช้ไม่ได้
**มีพระบรมราโชวาทใดบ้างที่ทำให้อาจารย์จดจำมาถึงทุกวันนี้
เยอะมากครับ โดยเฉพาะเรื่องของการทำงาน มีพระราชดำรัสของพระองค์ท่านที่ติดตรึงอยู่ในใจตลอดมาคือ พระกระแสรับสั่งซึ่งพระองค์ท่านรับสั่งกับผมและผู้บังคับบัญชาของผมโดยตรง เลย คือ “นักพัฒนาต้องทำงานแบบปิดทองหลังพระ” คือให้เรามุ่งทำงานอย่างทุ่มเท อย่าทำงานเพื่อหวังประโยชน์ หวังรางวัล เพราะถ้าทำงานเพื่อหวังประโยชน์มันก็จะต้องมองหน้ามองหลัง ซึ่งข้าราชการส่วนใหญ่เป็นแบบนี้
นอกจากนั้นพระองค์ก็ทรงมีพระบรมราโชวาทต่อมาว่า “ข้าราชการต้องทำหน้าที่เพื่อหน้าที่ หากทำหน้าที่ได้สำเร็จจะเป็นรางวัลอันประเสริฐ” ซึ่งชั่วชีวิตการทำงานของผมก็ยึดถือสิ่งนี้มาตลอด
และทุกครั้งที่พระองค์ท่านทรงงานเสร็จและเสด็จพระราชดำเนินกลับ พระองค์จะรับสั่งกับข้าราชบริพารและข้าราชการที่ตามเสด็จอยู่เสมอว่า “คิดให้ดี คิดให้ละเอียด คิดให้รอบคอบ หากคุ้มก็ทำ” คำว่าคุ้มของพระองค์ท่านไม่ได้หมายถึงความคุ้มค่าในเชิงเศรษฐศาสตร์นะครับ แต่หมายถึงคุ้มค่าต่อประชาชน ทำไปแล้วเกิดประโยชน์ต่อประชาชนก็ถือว่าคุ้ม ตรงนี้เป็นพระราชดำรัสที่ผมระลึกอยู่เสมอเวลาทำงาน ทำให้เรามีสติ จะทำอะไรก็ต้องศึกษาให้ละเอียด และเอาประโยชน์ของประชาชนเป็นที่ตั้ง
เห็นได้ชัดว่าในใจของพระองค์ท่านมีแต่คำว่า ‘ประชาชน‘
พระองค์ทรงงานอย่างหนักมาตลอดพระชนม์ชีพ
ก็เพื่อประโยชน์สุขของประชาชน
นี่ คือ ในหลวงของปวงชนชาวไทย
5 ขอพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระเจริญยิ่งยืนนาน……………..ถ้าพระองค์ท่านไม่ดูแลคนไทยแล้ว น้ำท่วมเมื่อปีกลายคงเละกว่านี้แน่นอน โครงการพระราชดำริต่างๆนั้น ช่วยประเทศไทยไว้ได้มากจริงๆ
6 พระเอยพระโอบเอื้อ อารี
พระกอปรพระกรณี หนักอึ้ง
พระบุญพระบารมี แผ่ทั่ว ไทยนา
พระห่วงปวงชนซึ้ง สุดพ้นรำพัน
7 ไทยร่มเย็นมา
ด้วยพระบารมีปกเกล้าชาวสยามประเ¬¬ทศแผ่ไพศาล
ลูกขอน้อมสำนึกในพระมหากรุณาธิค¬¬ุณแห่งองค์พ่อหลวง
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพ¬¬ลอดุลยเดช
มหิตลาธิเบศรามาธิบดี จักรีนฤบดินทร สยามมินทราธิราช บรมนาถบพิตร
ขอพระองค์ทรงพระเจริญ และทรงพระเกษมสำราญตราบจิรัฐิติ¬¬กาลเทอญ
8 พระเจ้าอยู่หัวของเรา ด้วยพระบารมีปกเกล้า เราจึงคงความเป็นไทย มาจนทุกวันนี้ ขอพระองค์พระเจริญยิ่งยืนนาน เป็นมิ่งขวัญแก่ประชาชนชาวไทยตล¬อดนานแสนนาน
9 ทรงพระเจริญทรงเป็นพระมิ่งขวัญแห่งทวยราษฎร์ข้าพระบาทกลั่นอักษรกลอนถวายเทิดพระเกียรติสักการะด้วยดวงใจ
10 มูลนิธิอาสาเพื่อนพึ่งภาฯ ยามยาก สภากาชาดไทย นำถุงยังชีพพระราชทานไปมอบให้ราษฎรผู้ประสบอุทกภัย ในพื้นที่จังหวัดเชียงราย พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี พระวรราชาทินัดดามาตุ โปรดให้ นายอภัย จันทนจุลกะ รองประธานมูลนิธิอาสาเพื่อนพึ่งภาฯ ยามยาก สภากาชาดไทย เป็นผู้แทนพระองค์ นำถุงยังชีพพระราชทานไปมอบให้ราษฎรผู้ประสบอุทกภัย ณ ศาลาเอนกประสงค์บ้านสันติสุข ตำบลป่าตึง อำเภอแม่จัน ที่ว่าการอำเภอแม่จัน และหอประชุมศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ตำบลท่าสุด อำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย เพื่อเป็นขวัญกำลังใจและบรรเทาความเดือดร้อนในเบื้องต้น หลังจากพื้นที่จังหวัดเชียงรายเกิดฝนตกหนัก น้ำป่าไหลหลากเข้าท่วมในพื้นที่ตำบลป่าตึง อำเภอแม่จัน และ 3 ตำบลในอำเภอเมือง ได้แก่ ตำบลท่าสุด ตำบลนางแล และตำบลบ้านดู่ ส่งผลให้บ้านเรือนราษฎรและพื้นที่การเกษตรเสียหายเป็นวงกว้าง โดยราษฎรที่ได้รับถุงยังชีพพระราชทานต่างซาบซึ้งในพระกรุณาธิคุณของพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี พระวรราชาทินัดมาตุ ที่ทรงห่วงใยราษฎรและประทานความช่วยเหลือในครั้งนี้
11 ผู้แทนพระองค์เปิดงานเทศกาลอาหารและไวน์ ประจำปี ครั้งที่ 17
ที่โรงแรมอนันตรา สยาม กรุงเทพฯ พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี พระวรราชาทินัดดามาตุ โปรดให้ พันเอกหญิง ท่านผู้หญิงจิตรวดี จุลานนท์ เป็นผู้แทนพระองค์เปิดงานเทศกาลอาหารและไวน์ ประจำปี ครั้งที่ 17 ซึ่งหน่วยงานภาคเอกชนร่วมกันจัดขึ้น เพื่อนำรายได้จากการจำหน่ายบัตรรับประทานอาหารมื้อค่ำและรายได้ทั้งหมดจากการประมูลของรางวัลในงานฯ สมทบทุน “โครงการช่วยลดการติดเอดส์จากแม่สู่ลูก” สภากาชาดไทย ในพระอุปถัมภ์ พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี พระวรราชาทินัดดามาตุ และเพื่อกระตุ้นการท่องเที่ยวในประเทศ ซึ่งในปีนี้มีเชฟมิชลินสตาร์และเชฟชื่อดังจากทั่วโลกร่วมปรุงอาหาร รวม 9 คน โดยงานดังกล่าวจัดขึ้นระหว่างวันที่ 19-25 กันยายน นี้
12 องคมนตรีเป็นผู้แทนพระองค์ ไปมอบถ้วยรางวัลพระราชทานแก่ผู้ชนะเลิศ “โครงการลดเมืองร้อนด้วยมือเรา” ประเภทชุมชนและประเภทโรงเรียน ศูนย์การค้าเมกา บางนา อำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้ พลอากาศเอก ชลิต พุกผาสุข องคมนตรี เป็นผู้แทนพระองค์ ไปมอบถ้วยรางวัลพระราชทานแก่ผู้ชนะเลิศ “โครงการลดเมืองร้อนด้วยมือเรา” ประเภทชุมชนและประเภทโรงเรียน ซึ่งบริษัท โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย จำกัด ร่วมกับสถาบันสิ่งแวดล้อมไทย และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจัดขึ้น เพื่อมอบรางวัลให้แก่ผู้ชนะการประกวด และเปิดโอกาสให้ผู้ชนะเลิศกิจกรรมดังกล่าวได้ถ่ายทอด แลกเปลี่ยนความรู้ และประสบการณ์ของตนให้แก่โรงเรียน และชุมชนอื่นๆ เพื่อเป็นต้นแบบในการเรียนรู้สู่การพัฒนากิจกรรมที่ช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก โดยรางวัลชนะเลิศประเภทโรงเรียน ได้แก่ โรงเรียนอัสสัมชัญธนบุรี กรุงเทพมหานคร ในโครงการการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพและยั่งยืน และรางวัลชนะเลิศประเภทชุมชน ได้แก่ ชุมชนบ้านหนองสะแกกวน เทศบาลตำบลโนนดินแดง อำเภอโนนดินแดง จังหวัดบุรีรัมย์ ในโครงการสังคมหนองสะแกกวนแบบพอดี สู่ชีวีคาร์บอนต่ำ
13 พระมหากษัตริย์ยอดกตัญญู ในหลวงของเรา
ลูก ๆ ทุกคน… ก็ได้รู้กันแล้วว่า ความหวังของแม่ ที่มีต่อลูก 3 หวังคือ
ยามแก่เฒ่า หวังเจ้า เฝ้ารับใช้
ยามป่วยไข้ หวังเจ้า เฝ้ารักษา
เมื่อถึงยาม ต้องตาย วายชีวา
หวังลูกช่วย ปิดตา เมื่อสิ้นใจ

ที่นี้… มาดูตัวอย่างบ้าง…บุคคลที่เป็นยอดกตัญญู ที่ประทับใจอาจารย์มากที่สุด คือใคร ทราบไหม? คือคนในภาพนี้… ในหลวงของเรา…
ในหลวง… นอกจาก จะเป็นยอดพระมหากษัตริย์ของโลก… เป็นTHE KING OF KINGS แล้ว ในหลวง ของเรา ยังเป็นกษัตริย์ยอดกตัญญูด้วย ความหวังของแม่…ทั้ง 3 หวัง ในหลวงปฎิบัติได้ครบถ้วน…สมบูรณ์ เป็น ตัวอย่างที่ดีที่สุดให้แก่พวกเรา ในหลวงทำกับแม่ยังไง? ตามอาจารย์มา…อาจารย์ จะฉายภาพให้เห็น
หวังที่ 1. ยามแก่เฒ่า..หวังเจ้า…เฝ้ารับใช้… ใครเคยเห็นภาพที่… สมเด็จย่า เสด็จไปในที่ต่าง ๆ แล้วมีในหลวง… ประคองเดินไปตลอดทาง… เคยเห็น ไหม…? ใครเคยเห็น…กรุณายกมือให้ดูหน่อย… ขอบคุณ…เอามือลง
ตอนสมเด็จย่าเสด็จไปไหนเนี่ย…มีคนเยอะแยะ… มีทหาร… มีองครักษ์…มีพยาบาล… ที่คอยประคองสมเด็จย่าอยู่แล้ว แต่ในหลวงบอกว่า…

“ไม่ต้อง…คนนี้…เป็นแม่เรา…เราประคองเอง”
ตอนเล็ก ๆ แม่ประคองเรา… สอนเราเดิน หัดให้เราเดิน…เพราะฉะนั้น ตอนนี้แม่แก่แล้ว… เราต้องประคองแม่เดิน เพื่อเทิดพระคุณท่าน…ไม่ต้องอายใคร… เป็นภาพที่…ประทับใจมาก… เจ้าฟ้าเจ้าแผ่นดิน ท่านกตัญญูต่อแม่… ประคองแม่เดิน ประชาชนที่มาเฝ้ารับเสด็จ… สองข้างทาง ฝั่งนี้ 5,000 คน ฝั่งนู้น… 8,000 คน ยกมือขึ้น…สาธุ แซ่ซ้อง…สรรเสริญ
“กษัตริย์ยอดกตัญญู”

ในหลวง…เดินประคองแม่… คนเห็นแล้ว… เขาประทับใจ ถ่ายรูป…เอามาทำปฎิทิน …เอาไปติดไว้ที่บ้าน เพื่อแสดงความเคารพ…กราบไหว้…
ลองหันมาดูพวกเรา…ส่วนใหญ่ เวลาออกไปไหน แต่งตัวโก้…ลูกชาย… แต่งตัวโก้…ลูกสาว…แต่งตัวสวย… แต่เวลาเดิน…ไม่มีใครประคองแม่… กลัวไม่โก้… กลัวไม่สวย… ข้าราชการ…แต่งเครื่องแบบเต็มยศ… ติดเหรียญตรา…เหรียญกล้าหาญ… เต็มหน้าอก… แต่เวลาเดิน…ไม่กล้าประคองแม่… กลัวไม่สง่า…กลัวเสียศักดิ์ศรี… ประคองแม่…เป็นเรื่องของ…คนใช้…หลายคน…ให้ประคองแม่…ไม่กล้าทำ อาย… เวลาทำดี…ไม่กล้าทำ…อาย, เวลาทำชั่ว…กล้า…ไม่อาย…ใครเห็นภาพนี้ ที่ไหน…กรุณาซื้อใส่กรอบ…แล้วเอาไปแขวนไว้ที่บ้าน… เอาไว้สอนลูก เห็นภาพ ชัดเจนไหมครับ? เท่านั้น …ยังน้อยไป…มาดูภาพที่ชัดเจนกว่านั้น…

หลังงานพระบรมศพสมเด็จย่า…เสร็จสิ้นลงแล้ว ราชเลขา… ของสมเด็จย่า… มาแถลงในที่ประชุม…ต่อหน้าสื่อมวลชน…ว่า… ก่อนสมเด็จย่า จะสิ้นพระชนม์ปีเศษ ตอนนั้นอายุ 93 ในหลวง…เสด็จจากวังสวนจิตร… ไปวังสระปทุมตอนเย็นทุกวัน ไปทำไมครับ…? ไปกินข้าวกับแม่ ไปคุยกับแม่…ไปทำให้แม่…ชุ่มชื่น หัวใจ… พอเขาแถลงถึงตรงนี้ อาจารย์ตกตะลึง…
โอ้โห!…ขนาดนี้เชียวหรือในหลวงของเรา เสด็จไปกินข้าวมื้อเย็นกับแม่… สัปดาห์ละกี่วัน…ทราบไหมครับ? พวกเราทราบไหมครับ…สัปดาห์ละกี่วัน?… 5 วัน มีใครบ้างครับ…? ที่อยู่คนละบ้านกับแม่ แล้วไปกินข้าวกับแม่…สัปดาห์ละ 5 วัน หายาก…..
ในหลวง มีโครงการเป็นร้อย… เป็นพันโครงการ… มีเวลาไปกินข้าว กับแม่… สัปดาห์ละ 5 วัน พวกเรา ซี 7 ซี 8 ซี 9 ร้อยเอก…พลตรี…อธิบดี… ปลัดกระทรวง…ไม่เคยไปกินข้าวกับแม่… บอกว่า…งานยุ่ง แม่บอกว่า… ให้พาไปกินข้าวหน่อย… บอกว่าไม่มีเวลา จะไปตีกอล์ฟ… ไม่มีเวลาพาแม่ไปกินข้าว… แต่มีเวลาไปตีกอล์ฟ…เห็นตัวเองหรือยัง…?
พ่อแม่…พอแก่แล้ว ก็เหมือนไม้ใกล้ฝั่ง …ฝนตก…น้ำเซาะ…อีกไม่นานก็โค่น… พอถึงวันนั้น… เราก็ไม่มีแม่ให้กราบแล้ว… ในหลวงจึงตัดสินพระทัย…ไปกินข้าวกับแม่สัปดาห์ละ 5 วัน เมื่อตอนที่ สมเด็จย่าอายุ…93 สัปดาห์หนึ่งมี 7 วัน ในหลวงไปกินข้าวกับแม่ 5 วัน อีก 2 วันไปไหน ครับ…? ดร.เชาว์ ณ ศีลวันต์…องคมนตรี บอกว่า… ในหลวงถือศีล 8 วันพระ …ถือศีล 8 นี่ยังไง…? ต้องงดข้าวเย็น… เลยไม่ได้ไปหาแม่… วันนี้เพราะถือศีล อีกวันหนึ่งที่เหลือ… อาจจะกินข้าวกับ พระราชินี…กับคนใกล้ชิด แต่ 5 วัน… ให้แม่ เห็นภาพชัดแล้วใช่ไหม…?

ตอนนี้เราขยับเข้าไปใกล้ ๆ หน่อย ไปดูตอนกินข้าว…ทุกครั้ง…ที่ในหลวง ไปหาสมเด็จย่า…ในหลวงต้องเข้าไปกราบ ที่ตัก…แล้วสมเด็จย่า…ก็จะดึงตัวในหลวง… เข้ามากอด… กอดเสร็จก็หอมแก้ม… ใครเคยเห็นภาพสมเด็จย่า…หอมแก้มในหลวงบ้าง…?
ภาพนี้…ถ้าใครมี… ต้องเอาไปใส่กรอบ เป็นภาพความรักของแม่…ที่มีต่อลูก…อย่างยอดเยี่ยม ตอนสมเด็จย่า…หอมแก้มในหลวง… อาจารย์คิดว่า แก้มในหลวง…คงไม่หอมเท่าไร…เพราะไม่ได้ใส่น้ำหอม แต่ทำไม… สมเด็จย่าหอมแล้ว…ชื่นใจ… เพราะ ท่านได้กลิ่นหอม… จากหัวใจในหลวง หอมกลิ่นกตัญญ
ไม่นึกเลยว่า…ลูกคนนี้ จะกตัญญูขนาดนี้ จะรักแม่มากขนาดนี้
ตัวแม่เองคือ สมเด็จย่า…ไม่ได้เป็นเชื้อพระวงศ์ เป็นคนธรรมดา…สามัญชน …เป็นเด็กหญิงสังวาลย์ เกิดหลังวัดอนงค์… เหมือนเด็กหญิงทั่วไป… เหมือนพวกเราทุกคนในที่นี้
ในหลวงหน่ะ…เกิดมาเป็นพระองค์เจ้า เป็นลูกเจ้าฟ้า ปัจจุบันเป็นกษัตริย์…เป็น พระเจ้าแผ่นดินอยู่เหนือหัว
แต่ในหลวง… ที่เป็นพระเจ้าแผ่นดิน… ก้มลงกราบ…คนธรรมดา… ที่เป็นแม่ หัวใจลูก… ที่เคารพแม่… กตัญญูกับแม่อย่างนี้ หาไม่ได้อีกแล้ว…
คนบางคน… พอเป็นใหญ่เป็นโต ไม่กล้าไหว้แม่… เพราะแม่มาจากเบื้องต่ำ…เป็นชาวนา… เป็น ลูกจ้าง… ไม่เคารพแม่…ดูถูกแม่
แต่นี่…ในหลวง เทิดแม่ไว้เหนือหัว… นี่แหละครับความหอม
นี่คือเหตุที่สมเด็จย่า…หอมแก้มในหลวงทุกครั้ง… ท่านหอมความดี… หอมคุณธรรม…หอมกตัญญู… ของในหลวง หอมแก้มเสร็จแล้ว…ก็ร่วมโต๊ะเสวย …
ตอนกินข้าวนี่…ปกติ.. .แค่เห็นลูกมาเยี่ยม…ก็ชื่นใจแล้ว…
นี่ลูกมากินข้าวด้วย…โอย…ยิ่งปลื้มใจ
แม่ทั้งหลาย…ลองคิดดูซิ…อะไรอร่อย ๆ ในหลวงจะตักใส่ช้อนแม่…อันนี้ อร่อย…แม่ลองทาน… รู้ว่าแม่ชอบทานผัก… หยิบผักมาม้วน ๆ ใส่ช้อนแม่… เอ้าแม่ …แม่ทานซะ…ของที่แม่ชอบ แทนที่จะกินแค่ 3 คำ 4 คำ ก็เจริญอาหาร…กินได้เยอะ เพราะมีความสุขที่ได้กินข้าวกับลูก มีความสุขที่ลูกดูแล…เอาใจใส่…
กินข้าวเสร็จแล้ว…ก็มานั่งคุยกับแม่… ในหลวงดำรัสกับแม่ว่าไง… ทราบไหม…? ตอนในหลวงเล็ก ๆ…แม่เคยสอนอะไรที่สำคัญ…“อยากฟังแม่สอนอีก” เป็นยังไงบ้าง…?
เป็นกษัตริย์…ปกครองประเทศ… อยากฟังแม่สอนอีก… พวกเรา เป็นยังไง…? เราคิดว่า…เรารู้มาก …เราเรียนสูง…เรามีปริญญา… แม่จบ ป.4 เวลาแม่สอน…ตะคอกแม่ ตวาดแม่ กระทืบเท้าใส่แม่ เบื่อจะตายอยู่แล้ว… รำคาญ…พูดจาซ้ำซาก… เมื่อไหร่จะหยุดพูดซะที… เราเหยียบย่ำ หัวใจแม่…
สมเด็จย่าสอน…ในหลวงจะเอากระดาษมาจด… มีอยู่เรื่องหนึ่ง… ที่จำได้แม่น… สมเด็จย่า…เล่าว่า ตอนเรียนหนังสือที่ Swiss ในหลวงยังเล็กอยู่ …เข้ามาบอกว่า…อยากได้รถจักรยาน เพื่อน ๆ เขามีจักรยานกัน
แม่บอกว่า “ลูกอยากได้จักรยาน… ลูกก็เก็บสตางค์… ที่แม่ให้ไปกินที่ โรงเรียนไว้ซิ” …เก็บมาหยอดกระปุก… วันละเหรียญ…สองเหรียญ พอได้มากพอ… ก็เอาไปซื้อจักรยาน…
นี่คือสิ่งที่แม่สอน…แม่สอนอะไร…ทราบไหมครับ…?
ถ้าเป็นพ่อแม่บางคน…พอลูกขอ…รีบกดปุ่ม ATM ให้เลย ประเคนให้เลย… ลูกก็ ฟุ้งเฟ้อ… ฟุ่มเฟือย… เหลิง… และหลงตัวเอง
พอโตขึ้น…ขับรถเบนซ์ชนตำรวจ…ก็ได้… ยิงตำรวจ…ยังได้… เพราะหลงตัวเอง… พ่อตนใหญ่ เห็นไหม…? ตามใจ เทิดทูน จนเสียคน…
แต่สมเด็จย่านี่…เป็นยอดคุณแม่… สร้างคุณธรรมให้แก่ลูก…ลูกอยากได้ …ลูกต้องเก็บสตางค์ที่แม่ให้… ไปหย่อนกระปุก… แม่สอน 2 เรื่อง คือ…ให้ประหยัด…ให้ยืนอยู่บนขาของตัวเอง
“ความประหยัด…เป็นสมบัติของเศรษฐี” ใครสอนลูกให้ประหยัดได้… คนนั้นกำลังมอบความเป็นเศรษฐีให้แก่ลูก
พอถึงวันปีใหม่… สมเด็จย่าก็บอกว่า… “ปีใหม่แล้ว…เราไปซื้อจักรยานกัน…” “เอ้า…แคะกระปุก…ดูซิมีเงินเท่าไหร่…?” เสร็จแล้ว…สมเด็จย่าก็แถมให้… ส่วนที่ แถมนะ… มากกว่าเงินที่มีในกระปุกอีก…
มีเมตตา…ให้เงินลูก… ให้…ไม่ได้ให้เปล่า… สอนลูกด้วย…สอนให้ประหยัด สอนว่า…อยากได้อะไร… ต้องเริ่มจากตัวเรา… คำสอนนั้น…ติดตัวในหลวงมาจน ทุกวันนี้…
เขาบอกว่า…ในสวนจิตรเนี่ย… คนที่ประหยัดที่สุด…คือ…ในหลวง… ประหยัดที่สุด… ทั้งน้ำ…ทั้งไฟ… เรื่องฟุ้งเฟ้อ…ฟุ่มเฟือย..ไม่มี …เป็นอันว่า… ภาพนี้ชัดเจน…
หวังที่ 2. ยามป่วยไข้… หวังเจ้า… เฝ้ารักษา ดูว่าในหลวง ทำกับ แม่ยังไง…? สมเด็จย่า…ประชวรอยู่ที่โรงพยาบาลศิริราช… ในหลวงไปเยี่ยม… ตอนไหนครับ…? ไปเยี่ยมตอน ตี 1 ตี 2 ตี 4 เศษ ๆ…จึงเสด็จกลับ… ไปเฝ้าแม่วันละ หลายชั่วโมง…
แม่…พอเห็นลูกมาเยี่ยม…ก็หายป่วยไปครึ่งหนึ่งแล้ว
ทีมแพทย์ที่รักษาสมเด็จย่า… เห็นในหลวงมาเยี่ยม มาประทับ ก็ต้องฟิต …ตามไปด้วย ต้องปรึกษาหารือกันตลอดเวลาว่า… จะให้ยายังไง…จะเปลี่ยนยาไหม…? จะปรับปรุงการรักษายังไง…ให้ดีขึ้น… ทำให้สมเด็จย่า… ได้รับการดูแลที่ดีขึ้น… เห็นภาพไหม…?
กลางคืน…ในหลวงไปอยู่กับสมเด็จย่า…คืนละหลายชั่วโมง…ไปให้ความ อบอุ่นทุกคืน ลองหันมาดูตัวเราเองซิ… ตอนพ่อแม่ป่วย… โผล่หน้าเข้าไปดูหน่อยนึง ถามว่า…ตอนนี้…อาการเป็นยังไง…? พ่อแม่…ยังไม่ทันตอบเลย ฉันมีธุระ งานยุ่ง ต้องไปแล้ว…โผล่หน้าไปให้เห็น พอแค่เป็นมารยาท… แล้วก็กลับ… เราไม่ได้ไปเพราะความกตัญญู… เราไม่ได้ไปเพื่อ ทดแทนพระคุณท่าน…น่าอายไหม…?
ในหลวง…เสด็จไปประทับกับแม่… ตอนแม่ป่วย…ไปทุกวัน… ไปให้ความ อบอุ่น…ประทับอยู่วันละหลายชั่วโมง… นี่คือ…สิ่งที่ในหลวงทำ
คราวหนึ่ง…ในหลวงป่วย… สมเด็จย่า…ก็ป่วย … ไปอยู่ศิริราช…ด้วยกัน …อยู่คนละมุมตึก… ตอนเช้า… ในหลวงเปิดประตู….แอ๊ด…..ออกมา… พยาบาลกำลัง เข็นรถสมเด็จย่า… ออกมารับลมผ่านหน้าห้องพอดี ในหลวง…พอเห็นแม่… รีบออกจากห้อง… มาแย่งพยาบาลเข็นรถ มหาดเล็ก …กราบทูลว่า ไม่เป็นไร…ไม่ต้องเข็น มีพยาบาลเข็นให้อยู่แล้ว ในหลวงมีรับสั่งว่า…
“แม่ของเรา…ทำไมต้องให้คนอื่นเข็น…เราเข็นเองได้…”
นี่ขนาดเป็นพระเจ้าแผ่นดิน… เป็นกษัตริย์… ยังมาเดินเข็นรถให้แม่ ยังมาป้อนข้าว…ป้อนน้ำให้แม่… ป้อนยาให้แม่ ให้ความอบอุ่นแก่แม่… เลี้ยงหัวใจ แม่… ยอดเยี่ยมจริง ๆ … เห็นภาพนี้แล้ว….ซาบซึ้ง
มาตามดูต่อ….
หวังที่ 3. เมื่อถึงยาม…ต้องตาย…วายชีวา …หวังลูกช่วย….ปิดตา …เมื่อสิ้นใจ วันนั้น…ในหลวง…เฝ้าสมเด็จย่า อยู่จนถึงตี 4 ตี 5 เฝ้าแม่อยู่ทั้งคืน… จับมือแม่…กอดแม่…ปรนนิบัติแม่… จนกระทั่ง…”แม่หลับ…” จึงเสด็จกลับ
พอถึงวัง… เขาโทรศัพท์มาบอกว่า… สมเด็จย่าสิ้นพระชนม์… ในหลวง…รีบเสด็จกลับไป…ศิริราช… เห็นสมเด็จย่านอนหลับตาอยู่บนเตียง… ในหลวง ทำยังไงครับ…?
ในหลวงตรงเข้าไป… คุกเข่า…กราบลงที่หน้าอกแม่… พระพักตร์ในหลวง…ตรงกับหัวใจแม่… “ขอหอมหัวใจแม่…เป็นครั้ง สุดท้าย…” ซบหน้านิ่ง…อยู่นาน… แล้วค่อย ๆ เงยพระพักตร์ขึ้น…. น้ำพระเนตรไหลนอง….
ต่อไปนี้… จะไม่มีแม่ให้หอมอีกแล้ว… เอามือ…กุมมือแม่ไว้ มือนิ่ม ๆ …..ที่ ไกวเปลนี้แหละ ที่ปั้นลูก…จนได้เป็นกษัตริย์… เป็นที่รักของคนทั้งบ้านทั้งเมือง…ชีวิตลูก….แม่ปั้น…
มองเห็นหวี… ปักอยู่ที่ผมแม่… ในหลวงจับหวี…ค่อย ๆ หวีผมให้แม่…หวี… หวี…หวี…. หวีให้แม่สวยที่สุด… แต่งตัวให้แม่…ให้แม่สวยที่สุด… ในวันสุดท้าย ของแม่….
เป็นภาพที่ประทับใจอาจารย์เป็นที่สุด… เป็นสุดยอดของลูกกตัญญู…. หาที่เปรียบไม่ได้อีกแล้ว…..
กษัตริย์…..ยอดกตัญญู
ขอพระองค์จงทรงพระเจริญ
14 ดิฉันได้ทำตามและจดจำพระองค์ท่านได้นำไปปฏิบัติในชีวิตประจำวันตลอดไป
15 ขอพระองค์จงทรงพระเจริญยิ่งยืนนาน ….และขอชาวไทยที่เกิดและโตบนผืนแผ่นดินไทยอันเป็นแผ่นดินแม่ที่ให้กำเนิด ให้การดำรงเลี้ยงชีพ ให้การเจริญและมั่นคงทุกชีวิต จงอย่าลืมตอบแทนคุณของแผ่นดินนี้ จงอย่าทรยศแผ่นดินและจงอย่าทำการใดๆอันเลวทราม ให้กระทบต่อเบื้องพระยุคลบาท ขอคนไทยที่ยังมีจิตสำนึกในความเป็นชาติไทย จงอย่าละเลยโดยเด็ดขาด….ข้าราชการในพระองค์ฯ
16 พระองค์ทรงเหนือยิ่งสิ่งใดในโลกมีเสมอเหมือน ขอพระองค์ทรงพระเจริญ มีพระชนม์มายุยิ่งยืนนานหายจากพระอาการประชวรในเร็ววัน เรารักในหลวงยิ่งกว่าสิ่งใดในโลก ขอทำดีเพื่อถวายในหลวง
17 ยังจำความได้ แม้ผ่านห้วงเวลานานมาแล้ว อีกสิ่งหนึ่งที่ผมภาคภูมิใจที่สุดในชีวิต ก็คือการอุปสมบท ถวายแด่องค์สมเด็จย่า ที่ครั้งหนึ่ง ผมได้มีโอกาสเข้าเฝ้า สมเด็จย่าและสมเด็จพระพี่นางเมื่อเกือบ 40 ปีที่ผ่านมา ขณะนั้นผมยังเล็กอยู่ ได้ไปออกหน่วย พอ.สว.กับคุณพ่อที่จังหวัดตาก ในถิ่นทุรกันดาร พระองค์ท่านได้แจกของเล่น(เป็น ปี่เป่ามีเสียง และเขย่ามีเสียงดัง กรุ๊งกริ๊งๆ) ผมจะไม่ลืมวันนั้น จนกว่าชีวิตจะหาไม่ ส่วนคุณพ่อได้รับพระราชทานเหรียญของในหลวง ความรู้สึกในห้วงเวลานั้น ผมมีความรู้สึกว่ารักและเทอดทูนท่านมาก แม้กาลล่วงเลยมานานแล้ว แต่ไม่เคยลืมจากจิตใจ ….จะขอเกิดเป็นข้ารองพระบาท ทุกชาติไป…ขอพระองค์ทรงพระเจริญ
18 ข้าพระพุทธเจ้า ขอปฏิภาณตนต่อพระบรมฉายาลักษณ์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและพระบรมราชวงศ์ทุกพระองค์ว่า ข้าพระพุทธเจ้าจะทำตัวเป็นคนดีของพ่อแม่ ญาติ สังคม และประเทศชาติ และใช้เวลาส่วนหนึ่งในชีวิตของข้าพระพุทธเจ้าในการทำความดีเพื่อสังคมเเละพร้อมอุทิศให้แก่สังคม ทรงพระเจริญ มีพระชนมายุยืนนาน เป็นมิ่งขวัญของปวงชนชาวไทยตลอดไป
19 ข้าพพระพุทธเจ้าได้เห็นการดำเนินแนวทางของพระองค์ พระองค์ทรงเสียสละ หยาดเหงื่อ แรงกาย โดยไม่ย่อท้อต่อการดำเนินโครงการที่พระองค์ทรงคิดและพระองค์ทรงรักประชาชนทุกคนในแผ่นดิน ขอให้พระองค์ทรงพระเจริญ
20 ขอให้ปฏิญาณว่าเมื่อสำเร็จการศึกษาเเล้ว จะตั้งใจทำงานด้วยความซื่อสัตย์สุจริต จะตั้งใจทำงานเพื่อผลประโยชน์ของส่วนรวม และจะปฏิบัติตนเป็นพลเมืองที่ดีของประเทศชาติเป็นลูกที่ดีของพ่อหลวงตลอดไป
21 ขอให้พระองค์ทรงพระเจริญ ทรงพระเกษมสำราญ เป็นร่มโพธิ์ร่มไทรของปวงชนชาวไทย และทรงหายจากพระอาการประชวร
22 ในหลวงคือศูนย์รวมทางจิตใจ แม้ประชาชนเดือดร้อนแค่ไหน พระองค์ทรงห่วงใยตลอด ทำให้ประชาชนชาวไทยต่างรักพระองค์ ขอให้พระองค์ทรงพระเจริญ
23 ข้าพระพุทธเจ้า และครอบครัว ขอเทิดพระเกียรติองค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชมหาราชผู้ทรงตรากตรำ พระราชกรณียกิจ เพื่อประชาชนชาวไทยมีความเป็นอยู่ที่ดี ในด้านที่ดีในด้านต่างๆและเป็นพระประมุของค์แรกของโลกที่ทรงครองราชได้นานที่สุด ขอให้พระองค์ทรงหายจากพระอาการประชวร มีพระพลานามัยสมบูรณ์ เเข็งแรง ทรงอยู่เป็นมิ่งขวัญของปวงชนชาวไทยตราบนานเท่านานเทอญ ขอให้พระองค์ทรงพระเจริญ
24 ทุกๆ ครั้งที่ข้าพเจ้าได้ทำตัวให้เป็นประโยชน์ทั้งต่อตนเองและต่อส่วนรวม ทั้งที่รู้และไม่รู้ว่าทำไปเพื่ออะไร แต่มีเหตุผลหนึ่ง ที่ทำให้ข้าพเจ้ารู้สึกภูมิใจ และเต็มใจทำคือทำเพื่อพ่อ ทำเพื่อถวายเเด่พระองค์ท่าน ขอพระองค์ทรงพระเจิญยิ่งยืนนาน
25 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวของพวกเราชาวไทยนั้นท่านทรงเป็นยิ่งกว่าพระมหากษัตริย์ท่านเป็นพ่อของประชาชนชาวไทยทั้งแผ่นดินท่านทำทุกสิ่งทุกอย่างเพื่อประชาชนอย่างไม่รู้จักเหน็ดเหนื่อยมากกว่า 60 ปีแล้ว ขอพระองค์ทรงพระเจริญยิ่งยืนนาน
26 ข้าพเจ้าภูมิใจมากที่ได้เกิดมาเป็นคนไทยและได้ดำรงชีวิตอยู่ในผืนแผ่นดินนี้ ที่มีความอุดมสมบูรณ์และมีความสงบเรียบร้อย และมีความภาคภูมิใจมากที่ได้มาเป็นนักศึกษาวิชาทหารเพื่อได้รับใช้ประเทศชาติในภายภาคหน้า
27 ที่ประเทศไทยในปัจจุบันมีความสุขได้เพราะพระองต์ท่าน เราช่วยปลูกสำนึกรักแก่พระองค์กับคนรุ่นหลังในสถาบันพระมหากษัตริย์เพื่อที่จะปกป้องสถาบันแห่งนี้ไปเรื่อยๆ

28 ขอสดุดีพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ในพระราชกรณียกิจในหลายๆอย่างที่ทำเพื่อประชาชนชาวไทยทุกคนโดยไม่มีการแบ่งแยกชนชั้นวรรณะ พระองค์ท่านก็ทรงมองทุกคนเป็นประชาชนของท่าน เป็นเวลาอันยาวนาน โดยไม่ทรงเหน็ดเหนื่อยและไม่ทรงย่อท้อต่ออุปสรรคใดๆทั้งสิ้น สุดท้ายนี้ข้าพระพุทธเจ้า ขอให้พระองค์ท่าน ท่านทรงมีพระพลานามัยสมบูรณ์แข็งแรงทุกประการ
29 ขอให้พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ทรงมีแต่ความสุขเเละทรงเป็นมิ่งขวัญของปวงชนชาวไทยอยูในดวงใจของชาวไทยทุกๆ คน
30 ข้าพระพุทธเจ้าอยากจะบอกว่าข้าพระพุทธเจ้ารักพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชมากถึงแม้ข้าพระพุทธเจ้าจะเรียนไม่เก่ง แต่ข้าพเจ้าขอสัญญาว่าข้าพระพุทธเจ้าจะเป็นตัวอย่างที่ดีของครอบครัว เเละเป็นคนดีของสังคมครับผม
31 ข้าพระพุทธเจ้า ขอให้ในหลวงทรงมีพระชนมายุยิ่งยืนนาน ทรงอยู่เป็นมิ่งขวัญของปวงชนชาวไทยไปตราบนานเท่านาน เเละ ขอให้พระองค์ทรงพระเกษมสำราญ โรคภัยไม่มี
32 ข้าพระพุทธเจ้า ขอให้ในหลวงของเราปวงชนชาวไทยทุกคน ทรงพระเจริญยิ่งยืนนาน ปราศจากโรคภัยไข้เจ็บ และอยู่เป็นร่มโพธิ์ ร่มไทร ของปวงชนชาวไทยทุกคน ตลอดกาลนานเทอญ
33 รักพระองค์มากค่ะ ขอให้พระองค์สุขภาพแข็งแรงและเป็นมิ่งขวัญให้คนไทยไปนานๆค่ะ อยากให้คนไทยรักกัน เพื่อพ่อหลวงของเราเพราะพ่อเหนื่อยมามากแล้ว
34 ดีใจที่คนไทยมี พ่อหลวง ใจดีอย่างนี้ จะทำดี เพื่อพ่อหลวง ขอทรงพระเจริญ ขอให้คนไทยรักกันเพื่อพ่อหลวง
35 รักพระองค์ท่านมากๆเพราะท่านเป็นกษัตริย์ผู้ที่ยิ่งใหญ่…เสียสละความสุขส่วนพระองค์…พระองค์ทารงเป็นตัวอย่างให้กับคนไทยหลายล้านคน ทรงตั้งมั่นอยู่ในความถูกต้อง..เปี่ยมล้นด้วยพระเมตตาเป็นที่สุด..ขอพระองค์ทรงพระเจริญยิ่งยืนนาน….ข้าราชการในพระองค์
36 รักในหลวงจะทำความดีเพื่อถวายพระองค์ท่าน..จะเป็นข้าราชการที่ดีไม่ีทุจริตคอรัปชั่น…จะเป็นตัวอย่างให้กับเยาวชยไทย….ขอพระองค์ท่านจงมีพระพลานามัยที่แข็งแรง ปราศจากโรคภัยอันตรายแผ้วพาน และจงทรงพระเกษมสำราญ….ใครที่คิดไม่ดีต่อพระองค์ท่าน และต่อบ้านเมืองไทยหลังนี้ก็มีอันต้องพ่ายแพ้ภัยตนเองในที่สุด…..รักในหลวงที่สุด
37 I LOVE THE KING “ขอพระองค์ทรงพระเจริญ”
38 ไม่มีวันไหน ที่ไม่รักในหลวง ตั้งใจทำความดีที่สุดทุกวันครับ รักพ่อเป็นคนดีของพ่อ ช่วยชาติไทยเจริญรุ่งเรือง
39 ขอให้ในหลวง จงทรงพระเจริญยิ่งยืนนานอยู่กับปวงชนชาวไทยไปตลอดกาล ขอให้ในหลวงทรงหายพระอาการประชวร มีสุขภาพกายแข็งแรง ขอให้ท่านจงสมปรารถนาทุกประการ+ทั้งปวง เป็นพระมหากรุณาธิคุณยิ่ง ที่มีพระมหากษัตริย์ที่ปรีชาสามารถในทุกๆ ด้าน ทรงยึดหลักทศพิราชธรรมในการปกครองบ้านเมือง ทรงมีธรรมและมีเมตตาประชาราษฎร ข้าพเจ้าจะขอตอบแทนพระองค์ด้วยการเป็นคนดี เป็นสื่งที่ที่ง่ายที่สุดเมื่อเทียบกับงานที่พ่อทำแล้ว พวกเราก็ควรที่จะทำเพื่อพ่อบ้าง เพราะ “พ่อเหนื่อยมามากแล้ว”
40 เพื่อพ่อเราจะทำความดีถวายพระองค์ท่าน ทรงพระเจริญ
41 หยดสุดท้ายแห่งลมหายใจ ถวายใว้แด่ราชจักรี ขอเพียงมีโอกาสถวายเป็นบาทราชพลี ปกป้องรองบาทถวายราชองค์จักรี พ้นภัยพวกไพรีประเทศชาตินี้ ต้องมี…จักรีวงศ์ ตลอดกาล
42 เป็นภาพที่ประทับใจ เรารักท่านและจะเทิดทูนในหลวงของเราจนชีวิตเราจะหาไม่ อยากบอกว่า ขอพระองค์ทรงพระเจริญยิ่งยืนนานคะ
43 ร้อยรัดดวงใจเพื่อเทิดไท้องค์ราชัน ที่พระองค์ทรงฝ่าฟันให้ไทยนั้นได้ร่มเย็น
44 พระองค์ทรงงานหนักและเหนื่อย เพื่อราษฎรของพระองค์ได้มีความสุข
45 โครงการพระราชดำริมีความง่าย ชัดเจนในตัวเองและถึงพร้อมด้วยปรัชญาฯ สร้างชาติ สร้างวินัย สร้างสรรค์สังคม สร้างคนไทยให้เจริญ รักชาติ รักแผ่นดิน สำนึกในหน้าที่ของตนเองเพื่อสังคม จงช่วยกันพัฒนาชาติ พัฒนาสังคม พัฒนาเศรษฐกิจ พัฒนาวัฒนธรรม ควบคู่กันไปพร้อมๆกัน น้อมใจภักดิ์ นบจักรีภูมิพล บุญเหลือล้นที่เกิดในร่มใบบุญ
46 รักพ่อหลวง พ่อแห่งแผ่นดินไทย
ขอพระองค์ทรงพระเจริญ ทรงพระเกษมสำราญ
พระพลานามัยแข็งแรงสมบูรณ์
หายจากพระประชวรโดยเร็ว พระชนมายุยิ่งยืนนาน
ด้วยเกล้าด้วยกระหม่อม
47 ขอพระองค์ทรงพระเจริญ สุขภาพพลานามัยแข็งแรงยิ่ง ๆ ขึ้น
ลูกและครอบครัวของลูกจะทำแต่ความดีเพื่อนายหลวงต่อไป ด้วยกล้าด้วยกระหม่อม
48 ขอพระองค์ทรงพระเจริญยิ่งยืนนาน เป็นมิ่งขวัญของปวงชนชาวไทยตราบนานเท่านาน ดิฉันจะน้อมนำความกตัญญูของพระองค์มาเป็นแบบอย่างในการดำรงชีวิต รวมทั้งนำหลักเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ในชีวิตประจำวันและขยายหลักเศรษฐกิจพอเพียงให้ศิษย์ทุกคนได้มีความรู้ความเข้าใจและนำไปปฏิบัติในครอบครัวด้วยค่ะ
50 ในหลวงอย่ในหัวใจครอบครัวเราทุกคน จะจงรักภักดีจนหมดลมหายใจ ขอให้พระองค์ทรงพระเจริญยิ่งยืนนาน และจะสอนคนร่นใหม่ให้นำแบบอย่างของพระองค์ท่านไปปฏิบัติใช้ในชีวิตประจำวัน และขอให้ประชาชนชาวไทยทุกคน มีความ รักชาติ ศาสนา กษัตริย์ อย่างแท้จริง
51 ผมจะเดิมตามรอย พระองค์ครับ
52 ข้าพเจ้าตั้งสัตย์ปฏิญาณว่าจะทำตนให้เป็นพลเมืองที่ดีเป็นคนดีของสังคมจะสอนลูกสอนหลานให้รักและสามัคคีไม่เป็นกาฝากสังคมดำรงไว้ซึ่งความจงรักภัคดีตลอดไป ขอพระองค์ทรงพระเจริญ
53 ความจงรักภักดีต่อชาตินั้น คือความสำนึก ตระหนักในคุณของแผ่นดินอันเป็นที่เกิด ที่อาศัยซึ่งทำให้บุคคลเกิดความภูมิใจในชาติ กำเนิดและมุ่งมั่นที่จะธำรงรักษาประเทศชาติ ไว้ให้เป็นอิสระมั่นคงตลอดไป
54 ขอพระองค์ทรงพระเจริญ ขอให้พระองค์ทรงมีพระวรกายพลานามัยแข็งแรงสมบูรณ์
เป็นมิ่งขวัญของปวงชนชาวไทยตราบเท่านานแสนนาน เกิดชาติหน้าฉันท์ใดขอให้ได้เกิดเป็นประชาชนของพระองค์ทุกชาติไป ด้วยเกล้าด้วยกระหม่อม ขอเดชะข้า
55 รู้รัก สามัคคี” พระบรมราโชวาท
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ฯ
ขอให้คนไทยทุกคนรำลึกถึงทุกเมื่อ่
เพื่อถวายเป็นพระราชกุศล
ขอพระองค์ทรงพระเจริญยิ่งยืนนาน
56 ภูมิใจที่เกิดเป็นคนไทย ภูมิใจที่มีพ่อหลวงที่ชื่อ “ภูมิพล” ท่านเหมือนพระพุทธเจ้า ของคนไทย ท่านเป็นมากกว่ากษัตริย์ท่านไปทุกที่ ที่จะไปได้ ท่านช่วยเหลือคนไทยเท่าที่จะช่วยได้เมื่อมีภัยพิบัติ ท่านช่วยปัดเป่ามาหลายครั้ง ท่านเป็นผู้ประเสริฐที่คอยคุ้มครองชาวไทย ให้รอดพ้นภัย ทรงพระเจริญ ขออยู่ใต้พระยุคลบาททุกชาติไป
57 เมื่ออ่านบทความยามใด
เห็นภาพพ่อได้ทราบซึ้ง
พระคุณสูงยิ่งให้คำนึง
ขอพ่อไทย ทรงพระเจริญ
58 ในหลวง พระราชินี ทรงอยากเห็นเมืองไทยอยู่รอด
ที่หอประชุมกองทัพเรือ กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร กองทัพเรือ และสำนักราชเลขาธิการ ร่วมกันจัดงานเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ “ร้อยดวงใจ เทิดไท้องค์ราชินี” พร้อมทำพิธีเปิดโครงการพัฒนาเทคโน โลยีสารสนเทศและการสื่อสารของสำนักราชเลขาธิการ ระยะที่ 2 เว็บไซต์เผยแพร่พระราชกรณียกิจของสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ โดยมี ร.ต.(หญิง) ระนองรักษ์ สุวรรณฉวี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร พล.ร.อ.กำธร พุ่มหิรัญ ผู้บัญชาการทหารเรือ และนายอาสา สารสิน ราชเลขา ธิการ ร่วมเป็นประธานเปิดงาน
ในงานมีการบรรยายพิเศษหัวข้อ “พระมหากรุณาธิคุณที่มีต่อพสกนิกรชาวไทย” โดยท่านผู้หญิงจรุงจิตต์ ทีขะระ รองราชเลขานุการในพระองค์สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ และ พล.ต.อ.วสิษฐ เดชกุญชร อดีตรองอธิบดีกรมตำรวจ
พล.ต.อ.วสิษฐกล่าวว่า เคยรับราชการเป็นหัวหน้านายตำรวจประจำราชสำนัก ถวายความปลอดภัยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ 12 ปี ตลอดระยะเวลาที่ได้รับใช้ใกล้ชิดทำให้ได้ตระหนักถึงน้ำพระทัยของทั้งสอง พระองค์ที่มีต่อประชาชนคนไทยเป็นอย่างมาก สำหรับสมเด็จพระนางเจ้าฯ นอกจากทรงเป็นแม่ของพระราชโอรสและพระราชธิดาแล้ว ยังทรงเป็นแม่ของแผ่นดินด้วย
“ตั้งแต่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ขึ้นครองราชย์ จนบัดนี้สมเด็จพระนางเจ้าฯ ทรงไม่เคยห่างจากพระองค์เลย อะไรที่เป็นพระราชกรณียกิจของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว สมเด็จพระนางเจ้าฯ ทรงมีส่วนร่วมรู้เห็นตลอดเวลา ในสมัยที่ผมรับราชการเบื้องพระยุคลบาทเป็นสมัยที่บ้านเมืองไม่สงบจากพวกคอมมิวนิสต์ แต่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ ไม่เคยหยุดทรงงาน ไม่ทรงท้อถอยหวั่นเกรง ยังคงเสด็จฯไปทรงเยี่ยมประชาชนในพื้นที่ที่เป็นพื้นที่เสี่ยงหรือพื้นที่สี แดงด้วยความห่วงใยพสกนิกรของพระองค์“ พล.ต.อ.วสิษฐกล่าว
อดีตรองอธิบดีกรมตำรวจกล่าวอีกว่า ขณะนี้พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ กำลังตกเป็นเป้าของการลบหลู่ การให้ร้าย การโจมตีอย่างโจ๋งครึ่ม โดยคนบางพวก บางประเภท ตนกล้าเรียนให้ทราบ แม้ไม่มีการยืนยันจากรัฐบาล แต่ตนยืนยันจากความรู้ การสังเกตของตนเอง พบว่าสิ่งเหล่านี้กำลังเกิดขึ้น ตอนนี้มีเว็บไซต์เถื่อนที่กำลังทำอย่างนี้กับพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ อยู่อย่างต่อเนื่องและไม่หยุดยั้ง และขอเตือนให้ทราบว่า ผู้ที่เราเคารพสักการะ ผู้ที่เป็นผู้สืบทอดการปกครองแบบราชาธิปไตยมากว่า 700 ปี กำลังถูกทำลายโดยคนพวกหนึ่ง สิ่งที่คนไทยต้องตระหนักและช่วยกันคือปกป้องสถาบันที่อยู่คู่เมืองไทย ชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
“มาวันนี้ขอวิงวอนท่านทั้งหลายว่า แม้ศัตรูจะยังไม่ถืออาวุธ แต่กำลังใช้วิธีย้อมหัวของเรา ย้อมหัวใจของเราให้หลงผิด สิ่งที่ทำได้คืออย่ายอมให้พี่น้อง ลูกหลานเข้าใจผิด แต่ต้องทำความเข้าใจและเผยแพร่สอนผู้อื่นให้รู้ว่า เมืองไทยอยู่ได้เพราะ 3 สิ่งนี้ คือ ชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ เราต้องทำ ถ้าเราไม่ทำ เราจะเกิดสงครามที่สาหัสมาก อย่าทำให้เกิด แต่ทำได้ด้วยการถ่ายทอดให้ทุกคนรู้ว่า พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ ทรงทำอะไรมาแล้วกว่า 60 ปี ให้เราทุกคนช่วยกัน” พล.ต.อ.วสิษฐกล่าว
จากนั้นท่านผู้หญิงจรุงจิตต์ นางสนองพระโอษฐ์ที่ถวายงานรับใช้สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ มาประมาณ 40 ปี กล่าวว่า ทุกคนทราบกันดีว่า พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าฯ เสด็จฯไปทรงเยี่ยมราษฎรตามภูมิภาคต่างๆ ของประเทศไทยตั้งแต่ปี 2498 ไม่ว่าจะทุรกันดารอย่างไร ทั้งสอง พระองค์ทรงเสด็จฯไปทุกหนทุกแห่ง พระองค์จะสอนเสมอว่าให้คุยกับราษฎรอย่างเคารพนบนอบ คิดว่าเขาเป็นพี่ ป้า น้า อา
ท่านผู้หญิงจรุงจิตต์กล่าวอีกว่า ไม่เฉพาะคนยากคนจนตามต่างจังหวัดเท่านั้นที่ทรงช่วยเหลือ สมเด็จพระนางเจ้าฯ ยังทรงช่วยเหลือประชาชนในเรื่องต่างๆ อีกด้วย เช่น ครอบครัวได้รับอุบัติเหตุจากการปาหิน วัยรุ่นอาชีวะที่ถูกลูกหลงจากการทะเลาะวิวาทของ 2 สถาบัน เด็กชายที่เป็นมะเร็งต่อมน้ำเหลือง หรือเด็กกำพร้า 2 คนที่เขียนจดหมายร้องทุกข์มายังกองราชเลขาธิการในพระองค์ฯ ขอพระราชทานความช่วยเหลือ ซึ่งพระองค์ทรงช่วยเหลือบุคคลเหล่านี้เป็นอย่างดี
ท่านผู้หญิงจรุงจิตต์กล่าวว่า พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ ทรงทำทุกสิ่งทุกอย่างให้กับคนไทย ทรงทำมาอย่างยาวนาน แต่ทุกคนได้มีความคิด ได้เล่าต่อกันหรือไม่ ทุกพระราชกรณียกิจ ทุกโครงการของพระองค์ ไม่เคยหนีจากประชาชน แล้วไม่เคยเอาอะไรมาเป็นของพระองค์เลย ทรงทำให้กับแผ่นดิน ทรงทำให้กับประชาชน
“สมเด็จพระนางเจ้าฯ ทรงห่วงใยประชาชนตลอดเวลา พระองค์มีแต่ให้ แล้วสิ่งที่ทั้งสองพระองค์ทรงให้มา ก็คือสิ่งที่ถาวร ทรงทำทุกอย่างให้ประชาชนอยู่ดีกินดี ให้ประชาชนมีกินไปชั่วลูกชั่วหลาน” ท่านผู้หญิงจรุงจิตต์กล่าว
ท่านผู้หญิงจรุงจิตต์กล่าวอีกว่า พระมหากรุณาธิคุณของพระองค์ในโครงการต่างๆ มันไม่ได้เป็นตัวเงินที่เอามาแจก คนนั้นเอาไปเท่านี้ คนนี้เอาไปเท่านั้น เงินใช้เมื่อไหร่ก็หมด แต่ว่าสิ่งที่พระองค์ให้เป็นสิ่งถาวร เป็นสิ่งที่จะอยู่คู่กับบ้านเรา คู่กับแผ่นดินเรา ทรงให้สิ่งที่เป็นประโยชน์ เชิดหน้าชูตาประเทศชาติ สมเด็จพระนางเจ้าฯ ทรงทำงานศิลปาชีพขึ้นมา เป็นมรดกของชาติ ให้ไปดูได้ที่พระที่นั่งอนันตสมาคม หอศิลปวัฒนธรรมกรุงเทพมหานคร ซึ่งเป็นมรดกทางวัฒนธรรม กว่าจะทำขึ้นมาได้ยากเย็น
“งานเหล่านี้ไม่ ได้ทำวันนี้พรุ่งนี้เสร็จ แต่ทรงทำมานับ 10 ปี ทรงทุ่มเทพระวรกาย พระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ทั้งนั้น จนบัดนี้มรดกของชาติทั้งถมทอง งานคร่ำ ที่เกือบจะสูญหายไปถูกนำกลับมาสืบสานไว้แล้ว อยากให้ทุกคนได้มองเห็นสิ่งเหล่านี้ และมองดูพระองค์ด้วยว่า ทรงทำงานอย่างไร พูดภาษาง่ายๆ พระองค์ทรงทำงานด้วยหัวใจ ทรงทำงานทุ่มเททั้งหัวใจของพระองค์ให้กับประชาชนคนไทยด้วยความรัก” ท่านผู้หญิงจรุงจิตต์กล่าว
รองราชเลขานุการในพระองค์สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ กล่าวอีกว่า ขณะนี้ทั้งสองพระองค์ทรงเจริญพระชนมพรรษามากแล้ว ทำไมพวกเราถึงไม่ตอบแทนพระองค์ด้วยการทำให้พระองค์ชื่นใจ เห็นผลงานที่ทรงทำตรงนั้นตรงนี้ ประชาชนอยู่เย็นเป็นสุข เมืองไทยเชิดหน้าชูตาได้ คนไทยเก่ง คนไทยมีเมืองไทยที่งดงาม สวยงาม ทั้งรุ่นเล็ก รุ่นใหญ่ รุ่นโต ถ่ายทอดกันมาเป็นสังคมไทยที่อยู่เย็นเป็นสุข ในวันนี้พระองค์ทรงเจริญพระชนมพรรษามากแล้ว เราให้อะไรกับพระองค์บ้าง ให้ความชื่นใจอะไรกับพระองค์บ้าง
“ ทรงไม่ต้องการอะไรเลย ต้องการอย่างเดียว ทรงอยากเห็นเมืองไทยอยู่รอด คนไทยด้วยกันสามัคคีกัน ช่วยกันธำรงชาติบ้านเมืองให้ยั่งยืนต่อไป อย่าขัดแย้งกัน อย่าทะเลาะเบาะแว้งกันเลยทรงทำมาตลอด 60 ปี ทำไมคนไทยถึงปล่อยให้พระองค์เห็นคนไทยเป็นอย่างนี้ ทำไมไม่ทำให้พระองค์ชื่นใจ” ท่านผู้หญิงจรุงจิตต์กล่าว และได้เชิญชวนเหล่าทหารเรือที่มาร่วมฟังการบรรยายนับร้อยคนลุกขึ้นร้องเพลง สรรเสริญพระบารมี
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สำนักราชเลขาธิการฯได้จัดทำเว็บไซต์เผยแพร่พระราชกรณียกิจของสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ www.ohmpps.go.th/queen โดยได้รวบรวมข้อมูล พระราชกรณียกิจ พระบรมฉายาลักษณ์ที่หาชมได้ยาก พระราชดำรัส และพระบรมราโชวาท ลงในระบบสืบค้นและระบบเผยแพร่ ซึ่งจะเป็นคลังข้อมูลดิจิตอลที่มีประสิทธิภาพเพื่อให้เยาวชน นักเรียน นักศึกษา และประชาชน นำไปใช้ประโยชน์เป็นข้อมูลปฐมภูมิอันทรงคุณค่า เป็นหลักฐานที่สำคัญทางประวัติศาสตร์.
59 สิ่งต่างๆ ที่ทั้งสองพระองค์ทรง ‘สร้าง’ ให้แก่คนไทย อาจไม่ใช่สิ่งที่เราสามารถเก็บเกี่ยวผลประโยชน์มาได้ทันทีทันใด หากแต่สิ่งเหล่านั้น จะ้ค่อยๆ เติบโตงอกงามอย่างยั่งยืนในวิถีของมันเอง พระองค์ทรงสอนให้เราคนไทยนำภูมิปัญญาที่เป็นของเราเอง มาปรับให้เข้ากับโลกที่ก้าวไปอย่างไม่หยุดยั้ง เพื่อที่เราจะได้สามารถรู้เท่าทันความเปลี่ยนแปลงของสังคมโลก ที่สำคัญคือ รู้เท่าทันการเปลี่ยนแปลงของสังคมเรา ซึ่งจะทำให้เราคนไทยใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุข โดยไม่สูญเสียอัตลักษณ์ของตนเองไป
60 องค์ราชันย์จักรพรรดิของไทย
ทรงห่วงใยประชาชนทั่วหล้า
พระบุญคุณของท่านเกินนภา
น้อมสักการะบูชาจากชาวไทย
61 จากประวัติศาสตร์ดังกล่าวข้างต้น จะเห็นได้ชัดว่า ผู้ที่สร้างแผ่นดินไทยและขยายอาณาเขตของประเทศให้กว้างใหญ่ไพศาลล้วนเป็นพระมหากษัตริย์ทั้งสิ้น ดังนั้นพระมหากษัตริย์จึงเป็นเจ้าของแผ่นดินโดยแท้จริง จึงมีการขนานนามพระมหากษัตริย์ว่า พระเจ้าแผ่นดินอีกพระนามหนึ่ง
พระมหากษัตริย์ทรงเป็นศูนย์รวมจิตใจของคนไทยทั้งชาติ
การที่เรามีกษัตริย์ปกครองต่อเนื่องกันมาเป็นพันปี ทำให้คนไทยมีความรู้สึกว่า พระมหากษัตริย์เป็นผู้มีพระคุณอย่างใหญ่หลวง ต่างยึดมั่นและมีความผูกพันทางจิตใจตลอดมา เป็นสัญลักษณ์ของชาติซึ่งจะขาดเสียมิได้ คนไทยมากกว่า 90 เปอร์เซ็นต์ เทิดทูนและจงรักภักดีสถาบันพระมหากษัตริย์อย่างไม่เสื่อมคลาย
ใครก็ตามที่ล่วงละเมิดต่อสถาบันก็มักจะมีอันเป็นไปตลอดมา นอกจากจะเป็นศูนย์รวมจิตใจ เป็นแกนกลางของความรักความสามัคคีแล้ว สถาบันพระมหากษัตริย์ยังเป็นสิ่งยึดเหนี่ยวร่วมกันของคนทั้งชาติที่ทำให้ประเทศชาติมีความมั่นคงอีกด้วย
ประเทศไทยมีคนหลายชาติพันธ์อยู่ร่วมกัน คนทางภาคอีสานตอนบนมาจากอาณาจักรล้านช้างคนทางอีสานใต้มีเชื้อสายเขมร คนทางภาคเหนือมาจากอาณาจักรโยนกหรือล้านนา คนทางภาคใต้มาจากอาณาจักรศรีวิชัยคนภาคกลางมีเชื้อสายมาจาก มอญ เขมร ชวา มลายู ไทย ลาวจามจีน จากมณฑลกวางตุ้ง กวางสี และชาวยุโรผที่เข้ามาค้าขายและตั้งรกรากอยู่ตั้งแต่สมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช นายอานันท์ ปันยารชุน อดีตนายกรัฐมนตรี ได้บรรยายพิเศษเมื่อปี พ.ศ.2547 ไว้ว่าคนไทยในประเทศไทยนั้น ไทยแท้ไม่มีคนในประเทศไทยล้วนแต่เป็นไทยผสมทั้งสิ้น ได้แก่ ไทยจีน ไทยมอญ ไทยเขมร ไทยญี่ปุ่น ไทยปอร์ตุเกส ไทยพรวน ไทยย้อ ไทยลื้อ ไทยดำ ไทยลาว ไทยมลายู ใครก็ตามที่เกิดในประเทศไทยก็ถือว่าเป็นคนไทยทั้งสิ้น คำว่าไทย คือความรู้สึกที่อยู่ภายในเท่านั้น (ผู้เขียนเห็นด้วยเป็นอย่างยิ่ง และสอดคล้องกับที่ได้ศึกษามา)
เมื่อปี พ.ศ. 2534รัสเซียต้องแตกเป็น 15 ประเทศ เพราะมีปัญหาทางเศรษฐกิจ ปัญหาทางเชื้อชาติศาสนา และการแตกแยกทางความคิด ยูโกสลาเวียก็เช่นกัน มีปัญหาแตกแยกทางชาติพันธ์และทางความคิด ไม่สามารถอยู่ร่วมกันได้ ก็ต้องแตกออกเป็น 6 ประเทศ ได้มีชาวตะวันตกหลายคนเขียนบทความและวิเคราะห์ไว้ตรงกันว่า การที่รัสเซียและยูโกสลาเวียต้องแตกออกเป็นเสี่ยงเช่นนี้ ก็เพราะขาดสิ่งยึดเหนี่ยวร่วมกัน ไม่มีความผูกพันใดๆต่อกัน ซึ่งต่างจากประเทศไทยที่มีพระมหากษัตริย์เป็นสิ่งยึดเหนี่ยวร่วมกัน ประเทศจึงเกิดความมั่นคง ไม่แตกแยกดังเช่นประเทศทั้งสอง ก็น่าจะเป็นความจริง เพราะเมื่อคนรักและเทิดทูนบุคคลเดียวกัน ก็เหมือนมีพ่อคนเดียวกัน ทุกคนก็เหมือนพี่น้องกัน เมื่อมีการแตกแยกทางความคิด เกิดการทะเลาะเบาะแว้ง ก็เหมือนพี่น้องทะเลาะกัน ประเดี๋ยวก็ดีกันได้ ดังนั้นถ้าต้องการให้ประเทศเรามีความมั่นคงตลอดไป ก็จะต้องช่วยกันปกป้องและรักษาสถาบันพระมหากษัตริย์ให้คงอยู่คู่ประเทศไทยตลอดไป
62 ในหลวงทรงรับสั่ง“ให้ไปบอกเขาว่า เราชอบมาก”..คือหนังสือ“พระราชอำนาจ”
เพราะคนไทยจำนวนมากในยุคปัจจุบัน มีความเข้าใจผิด หรือเข้าใจไม่ครบถ้วนบริบูรณ์ ในเรื่องพระราชอำนาจของพระมหากษัตริย์ในระบอบประชาธิปไตย โดยเฉพาะพระราชอำนาจของพระมหากษัตริย์ไทย และโดยเฉพาะอย่างยิ่งพระราชอำนาจของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลปัจจุบัน
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลทรงอยู่ในสิริราชสมบัติมาต่อเนื่อง ยาวนานไม่แพ้กษัตริย์พระองค์ใดในโลก นับแต่วันที่ 9 มิถุนายน 2489 ทำให้ทรงรู้ทรงเห็นเหตุการณ์ต่าง ๆ ในบ้านเมืองมาโดยตลอด เป็นแหล่งสะสมประสบการณ์ของบ้านเมืองไว้มากที่สุด มากกว่ารัฐสภา รัฐบาล
…………………………
บทอาเศียรวาท
“…เราอ่านแล้ว เราชอบมาก เขียนได้ดี เขียนได้ถูกต้อง” คือ กระแสพระราชดำรัสที่ทรงตรัสกับนายปีย์ มาลากุล ณ อยุธยา และทรงรับสั่งให้เชิญกระแสพระราชดำรัสนี้มาแจ้งกับข้าพระพุทธเจ้า
“เรา” ทรงชี้พระหัตถ์ไปที่พระอุระของพระองค์ “ให้ไปบอกเขาว่า เราชอบมาก”
ข้าพระพุทธเจ้าได้ยกมือทั้งสองประนมเหนือศีรษะน้อมรับกระแสพระราชดำรัสนี้จากท่านปีย์ มาลากุล ณ อยุธยา เมื่อได้พบกัน ณ วันที่ 8 สิงหาคม 2548 เวลา 17.00 น. ณ บ้านของท่านปีย์ฯ
กระแสแห่งความปลื้มปีติและปัสสัทธิเอ่อล้นท่วมหัวใจของข้าพระพุทธเจ้าจนมิอาจจะพรรณนาความใด ๆ ออกมาได้ ถือเป็นพระมหากรุณาธิคุณอันล้นพ้นต่อข้าของแผ่นดินคนหนึ่งและขอพระราชทานกราบบังคมทูลเพิ่มเติมว่า
คนไทยในปัจจุบันอยู่ในสภาวะที่เครียดจัดกับปัญหา 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้เกรงจะขยายตัวออกไปจนเกิดการเสียดินแดนขึ้นในสมัยของใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาท ปัญหาน้ำมันแพงขึ้นอย่างไม่หยุดยั้ง คนไทยตั้งแต่ชนบทจนถึงในเมืองต่างมีหนี้สินล้นพ้นตัว มีค่าครองชีพสูงขึ้น โรคเอดส์-ยาเสพติดกลับมาระบาดมากขึ้น คุณธรรมศีลธรรมของผู้คนเสื่อมทรามลง เกิดการปล้นฆ่า ฉกชิง วิ่งราว ข่มขืน อนาจารขึ้นมากมาย ปัญหาทุจริตคอร์รัปชั่นเกิดขึ้นในทุกระดับการปกครอง แต่กระบวนการตรวจสอบปราบปรามอ่อนแอเพราะถูกครอบงำและแทรกแซง วันนี้ราชการอ่อนแอ-คนไทยอ่อนแอ ทำให้คนไทยเครียด-วิตกกังวล-มองไม่เห็นอนาคต
คนไทยทุกหมู่เหล่าคงได้แต่หวังในพระบรมเดชานุภาพในใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาทที่จะปกแผ่ลงมาเยียวยาแก้ไขปัญหาทั้งมวลและดำรงชาติดำรงไทยไว้ภายใต้ “พระราชอำนาจ” ในใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาท
แต่คนไทยส่วนใหญ่ในปัจจุบันกลับขาดความรู้ความเข้าใจใน “พระราชอำนาจ” ที่ถูกต้องและเพียงพอ
คนไทยส่วนใหญ่ยังเข้าใจว่า พระมหากษัตริย์ไทยต้องอยู่ภายใต้กฎหมายรัฐธรรมนูญ ทั้งที่กฎหมายรัฐธรรมนูญทุกฉบับพระมหากษัตริย์ทรงให้ความเห็นชอบหรือทรงมีพระบรมราชานุมัติก่อนจึงจะประกาศใช้บังคับได้
คนไทยส่วนใหญ่รู้จัก “พระราชอำนาจ” ตามลายลักษณ์อักษรที่ปรากฏไว้ในรัฐธรรมนูญเท่านั้น ทั้งที่ยังมี “พระราชอำนาจ” ตามนิติราชประเพณีอีกมาก
ราชการเองก็ยังไม่เข้าใจในเรื่องของ “พระราชสมภารเจ้า” จึงได้ตรากฎหมายและใช้กฎหมายเกี่ยวกับสมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก ผิดนิติราชประเพณีทำให้เกิดสังฆาเภท สงฆ์แยกเป็น 2 ฝ่าย
คนไทยส่วนใหญ่ทราบดีว่า ยามที่เกิดวิกฤติการณ์ใด ๆ ขึ้นในบ้านเมืองเกินกว่ากำลังความสามารถที่จะใช้กลไกตามปกติของทางราชการและกฎหมายเยียวยาได้ พระมหากษัตริย์ของคนไทยจะทรงแก้ไขวิกฤติการณ์เหล่านั้นได้เสมอ
ด้วยเหตุนี้ ข้าพระพุทธเจ้าจึงค้นคว้าเรียบเรียงเขียน “พระราชอำนาจ” ขึ้นมาท่ามกลางกระแสวิกฤติการณ์และความเลวร้ายต่าง ๆ
และก็มิได้มีความคาดหวังแม้แต่น้อยว่าคนไทยจะให้ความสนใจในหนังสือนี้ เพราะข้าพระพุทธเจ้าถูกขัดขวางเป็นประจำจากคนบางกลุ่ม บางพวกเสมอ นับตั้งแต่ได้ออกหนังสือ “การใช้อำนาจ เป็นธรรมชาติของมนุษย์”
เมื่อข้าพระพุทธเจ้าได้น้อมรับกระแสพระราชดำรัสดังกล่าวนี้มาแล้ว ทำให้ต้องพยายามแพร่กระจายหนังสือเล่มนี้ให้กว้างขวางในหมู่คนไทยให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ เพื่อให้ “พระราชอำนาจ” ในใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาทมาเป็นมหาจักรขับเคลื่อนประเทศและประชาชนชาวไทยสืบไป
63 พระราชอำนาจกับระบอบประชาธิปไตยไทย
บทสัมภาษณ์ ลึกจากใจภักดิ์“อานันท์ ปันยารชุน”จากมติชนสุดสัปดาห์
ความเคร่งครัดและข้อปฏิบัติตามธรรมเนียมของราชสำนักกว่า 770 ปี ถูกจัดวางควบคู่กับความก้าวหน้าแห่งหลักประชาธิปไตยในช่วง 77 ปี
การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ถูกถ่ายทอดผ่านการรับสนองพระราชโองการ ของประมุขฝ่ายนิติบัญญัติ-บริหาร-ตุลาการ
นายอานันท์ปันยารชุน อดีตนายกรัฐมนตรีผู้เคยรับสนองพระบรมราชโองการ 2 สมัย สังเคราะห์การใช้อำนาจภายใต้พระราชอำนาจแห่งระบอบกษัตริย์ในรัฐธรรมนูญ ในยุคความขัดแย้งลงลึกถึงรากหญ้า
“ระบอบการปกครองของไทยตั้งแต่ พ.ศ.2475 หลังการเปลี่ยนแปลงการปกครองจากสมบูรณาญาสิทธิราชย์เป็นระบอบประชาธิปไตย เรามีเวลา 75 ปี จากสมบูรณาญาสิทธิราชย์ ซึ่งพระมหากษัตริย์ใช้ทศพิธราชธรรมปกครอง ซึ่งผมถือว่าเป็นหลักธรรมาภิบาลของไทยอย่างแท้จริง การใช้อำนาจท่านทรงไว้ซึ่งทศพิธราชธรรม 10 ข้อ เป็นการจำกัดอำนาจของท่านโดยทางอ้อม คือท่านจำกัดอำนาจของท่านเอง”
อดีตนายกรัฐมนตรี เรียบเรียง-ลำดับพัฒนาการแห่ง “เสาหลักประชาธิปไตย” ว่า ตั้งแต่ พ.ศ.2475-2552 ประเทศไทยให้ความสำคัญ หมกหมุ่นกับเรื่องรัฐธรรมนูญกับการเลือกตั้งค่อนข้างมากเกินไป โดยไม่เหลียวแลเลยว่าเสาหลักประชาธิปไตยอื่นๆ เช่น ความเป็นอิสระของสื่อ ความเป็นอิสระของกระบวนการยุติธรรม หลักในเรื่องนิติรัฐหรือนิตธรรม ความรับผิดชอบต่อการกระทำของตน (Accountability)
“เราสร้างบ้านประชาธิปไตย แต่เราไม่ได้ดูแลเสาเอก แทนที่จะเริ่มสร้างด้วยเสาไม้สัก ของเราเป็นไม้ไผ่ นี่คือจุดอ่อนของวิวัฒนาการระบอบประชาธิปไตย”
“พอเราเปลี่ยนแปลงการปกครองจากสมบุรณาญาสิทธิราชย์เป็นระบอบประชาธิปไตยก็ปรากฏว่า ไปผ่องถ่ายอำนาจมาจากพระมหากษัตริย์ แต่ไม่ได้ตกถึงมือประชาชนอย่างแท้จริง ไปตกอยู่ในผู้ก่อการ-ทหาร-ข้าราชการ-พลเรือน-นักการเมือง และนักธุรกิจการเมือง”
“ระบอบกษัตริย์อยู่มาประมาณ 770 ปีแล้ว แต่เป็นระบอบกษัตริย์ที่มีอำนาจโดยสมบูรณ์ภายใต้ขอบเขตของรัฐธรรมนูญ แต่ระบอบกษัตริย์เป็นหลักใหญ่นะ ไม่ใช่ระบอบประชาธิปไตยนะ”
“ผมก็คิดว่า ปัจจุบันนี้ระบอบพระมหากษัตริย์ก็ยังเป็นระบอบที่คนไทยส่วนใหญ่ยังอยากให้คงไว้ ซึ่งระบอบนี้ คนไม่เห็นด้วยอาจจะมี และผมคิดว่าคนไทยก็ต้องใจกว้างพอนะตราบใดที่ไม่ได้พูดจาถล่มทลายระบอบนี้ หรือทำลายสถาบันโดยวิธีการที่ผิดรัฐธรรมนูญ”
คำว่า “พระราชอำนาจ” จึงครอบคลุมความหมายกว้างกว่าคำที่บัญญัติตามรัฐธรรมนูญ
“เพราะแม้แต่พระราชอำนาจที่ผ่านฝ่ายนิติบัญญัติ ผ่านฝ่ายบริหาร ฝ่ายตุลาการ ที่ใช้อำนาจเองไม่มีเลย ทุกครั้งก็ต้องมีคนรับสนองพระบรมราชโองการ ท่านมีเพียงแต่ลงพระปรมาภิไธย”
“พระราชอำนาจ ซึ่งเป็นสิทธิของท่าน มีอำนาจที่จะพระราชทานคำปรึกษา อำนาจในการที่จะเตือนสติ มีอำนาจที่จะให้กำลังใจ มี 3 พระราชอำนาจเท่านั้น ซึ่งคุณจะเขียนรัฐธรรมนูญมาอย่างไรก็แล้วแต่”
การใช้พระราชอำนาจผ่านหัวหน้าฝ่ายบริหารที่ “อานันท์” มีประสบการณ์โดยตรงมีธรรมเนียมปฏิบัติ ที่ชัดเจน
“ถ้าจะให้ท่านลงพระปรมาภิไธย เรื่องแต่ละเรื่องนั้น ท่านก็ต้องทราบที่มาที่ไป เป็นหน้าที่ของนายกรัฐมนตรีที่จะต้องเข้าเฝ้าฯเป็นการส่วนพระองค์ เป็นหน้าที่ที่เรียกว่า ถวายงาน อย่างเช่น มีพระราชบัญญัติสำคัญ ก็ต้องไปกราบบังคมทูลท่านว่ามีจำนงอย่างไร จะมีผลบังคับใช้ในทางใด หรือถ้าเป็นงานบริหารจะมีโครงการอะไร อย่างสร้างเขื่อนที่ไหน ต้องไปกราบบังคมทูลรายงานท่าน ระหว่างรายงานท่านก็ไปขอคำปรึกษาท่านด้วย ถ้าไม่ไปถามท่านท่านก็ไม่ให้นะ”
“พระองค์มีพระราชอำนาจที่จะพระราชทานคำปรึกษา คือต้องมีคนไปรายงาน และไปถามความเห็นก่อน ท่านถึงจะพระราชทานคำปรึกษาแต่ไม่ใช่ว่าเป็นลักษณะที่เอาอันนั้น ไม่เอาอันนี้ไม่ใช่นะ เป็นการคุยกันเพื่อให้ทราบถึงเรื่องว่ามันเกิดขึ้นมาเพราะอะไร ผลจะเป็นอย่างไร ระหว่างนั้นท่านอาจเตือนสติบางอย่าง ท่านอาจให้กำลังใจ”
ตำแหน่งนายกรัฐมนตรี จึงต้องเคร่งครัดระมัดระวังไม่ให้เกิดการระคายเคืองเบื้องพระยุคลบาท
“ลักษณะของการเข้าเฝ้าฯ เมื่อสนทนากันเสร็จแล้วนายกฯ ไม่ออกมาพูดในที่สาธารณะ เพราะถ้าถ่ายทอดมาผิด พระองค์ท่านเสียนะ แล้วพวกท่านมาปฏิเสธก็ไม่ได้ นายกฯบางคนก่อนเข้าเฝ้าฯ ก็บอกว่าจะไปเรื่องอะไร ออกมายังพูดต่ออีก แล้วพูดผิดด้วย จะโดยตั้งใจหรือไม่ตั้งใจ ก็จะทำให้สถานะของพระเจ้าอยู่หัวในเรื่องของการอยู่เหนือการเมืองก็ดี เหนือความขัดแย้งก็ดี ทำให้พระองค์ท่านอยู่ในฐานะลำบาก”
“จะมาบอกว่า ท่านเห็นด้วยกับเรื่องนี้ จะเห็นด้วยหรือไม่ คนที่ไปเข้าเฝ้าฯไม่มีสิทธิมาพูด และการสนทนาระหว่างพระเจ้าอยู่หัวกับนายกรัฐมนตรีประมาณ 80%จะหายไป ระหว่างนั้นก็ไม่มีการจดบันทึก นายกฯก็ไม่มีสิทธิจะพูดนอกจากพระราชบัญญัติที่จะเสนอขึ้นไป ก็อาจจะนำมาเล่ากับรัฐมนตรีบางคนเท่านั้น”
“การเป็นนายกรัฐมนตรีต้องระมัดระวัง โดยเฉพาะการเข้าเฝ้าฯ อย่ามาใช้ประโยชน์จากการเข้าเฝ้าฯ และอย่าทำให้สถานะของพระองค์ท่านอยู่ในที่ล่อแหลม ภาษาธรรมดาเขาบอกว่า อย่าทำให้ระคายเคืองพระยุคลบาท แต่ความหมายคือ อย่ามาอ้าง”
อดีตนายกรัฐมนตรี จึงทั้งสลดใจ-แปลกใจที่ได้ยินการ “อ้าง” อย่างไม่บังควร
“ตลอดเวลาที่ผมเป็นนายกฯ 2 ครั้ง ครั้งแรก 1 ปี 5 เดือน ครั้งที่ 2 ราว 5-6 เดือน พระองค์ท่านไม่เคยก้าวก่ายเรื่องการเมืองเลย ไม่เคยเลย บางครั้งผมถึงสลดใจที่คนชอบอ้างต่างๆนานาและในสังคมไทย พระมหากษัตริย์เป็นที่เคารพรัก เป็นที่สักการบูชา แต่ก็มีความพยายามที่จะดึงสถาบันลงมา ดึงพระเจ้าอยู่หัวลงมาให้เปรอะเปื้อน”
“พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระองค์นี้มีบารมีมาก ไม่ได้เกิดจากรัฐธรรมนูญฉบับไหนเลย แต่เป็นบารมีที่ท่านสะสมมาจากการปฏิบัติพระองค์ท่านในฐานะพระมหากษัตริย์ สนใจกับกิจกรรมที่ท่านทำเพื่อประโยชน์สุขของประชาชนชาวสยาม ตั้งแต่ขึ้นครองราชย์มาท่านทำเรื่องทุกข์สุขของประชาชน และความมั่นคงของประเทศชาติ”
ในช่วงเวลา 7-8 ปี ที่ผ่านมา จึงมีปรากฏการณ์-ธรรมเนียม ที่ต่างไปจากอดีต ที่เมื่อนายกรัฐมนตรีมีโอกาสเข้าเฝ้าฯ แล้วถูกนำออกมาบอกเล่า
“จริงๆ ไม่ควรมีข่าวอะไรมาก นอกจากข่าวพระราชสำนัก และเข้าเฝ้าฯ มาแล้วอาจมีการบอกเล่าในส่วนที่เกี่ยวข้องกับสายงานที่ต้องไปทำต่อ ท่านไม่เคยแสดงว่าท่านต้องการอะไร ตั้งแต่สมัยก่อน 30-40 ปี แต่เวลามีรัฐประหารทีไรก็จะมีข่าวออกมาเสมอว่า เรื่องนี้ได้ไฟเขียวจากพระเจ้าอยู่หัวแล้ว ผมคิดว่ามันแปลก และไม่จริง”
“หรือเมื่อเร็วๆนี้ ทักษิณ (ชินวัตร) ก็เพิ่งให้สัมภาษณ์เรื่องเหตุการณ์ก่อนปฏิวัติ 19 กันยายน 49 ผมว่ามันเป็นเรื่องเพ้อฝันที่ไม่น่าเกิดขึ้น และมันไม่เป็นความจริง”
“เป็นเรื่องที่ใครก็ตาม ที่จะเป็นนายกรัฐมนตรีต้องเรียนรู้สิ่งเหล่านี้บ้าง ว่าอะไรควรทำ อะไรไม่ควรเปิดเผย เพราะฉะนั้น เป็นการเอาเปรียบพระเจ้าอยู่หัวนะ นายกรัฐมนตรีบางคนถึงขนาดเอากล้องทีวีไปถ่ายเพื่อให้คนดูได้ยินว่าคุยอะไรกับพระเจ้าอยู่หัวเรื่องอะไร ซึ่งไม่ถูก ไม่เหมาะสมที่จะทำ”
ในยุคความขัดแย้งลงลึกถึงระดับปัจเจกเข้าถึงครอบครัว “อานันท์” ไม่มองแบ่งแยก แต่รวบรวมประเด็นปัญหาจาก “ระบบ” ไปถึงตัวบุคคล
“ถ้ามีระบอบประชาธิปไตยที่ถูกต้องสมบูรณ์จะลดปัญหาคอร์รัปชั่นไปได้ หากนายกรัฐมนตรีไม่โกงคนหนึ่ง ประเทศก็จะดีขึ้นเยอะ เหมือนคำที่ว่า ถ้าหัวไม่ส่ายหางก็ไม่กล้าขยับ แต่ถ้าหัวส่าย หางยิ่งแกว่งใหญ่เลย ถ้านายกฯไม่กิน รัฐมนตรีไม่กิน นักการเมืองจะกินก็เหนื่อย นักธุรกิจก็เช่นกัน”
“ปัญหาสังคมไทยไม่ใช่เรื่องคอร์รัปชั่นอย่างเดียวนะ อาจมีคนดีตั้งใจ แต่ทำงานไม่เป็น ก็เหนื่อยเหมือนกันนะ หรือคนทำงานเก่งแต่ขี้โกง ก็เหนื่อยอีก”
64 พ่อหลวงของเราทรงเป็นตัวอย่างที่ดีที่สุดเท่าที่ผมเคยเห็นมา ไม่ว่าในด้านการปกครองหรือการใช้ชีวิตแบบพอเพียงอยากให้พสกนิกรทุกคนควรเอาพระองค์ท่านเป็นแบบอย่างในการดำเนินชีวิตต่อไปในวันข้างหน้าพวกเราอยากให้พระองค์พักบ้างเพราะพระองค์เหนื่อยมามากแล้ว ขอพระองค์ทรงพระเจริญ
65 พี่น้องชาวไทยทั้งหลาย..พวกเราอยู่อย่างมีความสุขภายใต้ร่มพระบารมีมาช้านาน ตั้งแต่สมัยบรรพบุรุษ ดังนั้นคนไทยทุกคนถึงได้สำนึกใน¬พระมหากรุณาธิคุณของในหลวงทุกพระองค์ เป็นเหตุให้คนไทยรัก และภักดีต่อในหลวง พวกเราทุกคนต่างรู้อยู่เต็มอก ว่าพระมหากรุณาธิคุณของในหลวงยิ่งใหญ่แค่ไหน เราคนไทย เรารัก เราเทิดทูน ในหลวงของเรา
66 พระองค์คือศุนย์รวมใจของคนไทย ขอพระองค์ทรงพระเจริญ หนูรัก “ในหลวง”หนูรัก “ในหลวง”หนูรัก “ในหลวง”หนูรัก “ในหลวง”หนูรัก “ในหลวง”หนูรัก “ในหลวง”
67 รำลึกพระมหากรุณาธิคุณ…พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร..รัชกาลที่ ๘ แห่งราชวงศ์จักรี
พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร เสด็จพระราชสมภพเมื่อวันอาทิตย์ที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2468 ณ เมืองไฮเดลแบร์ก ประเทศเยอรมนี
เป็นพระโอรสในสมเด็จพระเจ้าพี่ยาเธอ เจ้าฟ้ามหิดลอดุลยเดช กรมหลวงสงขลานครินทร์ (ภายหลังดำรงพระอิสริยยศเป็นสมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก) และหม่อมศรีสังวาลย์ (ภายหลังดำรงพระยศเป็น “สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี”) มีพระเชษฐภคินีและพระอนุชาร่วมพระชนกชนนีอีก 2 พระองค์ ได้แก่ สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ และสมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าภูมิพลอดุลยเดช (ภายหลังทรงขึ้นครองราชสมบัติเป็นพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช)
พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล เสด็จขึ้นทรงราชย์เป็นพระมหากษัตริย์ลำดับที่ 8 แห่งราชวงศ์จักรี เมื่อวันที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2477 ขณะที่มีพระชนมายุเพียง 8 พรรษาและประทับอยู่ที่ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ดังนั้น จึงมีการแต่งตั้งคณะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์เพื่อทำหน้าที่บริหารราชการแผ่นดินจนกว่าพระองค์จะทรงบรรลุนิติภาวะ
และพระองค์เสด็จสวรรคต เมื่อวันที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2489 รวมระยะเวลาที่ทรงครองสิริราชสมบัติทั้งสิ้น 12 ปี
68 ขอนำบางส่วนจากหนังสือ “เจ้านายเล็กๆ ยุวกษัตริย์” พระนิพนธ์ในสมเด็จพระพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ ซึ่งคนรักในหลวง ควรอ่านและหาเก็บไว้อ่าน ห้ามพลาดด้วยประการทั้งปวง
สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอฯ ทรงเขียนหนังสือเล่าพระราชประวัติเมื่อทรงพระเยาว์ของรัชกาลที่ 8 และรัชกาลที่ 9 พระองค์ทรงมีพระดำริว่าเป็นหนังสือที่พี่เขียนให้น้อง
หนังสือเล่มนี้เป็นหนังสือที่ “พี่สาว” บอกเล่าเรื่องราวของ “น้องชาย” ด้วยความรัก เป็นหนังสือที่ “อ่านเพลิน” และ “อิ่ม” มาก ภาพประกอบเยอะมาก (เกือบ 800 ภาพ) และล้วนแต่เป็นภาพหายากที่ไม่ค่อยจะได้เห็นกัน ทั้งสามพระองค์ตอนทรงพระเยาว์ทรงน่ารักมาก
อีกความรู้สึกที่เกิดขึ้นจากการอ่านหนังสือเล่มนี้ คือ รู้สึกเห็นใจทั้ง 4 พระองค์มาก จากครอบครัวเล็กๆ ที่ใช้ชีวิตสงบเรียบง่าย ต้องมาแบกรับภาระที่ยิ่งใหญ่ เด็กผู้ชายวัยกำลังซนคนหนึ่งต้องมาเป็นพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 8 ของคนไทยทั้งชาติ เป็นความรับผิดชอบที่หนักหนาอย่างไม่ต้องสงสัย
ในหลวงรัชกาลที่ 9 เองก็ขึ้นครองราชย์เมื่อยังหนุ่ม ในวัยนี้ถ้าเป็นคนธรรมดาอย่างเราๆ อยากจะกินก็กิน อยากจะเที่ยวก็เที่ยว อยากจะไปไหนก็ไปได้
แต่ในหลวงทำตามพระทัยตัวเองแบบนั้นไม่ได้ เพราะท่านคิดถึงคนไทยทุกคนก่อนเสมอ ท่านต้องอดทนและเสียสละความสุขสบายส่วนตัวเพื่อมาดูแลเราทุกคน
สมเด็จย่าท่านเลี้ยงดูและสอนพระโอรสพระธิดาได้ดีมากๆ ประเทศไทยของเราจึงมีพระมหากษัตริย์ผู้ทรงทศพิธราชธรรม เป็นร่มโพธิ์ร่มไทรให้เรามาจนทุกวันนี้

… “นันทได้บอกหลวงธำรงฯ ว่า ไม่อยากเป็นคิง เพราะ :
1. เป็นเด็ก
2. ไม่รู้จักอะไร
3. ขี้เกียจ
4. พระเก้าอี้ (นันท เรียกว่า Throne โทรน) สูงนัก แล้วนันทก็เป็นคนหลุกหลิก เดี๋ยวจะตกลงไป พระยาพหลฯ ก็จะดุเอา
5. เวลาไปไหนต้องกางร่ม ทำให้ไม่ได้แดด
6. จะเดินไปไหนก็มีคนเกะกะทั้งข้างหน้าข้างหลัง วิ่งไม่ได้
ข้อเหล่านี้นันทคิดขึ้นเองหมดทั้งนั้น เมื่อทราบว่าหลวงธำรงฯ จะมา” ….

“…หม่อมฉันได้พูดกับเจ้าพระยาศรีฯ และนายดิเรก ชัยนาม ด้วยถึงเรื่องร่างกายและการศึกษาต่อไป ทีแรกเจ้าพระยาศรีฯ เห็นว่านันทไม่ควรไปโรงเรียน ให้มีครูมาสอนที่บ้าน หม่อมฉันก็ตอบไปทันทีว่าหม่อมฉันเห็นตรงกันข้าม เพราะการเรียนคนเดียวจะทำให้เด็กไม่อยากเรียนเพราะไม่มีคนแข่ง และไม่สนุกเลยที่ไม่ได้มีเพื่อน จะทำให้นันทไม่มีความสุขที่ต้องแบกยศพระเจ้าแผ่นดินจนไม่มีเวลาจะเป็นเด็ก และพระเจ้าแผ่นดินก็จำเป็นมากที่จะต้องปะปนกับคนอื่น จะได้รู้จักนิสัยคนทั่วไป จะเป็นประโยชน์สำหรับบ้านเมืองที่มีการปกครองอย่างประชาธิปไตย เจ้าพระยาศรีฯ ก็เห็นด้วย
เมื่อเจ้าพระยาศรีฯ จะไปจากโลซานน์ หม่อมฉันก็บอกให้เป็นที่เข้าใจอีกว่า ทั้งลูกและหม่อมฉันไม่มีความต้องการยศและลาภเลย แต่การที่นันทต้องรับเป็นพระเจ้าแผ่นดินก็เพราะเห็นว่าเป็นหน้าที่ต่อบ้านเมือง เพราะฉะนั้นจะทำอะไรต่อไปขอให้พูดกันดีๆ อย่าบังคับและตัดอิสรภาพจนเหลือเกิน และสำหรับร่างกายและการศึกษาแล้วขอให้ได้เต็มที่ เวลานี้เป็นเด็กก็ขอให้เป็นเด็ก พระเจ้าแผ่นดินที่ร่างกายไม่แข็งแรงและโง่ก็ไม่เป็นสง่าสำหรับประเทศ…”

(นี่คือการสัมผัสครั้งแรกกับงานชลประทานและการปลูกป่า)

(ในปีแรกได้เห็นพิธีโกนจุกที่ตำหนักของสมเด็จพระพันวัสสาฯ จึงจำเอามาเล่น)

“ทำไมไม่ผูก”
แม่เล่าว่าในสมัยนั้นพระองค์อานันทฯ ซนมาก จึงต้องให้ใส่ที่รัดตัว มีสายคล้องคล้ายๆ กับสายบังเหียน โดยมากเมื่ออยู่ในบ้านจะเอาสายไปผูกไว้กับขาโต๊ะ พระองค์ชายก็ยอมให้ผูกอย่างดี วันหนึ่งแหนน (เนื่อง จินตดุล พี่เลี้ยงของสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอฯ) คงลืมผูก ท่านก็ถามขึ้นมาเองว่า “วันนี้ทำไมไม่ผูก”
สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอฯ ยังเล่าถึงพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาอานันทมหิดล ว่า พระองค์ชายมักจะเป็นผู้ชอบแหย่คน เช่น ผลักเขาหรือตีเขา ครั้งหนึ่งเมื่อไปอยู่ถึงเมืองโลซานน์แล้ว จะต้องมีการลงโทษเพราะพระองค์ชายชอบไปแกล้งลูกของผู้เฝ้าบ้าน ซึ่งตัวเล็กที่สุดในจำนวนเด็กที่วิ่งๆ อยู่ตามแถวนั้น อายุประมาณ 4-5 ขวบ
พี่น้องสองคนตั้งชื่อเขาว่า “เด็กคนเล็ก” วันหนึ่งพระองค์ชายก็ไปผลักเด็กคนนี้ในที่ที่อันตราย คือ ที่บันได
แม่จึงพูดว่า “เตือนมาหลายทีแล้ว คราวนี้เห็นจะต้องตี คิดว่าควรตีสักกี่ที” พระองค์ชายตอบว่า “หนึ่งที” แม่ก็ตอบว่า “เห็นจะไม่พอเพราะทำมาหลายที ควรเป็นสามที” จึงตกลงกันเช่นนั้น
ตั้งแต่นั้นมาก็ไม่ได้ผลักเขาอีก ส่วนพระองค์เล็ก(รัชกาลที่ 9) นั้น บางครั้งก็ต้องถูกทำโทษเหมือนกัน แต่น้อยกว่ามาก ไม่ใช่เพราะไม่ซน แต่แม่บอกว่าเพราะโดยมากพี่จะเป็นผู้นำ เมื่อเห็นตัวอย่างจากการถูกทำโทษของพี่ ก็จะระวังตัว

และ ทรงเล่าในหนังสือด้วย ว่า แม่ให้เล่นน้ำด้วย ตอนแรกๆ เล่นในถังเงินซึ่งสมเด็จย่า(สมเด็จพระพันวัสสาฯ) ทรงทำให้หลานๆ อาบน้ำในห้องน้ำ แต่ไม่สะดวกเพราะหนักมากและดำเร็ว แม่จึงให้ทำถังไม้ทาสีใช้แทน เครื่องเล่นประกอบ คือ ถ้วยชามตุ๊กตาและลูกมะพร้าวที่เขาใช้แล้ว
ในหนังสือเจ้านายเล็กๆ-ยุวกษัตริย์ มีภาพพระฉายาลักษณ์ของทั้ง 3 พระองค์ ซึ่งทรงตัดพระเกศาสั้นทั้ง 3 พระองค์
สมเด็จพระพี่นางฯ ทรงเล่าว่า เด็กโตที่เล่นอยู่กับพระองค์ชายไม่ใช่เด็กผู้ชายอื่นไกล แต่เป็นข้าพเจ้า ทุกหน้าร้อนเมื่อโรงเรียนปิด แม่ให้ตัดผมสั้นเหมือนผู้ชาย ซึ่งข้าพเจ้าชอบมาก พอถึงเวลาโรงเรียนเปิดผมก็ยาวพอดี

ตอนเวลาที่ยังเด็กๆ อยู่ พระองค์ชาย(รัชกาลที่ 8) ไม่สู้จะแข็งแรงนัก และเมื่อไปโดนอะไรเข้านิดหนึ่งก็จะเขียวขึ้นมา แพทย์บอกว่าเลือดจาง ให้ยามารับประทาน ในไม่ช้าก็ดีขึ้น แต่ระหว่างนั้นสมเด็จย่า(สมเด็จพระพันวัสสาฯ) ก็ทรงสังเกตว่าพระองค์ชายมีจ้ำเขียวๆ ที่องค์ รับสั่งกับป้าจุ่นว่า “มีคนเลี้ยงไม่พอ จึงระวังหลานของท่านไม่ดีปล่อยให้หกล้มหกลุก ชนนั่นชนนี่จนเขียวไปหมด” แม่ต้องไปเฝ้าและกราบทูลสาเหตุ แล้วก็ไม่รับสั่งอะไรอีก
เมื่ออยู่เมืองไทยสักปีหนึ่ง คือ เมื่อพระองค์ชายประมาณ 5 ขวบ และพระองค์เล็กประมาณ 3 ขวบ เป็นบิดกันทั้งสององค์ พระองค์ชายนั้นเป็นก่อน โดยมากถ้าเจ็บกัน ด้วยการติดเชื้ออะไรมา พระองค์ชายจะเป็นผู้เจ็บก่อนทุกครั้ง การรักษานั้น ต้องฉีดยา “เอ็มมิติน” (Emetine) เข็มหนึ่งและสวนด้วยยา “ยาเทรน” (Yatren) 2-3 ครั้งจึงหาย
ก่อนจะถูกฉีดยา แม่ได้อธิบายว่าจะเจ็บหน่อย พระองค์เล็ก(รัชกาลที่ 9) ถามว่า “ร้องไห้ได้ไหม”
แม่คิดว่าการเป็นบิดนี้คงเป็นเพราะเมื่อสมเด็จย่าทรงสั่งให้ทำไอติมหลอดน้ำอ้อยสดที่ข้างล่างของตำหนัก การทำคงไม่สะอาดพอ เพราะมีแมลงวันมาก

เมื่อถึงปี 2474 ข้าพเจ้าขึ้นประถมปีที่ 2 ที่โรงเรียนราชินี พระองค์ชายก็ขึ้นอนุบาล 2 ที่โรงเรียนมาแตร์ฯ ส่วนพระองค์เล็กก็เข้าโรงเรียนอนุบาลที่ครูพิเศษภาษาอังกฤษของข้าพเจ้าชื่อ มิสซิสเดวีส (Mrs.Davies) เปิดที่บ้าน สามีเป็นอาจารย์ที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ลูกของเขา เดวิดิสก็อยู่ในชั้นอนุบาลนี้ นักเรียนชั้นนี้ไม่ได้เรียนหนังสือ แต่จะวาดรูป ระบายสี ตัดกระดาษ หัดใช้กาว ฯลฯ พระองค์เล็กเวลานั้นมีพิเศษอยู่อย่างหนึ่ง คือ เมื่อตัดกระดาษจะอ้าปากปิดปากไปตามจังหวะที่ตัดไป
วันหนึ่งมิสซิสเดวีสได้จัดให้นักเรียนเล็กๆ แสดงอะไรเล็กน้อย เด็กๆ ได้ทำบัตรเชิญส่งให้ญาติพี่น้องด้วย มิสซิสเดวีสได้จัดเครื่องแต่งกายให้ด้วย เด็กผู้หญิงแต่งเป็นผีเสื้อ ชุดนี้ทำด้วยกระดาษห่อของที่นุ่มและบาง แต่ละคนก็สีหนึ่งๆ เด็กผู้ชายแต่งชุดผ้าเป็นกระต่าย แม่บอกว่าพระองค์เล็กไม่ชอบเลย เมื่อไปกราบบังคมทูลสัมภาษณ์ เมื่อวันที่ 25 ธันวาคม 2529 ยังรับสั่งว่า ไม่ชอบเลย รู้สึกว่ามัน ridiculous (ทุเร้ศ ทุเรศ)

เรื่องราวของ 3 พระองค์เป็นเรื่องที่อ่านแล้วมีความสุข สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอฯ ยังทรงเขียนอีกว่า ครั้งหนึ่งเมื่อโอกาสฉลองครบรอบ 100 ปี โรงเรียนเทพศิรินทร์ เมื่อ พ.ศ.2528 กรรมการโรงเรียนได้ขอให้พระองค์เขียนข้อความไปลงหนังสือที่ระลึกเกี่ยวกับพระองค์ชาย ระหว่างที่ทรงศึกษาอยู่โรงเรียนเทพศิรินทร์ พระองค์ทรงนำบทความบางส่วนมานำเสนอในหนังสือ “เจ้านายเล็กๆ-ยุวกษัตริย์” ความว่า
“พระองค์เจ้าอานันทมหิดลเสด็จโรงเรียนเพียงครึ่งวัน เนื่องจากไม่ทรงแข็งแรงนัก ตอนบ่ายจะทรงพักผ่อนและจะทรงหลับด้วย สัปดาห์ละสองสามครั้งจะมีครูชื่อ Mr.Matthews มาสอนภาษาอังกฤษที่วัง บางครั้ง Mr.Matthews ต้องไปอุ้มมาจากพระที่ เพราะทรงหลับสนิทจริงๆ
ข้าพเจ้าเองจำอะไรไม่ได้เกี่ยวกับการทรงศึกษาที่โรงเรียนเทพศิรินทร์ เว้นแต่ว่า ทุกเช้าพี่น้องสามคนจะต้องออกไปโรงเรียนด้วยกัน รถยนต์จะแวะส่งพระองค์เจ้าภูมิพลฯ ที่โรงเรียนมาแตร์เดอีก่อน แล้วจะแล่นไปที่โรงเรียนเทพศิรินทร์เพื่อส่งพระองค์เจ้าอานันทฯ และในที่สุดก็จะพาข้าพเจ้าไปที่โรงเรียนราชินี”

ในหนังสือ สมเด็จพระเจ้าพี่นางฯยังทรงเล่าถึงพระอนุชาทั้ง 2 พระองค์ว่า เมื่อพระองค์ชายอยู่โรงเรียนเทพศิรินทร์ สมเด็จพระพันวัสสาฯ รับสั่งให้พาไปนมัสการเจ้าอาวาสของวัดเทพศิรินทร์ คือ สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ เพื่อให้สมเด็จฯ อบรมธรรม ท่านได้สอนข้อธรรมะง่ายๆ ที่ปฏิบัติได้ เช่น ว่าเมื่อมียุงมาเกาะ อย่าไปตบ ให้เอามือลูบไปเสีย

วันหนึ่ง แม่ลงมาดูลูกชายสองคนซึ่งกำลังเล่นละลายเทียนไขในกระทะเล็กที่วางบนอั้งโล่ แม่เห็นคางคกอยู่ในกระทะตัวหนึ่ง แม่ก็เอะอะใหญ่และถามพระองค์ชายว่า สมเด็จฯ (สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์) เคยสอนเรื่องยุง ทำไมจึงมาทำอย่างนี้ พระองค์ชายตอบว่า สมเด็จฯไม่ได้สอนเรื่องคางคก
เมื่อข้าพเจ้าไปสัมภาษณ์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเมื่อเดือนธันวาคม 2529 ได้ทูลถามว่าทรงจำเรื่องคางคกนั้นได้ไหม รับสั่งว่าทรงจำได้ และคางคกนั้นไม่ได้ไปจับมา มันกระโดดลงไปในกระทะเองโดยบังเอิญ
ข้างต้นเป็นเพียงส่วนหนึ่งในหนังสือ “เจ้านายเล็กๆ-ยุวกษัตริย์” ซึ่งสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ ทรงพระนิพนธ์แด่พระอนุชาผู้เป็นที่รักยิ่ง
หนังสือเล่มนี้มีทั้งปกอ่อนและปกแข็ง แต่ขอแนะนำให้ซื้อปกแข็ง เพราะคุ้มค่าแน่นอน
69 สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี กับแง่มุมของกฎหมาย
เมื่อวันที่ ๒ เมษายน ๒๕๕๙ ซึ่งชาวไทยปลื้มปีติเป็นล้นพ้น เพราะเป็นโอกาสคล้ายวันพระราชสมภพของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ที่ทรงเป็นยอดดวงใจของพสกนิกรทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศ ไม่ว่าจะเป็นชาวจีน ลาว กัมพูชา และพม่ารามัญ ล้วนรักในพระองค์ที่เสด็จฯ ไปทรงเยี่ยมเยียนผู้ยากไร้ ด้อยโอกาส
และทรงสร้างเสริมโครงการพัฒนาในด้านต่างๆ ที่ล้วนเป็นประโยชน์ต่อชีวิตและความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นของพวกเขาเหล่านั้นอย่างเป็นรูปธรรมจับต้องได้
โดยไม่เลือกเพศ ผิวพรรณ ชาติ หรือเผ่าพันธุ์ใด จนเป็นที่เลื่องลือระบือไปทุกทิศา ล้วนแซ่ซ้องสรรเสริญในพระจริยาวัตรอันงดงาม ตลอดจนพระเกียรติคุณและพระกรุณาธิคุณอันหาที่สุดมิได้

วันนี้ผู้เขียนจึงอยากเขียนถึงพระเกียรติคุณของพระองค์ในด้านของกฎหมาย นอกเหนือจากเรื่องของวรรณคดี ประวัติศาสตร์ ภาษาศาสตร์ นิรุกติศาสตร์ วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี สิ่งแวดล้อม และศาสตร์อื่นอีกมากมายนับไม่ถ้วนที่ทรงสนพระทัยใฝ่ศึกษาและเรียนรู้อย่างลึกซึ้งซึ่งมีผู้เขียนถึงมามากมายแล้ว
ผู้อ่านบางท่านอาจยังไม่ทราบว่า พระองค์ท่านสนพระทัยในการฝึกอบรม บำบัด แก้ไข ฟื้นฟูจิตใจและร่างกายของเด็กและเยาวชนที่กระทำผิด ซึ่งเป็นงานโดยตรงของศาลเยาวชนและครอบครัว ที่เดิมคือ ศาลคดีเด็กและเยาวชน เด็กและเยาวชนเหล่านี้ หากศาลส่งตัวเข้ารับการบำบัดแก้ไข จะถูกส่งไปยังบ้านต่างๆ อันได้แก่ บ้านเมตตา บ้านกรุณา บ้านมุทิตา และบ้านอุเบกขา สำหรับเด็กและเยาวชนชาย กับบ้านปรานี สำหรับเด็กและเยาวชนหญิง
ทราบหรือไม่ว่าชื่ออันไพเราะของบ้านเหล่านี้ พระองค์ทรงพระราชทานนามให้ แทนชื่อสถานฝึกอบรม และสถานกักและอบรม ที่ใช้อยู่เดิมตั้งแต่ก่อตั้ง ศาลคดีเด็กและเยาวชน กับสถานพินิจเด็กและเยาวชน ตั้งแต่ปี ๒๔๙๔ ครั้นถึงปี ๒๕๑๗
พระองค์ท่านเสด็จพระราชดำเนินพร้อมด้วย สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ฯ ทรงเยี่ยมสถานฝึกอบรมชาย บริเวณที่ดิน ๑๖ ไร่ ที่บางนา และพระราชทานนามว่า “บ้านกรุณา” เป็นมงคลนาม

จากนั้นจึงพระราชทานนามอันเป็นมงคลจนครบทุกบ้าน ตามหลักพรหมวิหาร ๔ ของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
เพื่อใช้เป็นหลักในการฝึกอบรม บำบัด แก้ไข และฟื้นฟู เด็กและเยาวชน ด้วยความรัก ความเมตตา ความเอื้ออาทร ความพอใจรักใคร่ ความเที่ยงธรรม มิใช่ใช้อำนาจบาตรใหญ่กดขี่ข่มเหงรังแก เพราะเห็นว่าเด็กต่ำต้อยด้อยโอกาสขาดสิทธิอันพึงมีพึงได้ ดังปรากฏอยู่เสมอในคุกหรือเรือนจำที่ใช้ขังนักโทษชายหญิงที่เป็นผู้ใหญ่

เมื่อรัฐบาลญี่ปุ่นให้การสนับสนุนในการจัดตั้งสถานฝึกอบรมชายในระดับมาตรฐานสากล ขึ้นที่ตำบลคลองโยง อำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม
พระองค์ก็ทรงมีพระกรุณาธิคุณเป็นล้นเกล้าล้นกระหม่อม พระราชทานพระนามของพระองค์ใช้เป็นชื่อของสถานที่แห่งนี้ ว่า “ศูนย์ฝึกและอบรมเด็กและเยาวชนสิรินธร” ตามที่ศาลเยาวชนและครอบครัวขอพระราชทาน เป็นที่ปลื้มปีติแก่ผู้ปฏิบัติหน้าที่ในศาลเยาวชนและครอบครัวทั้งปวงเป็นยิ่งนัก
อนึ่ง เมื่อครั้งที่ผู้เขียนยังปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้บริหารศาลเยาวชนและครอบครัว วันหนึ่งผู้เขียนก็ได้รับสนองพระราชดำริที่มีรับสั่งให้เข้าไปบรรยายความรู้ในด้านการบำบัดแก้ไขฟื้นฟูเด็กและเยาวชนที่กระทำผิดแก่นักเรียนโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้าฯ ที่เขาชะโงก นครนายก
โดยพระองค์ท่านประทับฟังด้วยความสนพระทัย ทั้งยังทรงร่วมแลกเปลี่ยนความรู้ในเรื่องดังกล่าวกับผู้เขียนและนักเรียน ทรงเป็นผู้ใฝ่รู้ใฝ่เรียนโดยแท้จริง นับเป็นพระกรุณาธิคุณอย่างหาที่สุดมิได้

อีกเรื่องหนึ่งที่ผู้เขียนยังจำได้อย่างแม่นยำก็คือ ในขณะที่ผู้เขียนยังดำรงตำแหน่งเป็นผู้บริหารศาลเยาวชนและครอบครัวกลาง มีคุณหมอท่านหนึ่งที่เป็นกรรมการสถานสงเคราะห์เด็กของสภากาชาดไทย ได้มาปรึกษาถึงกรณีที่มีผู้รับเด็กกำพร้าที่อยู่ในความดูแลของสภากาชาดไทยไปเป็นบุตรบุญธรรม แล้วได้นำเด็กมาคืน
คุณหมอเล่าถึงพระราชปรารภของพระองค์ท่านที่ ว่า เนื่องจากเป็นเด็กกำพร้าที่อยู่ในความดูแลของสถานสงเคราะห์ กฎหมายจึงให้ร้องขอคืนต่อศาลเยาวชนและครอบครัว
ศาลเท่านั้นจึงเป็นผู้เดียวที่จะใช้ดุลพินิจพิพากษาให้เลิกรับบุตรบุญธรรมได้ ทรงเห็นว่าการรับเลี้ยงเด็กไม่ควรเหมือนการเลี้ยงสุนัข เลี้ยงแมว
ที่ไม่พอใจขึ้นมาก็เลิกเลี้ยง เอามาปล่อย นึกถึงจิตใจของเด็กบ้าง ว่าจะอยู่ต่อไปอย่างไร
ผู้เขียนยอมรับ ว่า ปัญหาลึกซึ้งที่ทรงหยิบยกขึ้นนี้เป็นปัญหาสำคัญ ซึ่งทางศาลเยาวชนและครอบครัวไม่เคยคิดมาก่อนเลย จึงต้องนำมาประชุมปรึกษาหารือกันเป็นการด่วน ว่าไม่ควรเห็นเป็นเรื่องเล็ก เพราะเป็นเรื่องละเอียดอ่อนในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ที่จะต้องดูแลด้วยความรอบคอบและระมัดระวังอย่างยิ่งยวด ดังที่ทรงปรารภไว้นั้น
ในโอกาสอันสำคัญและเป็นมงคลยิ่งนี้ ผู้เขียนขอกราบแทบพระบาท รำลึกนึกถึงพระเกียรติคุณและพระกรุณาธิคุณอย่างหาที่สุดมิได้ ในแง่มุมบางส่วนของกฎหมาย ที่ทรงมีต่อพสกนิกรชาวไทย โดยเฉพาะกลุ่มคนผู้ยากไร้และด้อยโอกาสที่ปราศจากผู้ดูแลและนึกถึง
ขอถวายพระพร ในนามของนักกฎหมายผู้หนึ่ง ให้ทรงพระเกษมสำราญ
ทรงพระเจริญยิ่งยืนนาน
ด้วยเกล้าด้วยกระหม่อม ขอเดชะ
70 “…หลักของคุณธรรมคือ
การคิดด้วยจิตใจที่เป็นกลาง
ก่อนที่จะพูด จะทำสิ่งใด
จำเป็นต้องหยุดคิดเสียก่อน
รวบรวมสติให้ตั้งมั่นไม่โอนเอน…”
(พระบรมราโชวาทในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรแก่บัณฑิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ณ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย วันศุกร์ที่ 10 กรกฎาคม 2535)
71 “…ผู้หนักแน่นในสัจจะ พูดอย่างไรทำอย่างนั้น จึงจะได้รับความสำเร็จ
พร้อมทั้งความศรัทธา เชื่อถือ และความยกย่องสรรเสริญจากคนทุกฝ่าย
…การพุดแล้วทำ คือพูดจริงทำจริง จึงเป็นปัจจัยสำคัญ ในการส่งเสริมเกียรติคุณของบุคคลให้เด่นชัด…”
(พระบรมราโชวาท พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
จาก ๑๐๘ มงคลเพื่อความสุขและความสำเร็จของชีวิตที่ยั่งยืน)
72
“…ปัญหาทุกอย่างไม่ว่าเล็กหรือใหญ่มีทางแก้ไขได้ถ้ารู้จักคิดให้ดี
ปฏิบัติให้ถูก การคิดให้ดี มิใช่การคิดได้ด้วยลูกคิดหรือด้วยสมองกล
เพราะโลกเราในปัจจุบันจะวิวัฒนาการไปมากเพียงใดก็ตาม
ก็ยังไม่มีเครื่องมืออันวิเศษชนิดใดสามารถขบคิดแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ได้อย่างสมบูรณ์
การขบคิดวินิจฉัยปัญหาจึงต้องใช้สติปัญญาคือคิดด้วยสติรู้ตัวอยู่เสมอ
เพื่อหยุดยั้งและป้องกันความประมาทผิดพลาดและอคติต่าง ๆ มิให้เกิดขึ้น
ช่วยให้การใช้ปัญญาพิจารณาปัญหาต่าง ๆ เป็นไปอย่างเที่ยงตรง
ทำให้เห็นเหตุเห็นผลที่เกี่ยวเนื่องกันเป็นกระบวนการได้กระจ่างชัดทุกขั้นตอน”
(พระบรมราโชวาท พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
จาก ๑๐๘ มงคลเพื่อความสุขและความสำเร็จของชีวิตที่ยั่งยืน)
73
“ในการปฏิบัติราชการนั้น ขอใหทําหนาที่เพื่อหนาที่ อยานึกถึงบําเหน็จรางวัลหรือผลประโยชนใหมาก
ขอใหถือวาการทําหนาที่ไดสมบูรณเปนทั้งรางวัลและประโยชนอยางประเสริฐ
จะทําให้บ้านเมืองไทยของเราอยูเย็นเปนสุขและมั่นคง
(พระบรมราโชวาท เนื่องในโอกาสวันข้าราชการพลเรือน พุทธศักราช ๒๕๓๓)
74 “…เป็นความจริงอยู่โดยธรรมดาที่บุคคลในสังคมนั้น
ย่อมมีอัธยาศัยจิตใจแตกต่างเหลื่อมล้ำกันเป็นหลายระดับ
ขึ้นอยู่กับพื้นฐานภูมิธรรมของตน บางคนก็มีความคิดจิตใจสูง
มีความประพฤติปฏิบัติดีงาม เป็นคุณประโยชน์อยู่แล้วเป็นปกติ
แต่บางคนก็ไม่สามารถจะทำเช่นนั้นได้เพราะยังไม่เห็นคุณค่าของการปฏิบัติดี
จึงมักก่อปัญหาให้แก่สังคม
(พระบรมราโชวาท พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว จาก ๑๐๘ มงคลเพื่อความสุขและความสำเร็จของชีวิตที่ยั่งยืน)
75 “…แม้ปัจจุบันโลกเราจะวิวัฒนาการก้าวหน้าไปเพียงใดก็ตาม แต่ปัญหาต่าง ๆ
ก็มีได้เปลี่ยนแปลงไป เพียงแต่มีตัวอย่างทั้งดีและไม่ดี ปรากฏให้เห็นเด่นชัดมากกว่าแต่ก่อน
ดังนั้น บุคคลผู้สามารถประคับประคองตนให้อยู่ในสังคมได้อย่างเป็นสุข
จึงต้องมีความเข้มแข็งยิ่งขึ้นที่จะยึดมั่นปฏิบัติมั่นตามแบบอย่างที่พิจารณา
รู้ชัดด้วยปัญญาแล้วว่าเป็นทางแห่งความดี ความเจริญ
ไม่ปล่อยตัวปล่อยใจให้มัวเมาหลงผิดไปในทางเสื่อมเสีย
พร้อมกันนั้นก็จะต้องมีสติกำกับอยู่ตลอดเวลา
ที่จะไม่ให้ประพฤติปฏิบัติผิดพลาด ด้วยความประมาทพลั้งเผลอ…”
(พระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระราชทานเพื่อเชิญไปอ่าน
ในพิธีเปิดการประชุมการสังคมสงเคราะห์แห่งชาติ ครั้งที่ ๑๕
ณ โรงแรมแอมบาสซาเดอร์ วันพฤหัสบดีที่ ๒๕ เมษายน ๒๕๓๙)
76 “…เพราะว่าเป็นประเทศของเราไม่ใช่ประเทศของหนึ่งคนสองคน
เป็นประเทศของคนทุกคนเพราะปัญหามีอยู่ที่เวลาเกิดจะใช้คำว่า
บ้าเลือดเวลาคนมีการปฏิบัติรุนแรงมันลืมตัว
ลงท้ายเขาไม่รู้ว่าตีกันเพราะอะไรแล้วก็จะแก้ปัญหาอะไร
เพียงแต่ว่าจะต้องเอาชนะแล้วใครจะชนะ ไม่มีทางอันตรายทั้งนั้น
มีแต่แพ้คือต่างคนต่างแพ้ผู้ที่เผชิญหน้าก็แพ้ แล้วที่แพ้ที่สุด
ก็คือประเทศชาติประชาชนจะเป็นประชาชนทั้งประเทศ
ไม่ใช่ประชาชนเฉพาะในกรุงเทพมหานคร
ถ้าสมมติว่าเฉพาะในกรุงเทพมหานครเสียหายไป
ประเทศก็เสียหายไปทั้งหมด แล้วก็จะมีประโยชน์อะไรที่จะทะนงตัว
ว่าชนะเวลาอยู่บนกองซากปรักหักพัง…”
(พระราชดำรัสในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระราชทานเมื่อวันที่ ๒๐ พฤษภาคม ๒๕๓๕)
77 “…ท่านผู้ใหญ่ไปตรวจราชการที่ไหน ถ้าไปถึงไม่มีใครเลี้ยงก็โกรธ
แต่ถ้าไปถึงแล้วเลี้ยงก็พอใจ แต่ว่าเงินที่เลี้ยง… เอามาจากไหน
เมื่อไม่มีเงินรับรองของส่วนภูมิภาคก็ต้องไปเรี่ยไรกัน
ไปเรี่ยไรจากข้าราชการชั้นผู้น้อย หรือ ไม่อย่างนั้นก็ไปขูดรีดจากพ่อค้า
แล้วพ่อค้าก็ต้องถือว่า เป็นการลงทุน มันก็กลายเป็นคอรัปชั่นไป…”
( พระราชดำรัสพระราชทานแก่คณะกรรมการอำนวยการสภาสังคมสงเคราะห์แห่งประเทศไทยฯ
ณ พระตำหนักจิตรลดารโหฐาน เมื่อวันที่ 24 กันยายน 2512 )
78 “…การใช้หลักวิชาการและความคิดริเริ่มสร้างงานที่อาจดูไม่ใหญ่โตนัก
แต่มีประสิทธิภาพสูงและอำนวยประโยชน์โดยตรงได้มาก
โดยนำเอาทรัพยากรธรรมชาติ ความรู้ ความสามารถ
ตลอดจนแรงงานของคนส่วนใหญ่ ให้ได้เต็มเม็ดเต็มหน่วย
และให้เกิดการเสียหายหรือความสูญเปล่าน้อยที่สุด
การสร้างความเจริญในลักษณะนี้
จะช่วยเสริมสร้างความเจริญของกิจการส่วนรวมได้แน่นอน…”
(พระบรมราโชวาทในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรของสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า
ณ วิทยาเขตเจ้าคุณทหารลาดกระบัง วันที่ ๑๘ ตุลาคม พุทธศักราช ๒๕๔๐)
79 “…ท่านก็ตักเตือนอยู่ว่า ให้คิดดี ทำดี ถูกต้อง ให้โอวาทกับตัวเองเพราะว่า
ไม่มีใครให้โอวาทแล้ว เราสบายใจก็เข้าใจว่า ท่านทั้งหลายอาจจะได้ยิน ได้ยิน
สมเด็จพระบรมราชชนนี ท่านให้โอวาทลูก แล้วเราก็ให้โอวาทข้าราชการ
ใครต่อใครที่อยู่ในที่นี้ ประชาชนทั่วไปว่าทำอะไร ถ้าทำดีก็ปลาบปลื้มกัน
ถ้าทำไม่ดีพิจารณาตัวเองว่า ไม่ดี เว้นไว้ ยังมีที่ควรจะเป็น
พวกนี้ก็ประชาชนเหมือนกัน พวกนี้บางคนบางทีเขาก็นึกว่าเขาไม่เป็นประชาชน
จริง ๆ ก็เป็นประชาชน ถูกให้โอวาทเหมือนกัน
(พระราชดำรัส พระราชทานแก่บุคคลต่าง ๆ ที่เข้าเฝ้าฯ ถวายชัยมงคล
เนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา ณ ศาลาดุสิดาลัย
สวนจิตรลดาฯ พระราชวังดุสิต วันจันทร์ที่ ๔ ธันวาคม ๒๕๓๘)

80 “…ในการปฏิบัติงานนั้น ย่อมมีปัญหาต่าง ๆ เกิดขึ้นได้เสมอ
เมื่อปัญหาเกิดขึ้นต้องแก้ไข อย่าทิ้งไว้พอกพูนลุกลามจนแก้ยาก
ขอให้ทุกคนระลึกว่าปัญหาทุกอย่างมีทางแก้ไขได้ ถ้าแก้คนเดียวไม่ได้ก็ช่วยกันคิด
ช่วยกันแก้หลาย ๆ คนหลาย ๆ ทาง ด้วยความร่วมมือปรองดองกัน
ปัญหาที่เกิดขึ้นนั้นจักได้ไม่กลายเป็นอุปสรรคขัดขวาง
และบั่นทอนทำลายความเจริญและความสำเร็จของการงาน…”
(พระบรมราโชวาท พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
จาก ๑๐๘ มงคลเพื่อความสุขและความสำเร็จของชีวิตที่ยั่งยืน)
81 “…คนไม่มีความสุจริต คนไม่มีความมั่นคง ชอบแต่มักง่าย
ไม่มีวันจะสร้างสรรค์ประโยชน์ส่วนรวมที่สำคัญอันใดได้
ผู้ที่มีความสุจริตและความมุ่งมั่นเท่านั้น
จึงจะทำงานสำคัญยิ่งใหญ่ที่เป็นคุณประโยชน์แท้จริงได้สำเร็จ…”
(พระบรมราโชวาท พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
จาก ๑๐๘ มงคลเพื่อความสุขและความสำเร็จของชีวิตที่ยั่งยืน)
82 “…ผู้ใดมีความรู้ใดก็ควรจะแพร่ออกไปให้คนอื่นทราบ
เพราะว่าการเผยแพร่ความรู้ ความสามารถไปให้ผู้อื่นนั้นไม่ได้เสียประโยชน์ใด ๆ
เพราะว่าความรู้ และความดีเมื่อเผยแพร่ออกไปยิ่งทวีคูณขึ้น ไม่ได้หมดไปจากตัว
ยิ่งทำดียิ่งทำให้คนอื่นมีความรู้ ความรู้ของเราก็ไม่หมดลงไป ยิ่งเพิ่มพูนมากขึ้น อันนี้เรียกว่า การสร้างบารมี…”
(พระบรมราโชวาท พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
จาก ๑๐๘ มงคลเพื่อความสุขและความสำเร็จของชีวิตที่ยั่งยืน)
83 “คำว่า “สหกรณ์” แปลว่า การทำงานร่วมกัน การทำงานร่วมกันนี้ลึกซึ้งมาก
เพราะว่าจะต้องร่วมมือกันในทุกด้าน ทั้งในด้านงานการที่ทำด้วยร่างกาย
ทั้งในด้านการที่ทำด้วยสมอง และงานการที่ทำด้วยใจ ทุกอย่างนี้ขาดไม่ได้ ต้องพร้อม
งานที่ทำด้วยร่างกาย ถ้าแต่ละคนทำก็เกิดผลขึ้นมาได้ เช่น การเพาะปลูกก็มีผลขึ้นมา
สามารถที่จะใช้ผลนั้นในด้านการบริโภค คือ เอาไปรับประทาน
หรือเอาไปไว้ใช้หรือเอาไปจำหน่าย เพื่อให้มีรายได้เลี้ยงชีพได้ ถ้าแต่ละคนทำไปโดยลำพังแต่ละคน
งานที่ทำนั้นผลอาจไม่ได้เต็มเม็ดเต็มหน่วย และอาจจะไม่พอเพียงในการเลี้ยงตัวเอง
ทำให้มีความเดือดร้อน ฉะนั้น จะต้องร่วมกัน แม้ในขั้นที่ทำในครอบครัวก็จะต้องช่วยกัน
ทุกคนในครอบครัวก็ช่วยกันทำงานทำการ เพื่อที่จะเลี้ยงครอบครัวให้มีชีวิตอยู่ได้
แต่ว่าถ้าร่วมกันหลาย ๆ คน เป็นกลุ่มเป็นก้อน
ก็สามารถที่จะปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ มีความสามารถ มีผลได้มากขึ้น”
(พระราชดำรัสที่ได้พระราชทานแก่ผู้นำสหกรณ์ทั่วประเทศ
เมื่อครั้งเข้าเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาท ณ ศาลาดุสิดาลัยฯ เมื่อวันที่ ๑๑ พฤษภาคม ๒๕๓๖)

84 “…ทุกคนต้องการความสุข ทุกคนต้องการแสวงหาความสุข
แต่ว่าบางทีก็มีความรู้สึกมีทุกข์ เราก็อยากขจัดความทุกข์
การที่ทำบุญนี้เป็นการเตรียมตัวที่จะขจัดความทุกข์ที่จะเกิดขึ้นมาได้
เพราะว่าถ้าจะสร้างสภาพจิตของเราให้มีความสุข เราก็จะมีความสุข
ถ้าพูดแบบนี้จะเข้าใจหลักธรรมะคือ เราไม่สร้าง
ไม่ยอมให้เหตุของทุกข์เกิดขึ้น เราก็ไม่ต้องเป็นทุกข์…”
(พระบรมราโชวาท พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
จาก ๑๐๘ มงคลเพื่อความสุขและความสำเร็จของชีวิตที่ยั่งยืน)
85 “…การจะเล่าเรียน หรือทำการใด ๆ ให้สำเร็จได้ด้วยดีโดยตลอดนั้น
ขึ้นอยู่กับความตั้งใจจริงเป็นใหญ่ เพราะความตั้งใจ
จริงนี้เป็นเครื่องมือสำคัญที่จะช่วยกำจัดความเกียจคร้าน
ความอ่อนแอ และความท้อถอยได้อย่างดียิ่ง จะปลูกฝังความเอาใจใส่
ความขยันหมั่นเพียร และความเข็มแข็งให้เกิดเป็นนิสัย และนิสัยที่ดีที่ปลูกไว้แต่เยาว์วัย
จะเป็นคุณสมบัติติดตัวไปในวันข้างหน้า จะช่วยพาตัวให้องอาจ
สามารถเอาชนะอุปสรรคและปัญหาต่าง ๆ ได้โดยตลอด
และประสบความสำเร็จ ความเจริญรุ่งเรืองต่อไปในชีวิต…”
(พระบรมราโชวาท พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
จาก ๑๐๘ มงคลเพื่อความสุขและความสำเร็จของชีวิตที่ยั่งยืน)
86 “….ความจริงใจต่อผู้อื่น เป็นคุณธรรมสำคัญมากสำหรับผู้ที่ต้องการความสำเร็จและความเจริญ
เพราะช่วยให้สามารถขจัดปัดเป่าปัญหาได้มากมาย
โดยเฉพาะอย่างยิ่งปัญหาอันเกิดจากความกินแหนงแคลงใจและเอารัดเอาเปรียบกัน
นอกจากนั้น ยังทำให้ได้รับความเชื่อถือไว้วางใจ และความร่วมมือสนับสนุนจากทุกคน
ทุกฝ่าย ที่ถือมั่นในเหตุผลและความดี ผู้มีความจริงใจจะทำการสิ่งใดก็มักสำเร็จได้โดยราบรื่น….”
(พระบรมราโชวาท พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
จาก ๑๐๘ มงคลเพื่อความสุขและความสำเร็จของชีวิตที่ยั่งยืน)
87 “…สัจวาจานั้นเป็นรากฐานของการทำงานหรือการดำรงชีวิตที่ดีที่งาม
ที่มีความก้าวหน้า มีความสำเร็จสัจ เป็นการตั้งใจ ตั้งจิตใจวาจา
เป็นคำพูดออกมาแสดงถึงคำพูดนั้นต้องออกมาจากใจ
คือเป็นการตั้งใจที่จะทำอะไรเพื่อความสำเร็จในงานนั้น…”
(พระบรมราโชวาท พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
จาก ๑๐๘ มงคลเพื่อความสุขและความสำเร็จของชีวิตที่ยั่งยืน)
88 “…ข้าพเจ้าใคร่ขอให้ท่านทั้งหลายจงมั่นอยู่ในความซื่อสัตย์สุจริต
ถือเอาประโยชน์ส่วนรวมเป็นที่ตั้ง เพราะคุณธรรมอันนี้เป็นมูลฐานอันสำคัญที่จะยังความเจริญ
และความเป็นปึกแผ่นแก่สังคม เป็นบ่อเกิดแห่งความสามัคคีกลมเกลียว
ความซื่อสัตย์ที่ว่านี้ หมายถึง ความสุจริตซื่อตรงต่อหน้าที่การงาน
ต่อตนเองและต่อผู้อื่นที่เกี่ยวข้อง มีเจตนาบริสุทธิ์ไม่เอารัดเอาเปรียบ…”
(พระบรมราโชวาท พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
จาก ๑๐๘ มงคลเพื่อความสุขและความสำเร็จของชีวิตที่ยั่งยืน)
89 “ทหารผ่านศึก เป็นผู้มีเกียรติ เพราะเสียสละประโยชน์สุขส่วนตน
แม้กระทั่งเลือดเนื้อและชีวิต เพื่อบ้านเมืองและส่วนรวม
ขอให้ภูมิใจและตั้งใจรักษาเกียรติอันแท้จริงที่มีอยู่นั้นไว้ทุกเมื่อ”
(พระบรมราโชวาทของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระราชทานเนื่องในโอกาส
วันทหารผ่านศึก ๓ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๓๓
ณ พระตำหนักจิตรดารโหฐาน เมื่อ ๒๓ มกราคม พ.ศ.๒๕๓๓)
90 ”…ชาติไทยเรานั้นได้มีเอกราช มีภาษา ศิลปะ
และขนบธรรมเนียมประเพณีเป็นของตนเองมาช้านานหลายศตวรรษแล้ว
ทั้งนี้ เพราะบรรพบุรุษของเราได้เสียสละอุทิศชีวิต กำลังทั้งกายและใจ
สะสมสิ่งเหล่านี้ไว้ให้ พวกเรา จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่เราจะต้องรักษา
สิ่งเหล่านี้ไว้ให้คงทนถาวรตกเป็นมรดกของอนุชนรุ่นหลังต่อไป…”
(พระราชดำรัสในพิธีเปิดพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ รามคำแหง จังหวัดสุโขทัย
เมื่อวันที่ 25 มกราคม 2507)
91 “…การสร้างสรรค์แผ่นดินไทยให้เป็นแผ่นดินทอง
หรือการช่วยตัวเองในปัจจุบันนี้ เห็นว่าจำเป็นอย่างยิ่ง
ที่จะต้องทำความสงบให้เกิดขึ้นโดยเร็ว เพราะถ้าความไม่สงบยังไม่เกิด
เราจะคิดอ่านแก้ปัญหา หรือจะรวมกำลังกันทำการงานช่วยตัวเองหาได้ไม่…”
(พระบรมราโชวาท พระราชทานเพื่อเชิญไปอ่านในพิธีเปิดการประชุมยุวพุทธิกสมาคมทั่วประเทศ
ครั้งที่ ๑๘ ณ สถาบันพัฒนาข้าราชการพลเรือน สำนักงาน ก.พ. วันเสาร์ที่ ๓๑ มกราคม ๒๕๓๐)
92 “ฉันถือว่าฉันเป็นพลเมืองคนหนึ่ง ซึ่งมีตำแหน่งนี้ ตราบนั้นฉันต้องปฏิบัติหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายให้สมบูรณ์”
(พระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว)
93 “..สัจจวาจานั้น เป็นรากฐานของการทำงาน
หรือการดำรงชีวิตที่ดี ที่งาม ที่มีความก้าวหน้า มีความสำเร็จ
‘สัจจะ’ เป็นการตั้งใจ ตั้งจิตใจ
‘วาจา’ เป็นคำพูดออกมา
แสดงถึงคำพูดนั้นต้องออกมาจากใจ
คือเป็นการตั้งใจที่จะทำอะไรเพื่อความสำเร็จในงานนั้น..”
(พระบรมราโชวาทของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในโอกาสที่ผู้พิพากษา
ประจำกระทรวงยุติธรรมเฝ้าฯถวายสัตย์ปฏิญาณก่อนเข้ารับหน้าที่
เมื่อวันที่ ๑๘ มีนาคม พุทธศักราช ๒๕๒๕)
94 “..สัจจวาจานั้น เป็นรากฐานของการทำงาน
หรือการดำรงชีวิตที่ดี ที่งาม ที่มีความก้าวหน้า มีความสำเร็จ
‘สัจจะ’ เป็นการตั้งใจ ตั้งจิตใจ
‘วาจา’ เป็นคำพูดออกมา
แสดงถึงคำพูดนั้นต้องออกมาจากใจ
คือเป็นการตั้งใจที่จะทำอะไรเพื่อความสำเร็จในงานนั้น..”
(พระบรมราโชวาทของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในโอกาสที่ผู้พิพากษา
ประจำกระทรวงยุติธรรมเฝ้าฯถวายสัตย์ปฏิญาณก่อนเข้ารับหน้าที่
เมื่อวันที่ ๑๘ มีนาคม พุทธศักราช ๒๕๒๕)
95 นอกจากจะสอนให้คนเก่งแล้ว จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องอบรมให้ดีพร้อมกันไปด้วย
ประเทศของเราจึงจะได้คนที่มีคุณภาพพร้อม คือทั้งเก่ง ทั้งดี
มาเป็นกำลังของบ้านเมือง กล่าวคือ ให้ความเก่งเป็นปัจจัยและพลังสำหรับการสร้างสรรค์
ให้ความดีเป็นปัจจัยและพลังประคับประคองหนุนนำความเก่งให้เป็นไปในทางที่ถูกที่ควร
ที่อำนวยผลเป็นประโยชน์ อันพึงประสงค์แต่ฝ่ายเดียว
(พระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในพิธีทูลเกล้าฯ
ถวายปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ของ ๕ สถาบัน วันที่ ๓ ตุลาคม ๒๕๓๒)

96 …งานของครู นอกจากสอนให้รู้วิชาการแล้ว ยังต้องฝึกฝนอบรมความประพฤติปฏิบัติให้แก่ศิษย์ด้วย
งานประการหลังนี้ รู้สึกกันในเวลานี้ว่า ทำได้ลำบากยิ่งนัก
เลยเป็นเหตุให้หลายคนพากันละวางความสนใจไปเสียเฉย ๆ
ผู้ที่รู้อุบายอันแยบคาย จะไม่มองข้ามการอบรมความประพฤติของเด็กเป็นอันขาด
และย่อมจะพยายามทำงานด้านนี้มิให้ย่อหย่อนไปกว่าการสอนวิชา
เพราะเขาสามารถทำได้ คือ ผู้ฉลาดย่อมรู้ธรรมชาติของเด็กว่าเด็กวัยใด
ลักษณะใด ชอบการฝึกหัดอบรมแบบใด เขาย่อมสังเกตทราบว่า
เด็กวัยหนึ่งต้องหัด ต้องประคับประคองให้ทำ จึงจะได้ผล อีกวัยหนึ่งต้องเคี่ยวเข็ญ
ต้องบังคับ ต้องกวดขันให้ทำ จึงจะได้ผล
อีกวัยหนึ่งต้องแสดงเหตุผลผิดชอบชั่วดีให้เห็นก่อน เพื่อชักนำให้ทำ จึงจะได้ผล
แต่ไม่ว่าจะสอนเด็กวัยใด ลักษณะใด ผู้สอนจะต้องลงมือประพฤติเป็นตัวอย่างด้วยตนเอง
ให้ได้เห็นได้ดูอยู่ตลอดเวลา โดยไม่ละเลยความประพฤติปฏิบัติที่ต้องการจะให้เกิดมีในตัวเด็กเป็นอันขาด…”
(พระบรมราโชวาทของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
พระราชทานแก่ผู้สำเร็จการศึกษาจากมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ๒๑ มิถุนายน ๒๕๒๒)
97 “เด็กไทยต้องฝึกอบรมธรรมจริยาให้สมบูรณ์พร้อมในตนเอง
จักได้เป็นคนดีมีคุณมีประโยชน์ และสามารถรักษาตัว
รักษาชาติบ้านเมือง ให้ดำรงคงอยู่ด้วยความเจริญมั่นคงต่อไปได้”
(พระบรมราโชวาทของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระราชทานเนื่องในวันเด็กแห่งชาติ ปี ๒๕๓๔)
98 ชาวบ้านร่วมใจ สร้างฝายชะลอน้ำ รักน้ำ รักป่า รักษาแผ่นดิน
องค์การบริหารส่วนตำบลหินดาต /ชป.มวลชน อ.ปางศิลาทอง กกล.รส.พล.ร.๔ สย.๑(จว.ก.พ.) /นายจำรูญ กาฬภักดี นายก อบต.หินดาต/ผู้นำท้องถิ่น/ผู้นำหมู่บ้าน/คณครู กศน.ตำบลหินดาต/นักเรียนโรงเรียน บ้านอุดมทรัพย์ /นายวิสา ศรีสาทร หน.ปภ. /ชาวบ้าน ร่วมแรงผนึกกำลังสร้างฝายชะลอน้ำ(ฝายแม้ว)ตามโครงการ”สร้างฝายชะลอน้ำ รักน้ำ รักป่า รักษาแผ่นดิน”ประจำปี ๒๕๕๙ เพื่อฉลองสิริราชสมบัติครบ ๗๐ พรรษา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เฉลิมพระชนมพรรษา ๗ รอบ สมเด็จพระนางเจ้าฯพระบรมราชินีนาถ ณ คลองในโครงการบ้านเล็กในป่าใหญ่ ม.๘ บ.อุดมทรัพย์ ต.หินดาต อ.ปางศิลาทอง ระยะกว้างประมาณ ๕๐ เมตร ใช้กระสอบทั้งหมด ๕๐๐ กระสอบมีผู้เข้าร่วมประมาณ ๘๐ คนโดย มีวัตถุประสงค์ที่จะสร้างฝายชะลอน้ำ ทั้งหมด ๑๕ ฝาย แยกเป็นฝายขนาดใหญ่ จำนวน ๒ ฝาย ฝายขนาดเล็ก จำนวน ๑๓ ฝายระยะเวลาในการดำเนินการ ๗ วัน ตั้งแต่ ๒๓ – ๒๙ มิ.ย.๕๙ โดยแล้วเสร็จ ๑ ฝายคงเหลือ ๑๔ ฝาย ทั้งนี้เวลา ๑๓๐๐ น. นายนิสิต สวัสดิเทพ นอภ.ปางศิลาทอง ได้เดินทางเข้ามาเยื่ยมเยือนพบปะพูดคุยให้กำลังใจแก่คณะทำงานในการสร้างฝายและร่วมลงมือทำกิจกรรมดังกล่าวร่วมกับชาวบ้านด้วย
99 โครงการฝายชะลอน้ำ
ฝายแม้ว เป็นชื่อเรียก โครงการตามแนวพระราชดำริ เกี่ยวกับ วิศวกรรม แบบพื้นบ้าน ฝายแม้วเป็นฝายชะลอน้ำกึ่งถาวรประเภทหนึ่ง ประเภทเดียวกับฝายคอกหมู โดยใช้วัสดุที่หาได้ง่ายในท้องถิ่น เช่นกิ่งไม้ ก้อนหิน เพื่อกั้นชะลอน้ำในลำธาร หรือทางน้ำเล็กๆ ให้ไหลช้าลง และขังอยู่ในพื้นที่นานพอที่จะพื้นที่รอบๆจะได้ดูดซึมไปใช้ เป็นการฟื้นฟูพื้นที่ป่าเสื่อมโทรมให้เกิดความชุ่มชื้นมากพอที่จะพัฒนาการเป็นป่าสมบูรณ์ขึ้นได้ ฝายแม้วยังอาจใช้เพื่อการทดน้ำ ให้มีระดับสูงพอที่จะดึงน้ำไปใช้ในคลองส่งน้ำได้ในฤดูแล้ง โครงการตามแนวพระราชดำรินี้ได้มีการทดลองใช้ที่ โครงการห้วยฮ่องไคร้ จ.เชียงใหม่ และประสบผลสำเร็จจนเป็นตัวอย่างให้กับโครงการอื่นๆต่อมา
ฝายชะลอน้ำสร้างขวางทางไหลของน้ำบนลำธารขนาดเล็กไว้ เพื่อชะลอการไหล- ลดความรุนแรงของกระแสน้ำ ลดการชะล้างพังทลายของตลิ่ง - เมื่อน้ำไหลช้าลง ก็มีน้ำอยู่ในลำห้วยนานขึ้น โดยเฉพาะในหน้าแล้ง - ช่วยดักตะกอนที่ไหลมากับน้ำ ลดการตื้นเขินที่ปลายน้ำ ทำให้น้ำใสมีคุณภาพดีขึ้น - ช่วยให้ดินชุ่มชื้น ป่ามีความอุดมสมบูรณ์ เพิ่มความหลากหลายทางชีวภาพ - สัตว์ป่า สัตว์น้ำ ได้อาศัยน้ำในการดำรงชีวิต คืนพืชแก่เนินเขา/ภูเขาหัวโล้น - ดินชื้นป่าก็ชื้น กลายเป็นแนวกันไฟป่า ลดความรุนแรงของไฟได้

100 เพื่อรักษาความชุ่มชืนของผืนป่าและกักเก็บน้ำ ทางโครงการฯ ได้จัดทำฝายชะลอน้ำ ในต้นน้ำลำธาร ๒ สาย และเพื่อสร้างความเข้าใจให้ถูกต้อง สำหรับ โครงการ ฝายชะลอน้ำ ที่ทางเราได้จัดทำ ขึ้นมานั้น มีวัตถุประสงค์ และ วิธีการก่อสร้าง เพื่อลดผลกระทบต่อระบบนิเวศน์ ในระยะยาว ดังนี้
1. ฝายที่เราสร้างขึ้นมา เป็นฝายแบบไม่ถาวร ให้วัสดุจากธรรมชาติ เป็นหลัก สำหรับชะลอน้ำ ในหน้าแล้งเท่านั้น ไม่ได้สร้างเพื่อกักเก็บน้ำ การไหลของน้ำ ที่หน้าฝาย ยังมีน้ำไหลอยู่ ตลอดเวลา ไม่ว่าจะซึมผ่านฝาย หรือ น้ำล้นข้ามฝาย
2. ระดับความสูงของตัวฝาย ไม่สูงมากนัก ระดับความสูงประมาณ ๔๐ % ของความสูงของระดับน้ำสูงสุด ในลำคลองหรือลำห้วย สายน้ำยังสามารถไหลล้นผ่านฝายได้ ตลอดเวลา เพื่อยังรักษาระบบนิเวศน์ หน้าฝายไว้
3 ตัวฝายควรมีระดับความลาดชัน ประมาณ ๒๐ - ๔๕ องศา ทั้งด้านหน้า และ ด้านหลัง ไม่ควรสร้างฝาย ที่มีหน้าตัด ๙๐ องศา
4. การก่อสร้างจะสร้างเป็นช่วงๆ แบบ ขั้นบันได เป็นช่วงๆ ระยะขึ้นอยุ่กับพื้นที่ ประมาณ ๕๐ - ๒๐๐ เมตร ๔ งบประมาณการก่อสร้างเราแทบจะไม่มี เพียงช่วยกันขนหิน ที่ระเกะ ระกะ อยุ่ตามลำคลอง มาจัดเรียงใหม่ เท่านั้น เป็นการออกกำลังกายไปในตัว หากไม่มีหิน เราก็จะใช้กระสอบทราย
5. หากหน้าน้ำ มีน้ำมา ฝายนี้ก็จะพังทลาย ลง (ช่วยลดความเร็วของกระแสน้ำป่า ลงได้) หินที่ก่อเรียงตัวไว้ ก็จะพัง และ ไหลลงมาสู่ตัวฝาย ด้านล่าง ต่อไป
6. พอหมดหน้าน้ำป่า น้ำเกือบจะใกล้แห้ง เราก็หาเวลามาออกกำลังกาย มายกก้อนหินกลับไปเรียง เป็นฝายชะลอน้ำ ตามเดิม (ส่วนใหญ่แล้ว จะยังหลงเหลือ โครงสร้างเดิมอยู่บ้าง) ใช้เวลาก่อสร้าง ประมาณ ๑-๒ ชม. ต่อฝายเท่านั้น
7. ควรคำนึงถึง สัตว์น้ำ ที่อาศัยในลำคลองด้วยว่า สามารถเดินทางไปยังต้นน้ำได้หรือไม่ เพราะเราตั้งใจว่า “ในน้ำต้องมีปลา ในป่าต้องมีน้ำ

101 สหกรณ์ทางการเกษตร เป็นการช่วยเหลือเกษตรกรให้รู้จักประกอบการพาณิชย์ด้วยตนเอง ไม่ต้องขายผลิตผลให้พ่อค้าคนกลางมีพระบรมราโชบายให้เกษตรกรรวมตัวกัน จัดตั้งหมู่บ้านสหกรณ์การเกษตร เมือมีหมู่บ้านสหกรณ์แล้วก็มีการพัฒนาด้านอื่น ๆ ซึ่งราษฎรรวมกันจัดทำขึ้น เช่น สร้างถนน พัฒนาแหล่งน้ำ บำรุงดินฝึกอาชีพต่าง ๆ สร้างโรงงานสำหรับผลิตผลิตผลขึ้นในหมู่บ้าน สหกรณ์การเกษตรแห่งแรกคือสหกรณ์การเกษตรหุบกะพง จดทะเบียนเมื่อวันที่๑๒ สิงหาคม พุทธศักราช ๒๕๑๘ จัดเป็นศูนย์สาธิตสหกรณ์ หลังจากนั้นก็มีศูนย์สาธิตเกิดขึ้นอีกหลายแห่ง นอกจากทำการเกษตรแล้วสมาชิกสหกรณ์ยังได้ประกอบอุตสาหกรรมในครอบครัว ซึ่งได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ โดยทรงตั้งมูลนิธิศิลปาชีพขึ้น เพื่อฝึกอบรม และจำหน่ายผลิตผล ทั้งในประเทศและต่างประเทศ
102 โครงการพระดาบส เป็นโครงการฝึกอบรมอาชีพทางการช่างต่างๆ เริ่มดำเนินการเมื่อเดือนสิงหาคม พุทธศักราช ๒๕๑๙ เป็นการจัดการศึกษานอกระบบทำนองเดียวกับสำนักพระดาบสโนสมัยโบราณ สำนักพระดาบสปัจจุบันตั้งอยู่ที่ถนนสามเสน ตรงกันข้ามกับหอสมุดแห่งชาติ กรุงเทพมหานคร เปิดสอนวิชาช่างวิทยุ ช่างไฟฟ้าขึ้นก่อน แล้วขยายเป็นช่างเครื่องยนต์ ช่างประปา ฯลฯ ผู้เข้าเรียนไม่จำกัดวัย เพศ วุฒิ และฐานะของครอบครัวครูเป็นผู้ทรงคุณวุฒิ ซึ่งอาสาสมัครสอนโดยศรัทธาโนการให้ความรู้เป็นวิทยาทาน เมื่อนักเรียนเรียนจบหลักสูตรแล้ว ก็ได้เปิดรับงานช่างต่าง ๆ เป็นการหารายได้ให้แก่นักเรียนในรูปของสหกรณ์ โดยนักเรียนไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายใด ๆ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯพระราชทานพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์เป็นค่าอาหาร ที่อยู่อาศัยเสื้อผ้า วัสดุอุปกรณ์การฝึกอบรม นักเรียนที่เรียนจบแล้ว สามารถประกอบอาชีพของตนเองได้
103 โครงการอื่น ๆ ที่เป็นการส่งเสริมอาชีพโดยตรง นอกเหนือจากการฝึกอบรม ก็มีโครงการส่งเสริมอุตสาหกรรมน้ำมันปาล์ม โครงการศูนย์บริการการพัฒนาขยายพันธุ์ไม้ดอก ไม้ผลโครงการศิลปาชีพพิเศษทั่วประเทศ เป็นต้น

104 โครงการสวัสดิการสังคมหรือสังคมสงเคราะห์ เป็นโครงการช่วยเหลือราษฎรให้มีที่อยู่อาศัย ที่ทำกิน และมีเครื่องอำนวยความสะดวกโนขั้นพื้นฐานที่จำเป็นต่อชีวิต ขจัดความทุกข์เมื่อเกิดมหันตภัยทางธรรมชาติ อุบัติเหตุหรือเกิดโรคระบาดร้ายแรง หน่วยงานที่เกี่ยวข้องมีทั้งภาครัฐบาล และภาคเอกชน โดยเฉพาะภาคเอกชนนั้น ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตั้งเป็นสมาคมหรือมูลนิธิ ได้รับพระมหากรุณาธิคุณให้อยู่โนพระบรมราชูปถัมภ์ เช่น มูลนิธิราชประชานุเคราะห์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ สภาสังคมสงเคราะห์แห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์เป็นต้น
105 มูลนิธิราชประชานุเคราะห์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ เกิดขึ้นเนื่องจากวาตภัยและอุทกภัยในจังหวัดภาคใต้ เมื่อพุทธศักราช ๒๕๐๕ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงชักนำประชาชนให้ช่วยเหลือพี่น้องร่วมชาติผู้ประสบเคราะห์ภัย มีผู้โดยเสด็จพระราชกุศลมากมาย เฉพาะเงินสด มีจำนวนมากถึง ๑๑ ล้านบาท เมื่อพระราชทานความช่วยเหลือแล้ว ปรากฏว่ามีเงินเหลืออีก ๓ ล้านบาท จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตั้งเป็นมูลนิธิ โดยมีวัตกุประสงค์ในการช่วยเหลือผู้ประสบสาธารณภัยโดยฉับพลัน
106 มูลนิธิสายใจไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ก่อตั้งเมื่อวันที่ ๒ เมษายน พุทธศักราช ๒๕๑๘ มีวัตถุประสงค์ให้ความช่วยเหลือทหาร ตำรวจพลเรือน และอาสาสมัคร ซึ่งยอมอุทิศชีวิตในการปฏิบัติหน้าที่ เพื่อรักษาความปลอดภัยและความมั่นคงของประเทศ และเพื่อความร่มเย็นเป็นสุขของชาวไทย
107 มูลนิธิราชประชาสมาสัย โปรดเกล้าฯ ให้ตั้งขึ้นเพื่อช่วยเหลือบุตรของผู้ป่วยโรคเรื้อนไม่ให้ติดเชื้อจากพ่อแม่ มีการตั้งโรงเรียนเพื่อสอนเด็กเหล่านั้นโดยเฉพาะ ที่อำเภอพระประแดงจังหวัดสมุทรปราการ เมื่อเด็กเรียนจบชั้นมัธยมศึกษาแล้ว ก็สามารถเข้าเรียนต่อในระดับอุดมศึกษาได้ และสามารถประกอบอาชีพได้โดยไม่เป็นภาระแก่สังคม
108 โครงการพัฒนาเกษตรในชนบทมีสองลักษณะคือ
หนึ่ง : โครงการส่วนพระองค์ ซึ่งทรงดำเนินการเพื่อเป็นแบบอย่าง และเผยแพร่สู่เกษตรกรในชนบท เป็นโครงการที่โปรดเกล้าฯ ให้มีขึ้นในบริเวณพระตำหนัก สวนจิตรลดา เริ่มตั้งแต่พุทธศักราช ๒๕๐๓ ได้แก่ โครงการป่าไม้สาธิต เพื่อปลูกพันธุ์ไม้ชนิดต่าง ๆ ในเนื้อที่ ๑๒๕ ไร่ โครงการนาข้าวทดลอง ได้เริ่มเมื่อ พุทธศักราช ๒๕๐๕ โครงการเพื่อหาข้อมูลในการส่งเสริมอาชีพเกี่ยวกับโคนม เช่น ทำเป็นนมผง และนมผงชนิดเม็ด เริ่มทดลองในพุทธศักราช ๒๕๑๒ ในปีเดียวกันนี้ ทรงเริ่มผลิตนมสดวันละหลายพันถุง โครงการเลี้ยงปลานิล ซึ่งมกุฎราชกุมารแห่งประเทศญี่ปุ่นได้ทูลเกล้าฯ ถวาย ๕๐ ตัว เริ่มเมื่อพุทธศักราช ๒๕๐๘ เพื่อขยายพันธุ์ไปสู่เกษตรกร ปัจจุบันนี้ มีการเลี้ยงปลานิลทั่วประเทศ นอกจากนี้ ยังมีโรงสีข้าวทดลองเพื่อค้นคว้าทดลองเกี่ยวกับการสีข้าว โครงการยุ้งฉางข้าว เพื่อทดลองการเก็บรักษาข้าวเปลือกไห้สูญเสียน้อยที่สุด และโครงการบดแกลบและอัดแท่งสำหรับนำมาใช้เป็นเชื้อเพลิง
สอง : โครงการพัฒนาอาชีพเกษตรในชนบท เป็นโครงการซึ่งโปรดเกล้าฯ ให้ดำเนินการในพื้นที่ทุรกันดาร และมีปัญหาเกี่ยวกับที่ดินและน้ำ ทรงนำผลการค้นคว้าทดลอง ไปใช้ในพื้นที่ซึ่งเหมาะสมแก่การปลูกพืชพันธ์ใหม่ๆ เช่น หม่อน ยางพารา ปลูกพืชเพื่อการบำรุงดิน เช่น หญ้าแฝก พืชที่เป็นประโยชน์ต่อการบริโภคและใช้เป็นยา เช่น สมุนไพร นอกจากปลูกพืชแล้วยังมีการเลี้ยงสัตว์ โดยใช้พันธุ์สัตว์ที่เหมาะสม เช่น โคนม โคเนื้อ แพะ แกะ ปลา ทรงแนะนำวิธีปฏิบัติที่ไม่ซับซ้อน ราคาถูก เกษตรกรสามารถดำเนินการเองได้ โดยที่พันธุ์พืช พันธุ์สัตว์และเทคนิคต่างๆ มีความเหมาะสมแก่ภูมิประเทศภูมิอากาศ และสภาพสังคมโดยทั่วไป ทรงเน้นให้เกษตรกรสามารถพึ่งพาตนเองได้ ขณะเดียวกันช่วยให้ผลิตก๊าซชีวภาพ ที่เป็นประโยชน์ทั้งในด้านเชื้อเพลิง และปุ๋ย เรื่องการหารายได้เสริมจากงานศิลปหัตถกรรม โดยสรุป ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เกษตรกรสามารถ “ทำการเกษตรอย่างยั่งยืน” และพอมีกินมีใช้ มีความสุขในสภาพแวดล้อมของตนเอง เพื่อแก้ปัญหาในการที่ราษฎรส่วนหนึ่งไม่มีที่ดินเป็นของตนเอง เมื่อพุทธศักราช ๒๕๑๘ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้มีการปฏิรูปที่ดินกว่าห้าหมื่นไร่ ในที่นาของสำนักงานทรัพย์สินพระมหากษัตริย์ ในภาคกลางแปดจังหวัดพระราชทานให้เป็นที่ทำกิน ให้จัดตั้งกองทุนเพื่อสนับสนุนกิจการสหกรณ์ขึ้น
109 โครงการหมู่บ้านสหกรณ์สันกำแพงอันเนื่องมาจากพระราชดำริ อำเภอแม่ออน จังหวัดเชียงใหม่
พระราชดำริ :
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
ความเป็นมา :
โครงการตามพระราชดำริหมู่บ้านสหกรณ์สันกำแพง เป็นโครงการตามพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ เริ่มดำเนินการเมื่อปี พ.ศ.๒๕๑๘ โดยสำนักงานเร่งรัดพัฒนาชนบทขอใช้พื้นที่บริเวณตำบลออนหลวย อำเภอสันกำแพง จังหวัดเชียงใหม่ จากกรมป่าไม้ จำนวน ๒๒,๒๙๖.๒๕ ไร่ และคัดเลือกเกษตรกรผู้ด้อยโอกาสในภาคเหนือ ได้แก่ อำเภอดอยสะเก็ด อำเภอเมือง อำเภอสันกำแพง จังหวัดเชียงใหม่ จังหวัดน่าน จังหวัดเชียงราย จังหวัดลำพูน จังหวัดลำปาง จังหวัดกำแพงเพชร จังหวัดพะเยา และจังหวัดแม่ฮ่องสอน เข้าร่วมโครงการฯ โดยสมาชิกได้รับการจัดสรรที่ดินเป็นที่อยู่อาศัยครอบครัวละ ๒,๐๐๐ ตารางวา และที่ดินสำหรับเกษตรกรครอบครัวละ ๔-๗ไร่ และได้มีการจัดตั้งสหกรณ์การเกษตรหมู่บ้านสหกรณ์สันกำแพงจำกัด เมื่อวันที่๑๕ มิถุนายน ๒๕๒๔
ในปี ๒๕๔๐ กรมเร่งรัดพัฒนาชนบท สำนักงานพัฒนาที่ดิน กองพัฒนาเกษตรที่สูง และสำนักงานเกษตรจังหวัดเชียงใหม่ ได้เข้าไปสำรวจพื้นที่เพื่อจัดทำแปลงสาธิตการเกษตร จำนวน ๘๕ ไร่ ตั้งอยู่หมู่ที่ ๕ ตำบลสหกรณ์ กิ่งอำเภอแม่ออน จังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งในส่วนของหน่วยงานของกรมประมงโดยสำนักงานประมงจังหวัดเชียงใหม่ เป็นหน่วยงานร่วมรับผิดชอบดำเนินกิจกรรมในพื้นที่แปลงสาธิต ๘๕ ไร่ และพื้นที่โครงการฯ ใน ๘ หมู่บ้าน ครอบคลุมทั้งตำบลสหกรณ์ โดยมีหน้าที่บริหารจัดการแหล่งน้ำโครงการฯ เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่สมาชิก รวมถึงการจัดทำแผนงานโครงการพัฒนาและส่งเสริมความรู้เรื่องการเลี้ยงปลาในบ่อดิน การเลี้ยงปลาในกระชัง และการตลาดแก่สมาชิกของสหกรณ์
110 โครงการศูนย์สาธิตพืชไร่และพืชสวนอันเนื่องมาจากพระราชดำริ จังหวัดเพชรบุรี
พระราชดำริ :
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
ความเป็นมาของโครงการ :
มูลนิธิชัยพัฒนาได้รับการโอนกรรมสิทธิ์ในที่ดิน 39 ไร่ 1 งาน 11 ตารางวา เมื่อปี 2541 ณ ต.ท่าแร้ง อ.บ้านแหลม จึงได้ร่วมกับ สนง.กปร.และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินโครงการโดยกรมวิชาการเกษตร จัดทำโครงการทดสอบระบบการปลูกพืชเศรษฐกิจแบบผสมผสานและสถานีทดลองพืชสวนเพชรบุรี จัดทำ / วางแผนการดำเนินงานให้สอดคล้องกับพระราชดำริ
ที่ตั้งของโครงการ :
ศูนย์สาธิตพืชไร่และพืชสวนเพชรบุรี ต. ท่าแร้ง อ.บ้านแหลม จ.เพชรบุรี
วัตถุประสงค์ :
จัดทำโครงการทดสอบระบบการปลูกพืชเศรษฐกิจแบบผสมผสาน โดยการทดสอบแปลงปลูกไม้หอม พืชสมุนไพร ปลูกไม้ผล ปลูกไม้ยืนต้นในบริเวณคันกั้นน้ำ ปลูกข้าวนาปีและนาปรังทดสอบระบบส่งน้ำและระบายน้ำเข้าออกแปลงพืชไร่และพืชสวน รวมทั้งถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตร โดยเริ่มดำเนินการ เมื่อปี 2542 เป็นต้นมา

111 โครงการสถานีพัฒนาการเกษตรที่สูงตามพระราชดำริ บ้านนาเกียน อำเภออมก๋อย จังหวัดเชียงใหม่
พระราชดำริ :
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
ความเป็นมาของโครงการ :
หมู่บ้านนาเกียน เป็นพื้นที่ราบหุบเขาที่อุดมสมบูรณ์ เนื่องจากมีน้ำแม่ฮองไหลผ่าน เหมาะแก่การทำการเกษตร เมื่อประชากรเพิ่มขึ้น จึงเกิดปัญหาการบุกรุกทำลายป่าต้นน้ำลำธารเป็นจำนวนมาก เมื่อความต้องการใช้ทรัพยากรมีมากขึ้น การบุกรุกแผ้วถางป่าจึงเป็นไปอย่างต่อเนื่อง กอปรกับการทำการเกษตรของราษฎรที่ไม่ถูกหลักวิชาการและขาดการบริหารจัดการที่ดี ทำให้เกิดปัญหาสภาพดินเสื่อมคุณภาพและปัญหาการขาดแคลนน้ำในฤดูแล้ง
จากปัญหาที่เกิดขึ้น ทำให้ราษฎรในพื้นที่มีความเดือนร้อนเนื่องจากการขาดแคลนน้ำในการอุปโภคและบริโภค และผลผลิตทางการเกษตรลดต่ำลง ด้วยเหตุนี้เองสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ จึงมีพระราชดำริให้จัดตั้งสถานีพัฒนาการเกษตรที่สูง ตามพระราชดำริ บ้านนาเกียน เมื่อวันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2548 โดยทรงพระกรุณาฯโปรดเกล้าฯ ให้ท่านผู้หญิงจรุงจิตต์ ทีขะระ รองราชเลขานุการในพระองค์ พล.อ.ณพล บุญทับ รองสมุหราชองครักษ์ เป็นผู้แทนพระองค์ไปตรวจพื้นที่และได้อัญเชิญแนวพระราชดำริของสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ในการจัดตั้งสถานีฯ มามอบให้แก่คณะทำงาน
112 โครงการพัฒนาเกษตร
โครงการพัฒนาเกษตรครอบคลุมสองพื้นที่และสองลักษณะ คือ การพัฒนาเกษตรในที่สูง ซึ่งส่วนหนึ่งคือโครงการพัฒนาชาวเขาอันเป็นโครงการหลวง กับโครงการพัฒนาเกษตรในชนบท โครงการหลวงเพื่อพัฒนาชาวเขาและเกษตรในที่สูง เป็นโครงการเพื่อสร้างคุณภาพชีวิตให้แก่ชาวไทยภูเขาที่อาศัยอยู่ทางตอนเหนือของประเทศไทย ซึ่งมีลักษณะภูมิประเทศเป็นภูเขาและหุบเขาเป็นส่วนมาก มีความสูงจากระดับน้ำทะเลตั้งแต่ ๕๐๐ – ๕,๒๖๕ เมตร อากาศหนาวเย็น บางแห่งหนาวจัดจนน้ำกลายเป็นน้ำแข็งในฤดูหนาว ที่สูงมีความสำคัญมากเพราะเป็นต้นน้ำลำธารที่สำคัญ อุดมสมบูรณ์ด้วยแร่ธาตุที่พืชต้องการ มีอากาศเย็นเหมาะสำหรับปลูกพืชเมืองหนาวเป็นพืชเศรษฐกิจแต่เดิมชาวไทยภูเขามีถางป่า ทำไร่เลื่อนลอยและปลูกฝิ่น ยกเว้น พวกลัวะ และกะเหรี่ยง ซึ่งใช้ระบบทำไร่หมุนเวียน เมื่อพุทธศักราช ๒๕๑๒ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงตั้งโครงการหลวงขึ้นเป็นโครงการส่วนพระองค์ เพื่อปลูกพืชเมืองหนาวแทนการปลูกฝิ่น เพื่อช่วยให้ชาวไทยภูเขามีชีวิตที่ดีขึ้น ลดการทำลายป่าไม้และต้นน้ำลำธาร ในระยะแรก เริ่มด้วยการศึกษา วิจัย หาข้อมูลเกี่ยวกับการปลูกพืชในที่สูง วิธีการ ชนิดของพืชรวมทั้งการตลาด ขณะเดียวกันก็ช่วยเหลือชาวไทยภูเขาให้สามารถอ่านออกเขียนได้ และแสวงหาความรู้ด้วยตนเองได้ สถานีวิจัยโนโครงการหลวงมีอยู่ ๓ แห่ง คือ สถานีเกษตรหลวงอ่างขาง สถานีเกษตรหลวงแม่สอด และสถานีเกษตรหลวงปางดะ เป็นสถานที่วิจัยพืชเมืองหนาวไม้ดอก ไม้ผล พืชไร่ และฝึกอบรมการปลูกการพัฒนาเกษตรในที่สูงนั้นมีลักษณะเบ็ดเสร็จคือ ศึกษาพื้นที่ซึ่งมีลักษณะต่างๆ ว่าเหมาะสมแก่การปลูกพืชชนิดใด บริรักษ์เนื้อที่และหน้าดินไม่ให้พังทลาย สร้างระบบระบายน้ำ ทำฝาย ท่อคลังน้ำและระบบหยดน้ำ สร้างถนนเพื่อการขนส่งพืชไปสู่ตลาด มีศูนย์พัฒนาพืชใหม่ๆ ๒๖ ศูนย์ ดูแลหมู่บ้าน ๒๑๙ หมู่บ้าน ในจังหวัดเชียงใหม่ เชียงราย แม่ฮ่องสอน น่าน พะเยา และลำพูน ในด้านการพัฒนาความเป็นอยู่ของชาวไทยภูเขา โปรดเกล้าฯ ให้ตั้งธนาคารข้าว ที่บ้านป่าเป๋ อำเภอแม่สะเรียง จังหวัดแม่ฮ่องสอนเพราะชาวลัวะที่นั่นมักขาดแคลนพันธุ์ข้าว ในบางปีธนาคารข้าวคิดดอกเบี้ยต่ำ ผู้ปลูกสามารถชดใช้ข้าวคืนในฤดู เก็บเกี่ยวครั้งต่อไปได้ นอกจากนี้โปรดเกล้าฯ ให้ตั้งโรงเรียนในสถานที่ซึ่งยังไม่มีโรงเรียน พร้อมทั้งจัดให้มีห้องสมุดเคลื่อนที่ เพื่อให้เด็กรักการอ่าน แสวงหาความรู้ด้วยตนเอง ตั้งศูนย์ศิลปหัตถกรรม ตั้งกลุ่มเฉพาะกิจเพื่อสร้างถนนและการประปา โดยชาวไทยภูเขาร่วมกันสร้างและ ร่วมกันออกเงิน บางครั้งโครงการหลวงก็ช่วยเหลือด้านทุนทรัพย์
113 โครงการรอยเบื้องพระยุคลบาท 84 พรรษา(สวนของพ่อ) จังหวัดสระแก้ว
แนวพระราชดำริ :
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระราชดำริให้ดำเนินการพัฒนาพื้นที่ราบเชิงเขาตามแนวเทือกเขาบรรทัด โดยทรงพระราชทานแนวทางพัฒนา 3 ด้าน คือ พัฒนาด้านที่อยู่อาศัย พัฒนาด้านการส่งเสริมการประกอบอาชีพ และพัฒนาจิตใจของราษฏร และทรงโปรดเกล้าให้ ม.จ. จักรพันธุ์ เพ็ญศิริ จักรพันธุ์ องค์มนตรีประสานงานกับกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงกลาโหม กระทรวงทบวงกรมต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาตามพระราชดำริ ดำเนินการวางโครงการพัฒนาพื้นที่ราบเชิงเขา จังหวัดปราจีน จังหวัดสระแก้ว ตามพระราชดำริขึ้นในปี พ.ศ. 2521 โดยแต่งตั้งคณะกรรมการโครงการพัฒนาพื้นที่ราบเชิงเขา และดำเนินการแบ่งพื้นที่ราบเชิงเขาบรรทัด และต่อมาในปี พ.ศ. 2522 คณะกรรมการโครงการพัฒนาพื้นที่ราบเชิงเขา มีมติให้ขยายพื้นที่พัฒนาออกไปอีก

ที่ตั้งของโครงการ : โครงการพัฒนาปรับปรุงสวนไม้ผลผสม ตั้งอยู่ที่ บ้านคลองน้ำเขียว หมู่ที่ 15 ตำบลท่าแยก อำเภอเมือง จังหวัดสระแก้ว มีพื้นที่ทั้งหมด 27 ไร่
114 โครงการห้วยองคตอันเนื่องมาจากพระราชดำริ อำเภอหนองปรือ จังหวัดกาญจนบุรี
แนวพระราชดำริ :
ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงเน้นเรื่อง “การบริหารและจัดการทรัพยากรธรรมชาติให้เหมาะสมกับสภาพพื้นที่ โดยให้ราษฎรได้อยู่อาศัยและทำกินร่วมกับการคงอยู่ของธรรมชาติอย่างเกื้อหนุนกัน คือไม่ทำลายซึ่งกันและกันตามหลักการฟื้นฟูและสร้างสมดุลในระบบนิเวศวิทยา ทำให้ทุกชีวิตมีความผาสุก และมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น”
ความเป็นมาของโครงการ :
โครงการห้วยองคตอันเนื่องมาจากพระราชดำริ อำเภอหนองปรือ จังหวัดกาญจนบุรี ก่อตั้งขึ้นตามแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เมื่อวันที่ 28 มกราคม 2533 โดยมีพระราชกระแสรับสั่งกับ นายสุเมธ ตันติเวชกุลเลขาธิการกปร. และเลขาธิการมูลนิธิชัยพัฒนา อธิบดีกรมชลประทาน พร้อมคณะเจ้าหน้าที่ว่า ได้ทราบว่าพระราชญาณรังสี (พระอาจารย์จันทร์ คเวสโก) ได้ไปดำเนินการพัฒนาพื้นที่บริเวณตำบลหนองปรือ อำเภอบ่อพลอย จังหวัดกาญจนบุรีซึ่งจะก่อให้เกิดประโยชน์แก่ประชาชนเป็นอย่างดี จึงให้เลขาธิการมูลนิธิชัยพัฒนาไปนมัสการ พระอาจารย์จันทร์ คเวสโกเพื่อช่วยประสานและสนับสนุนการดำเนินงานในโครงการดังกล่าวนี้ ซึ่งต่อมาได้พระราชทานพระราชดำริให้ดำเนินการจัดหาที่ดินจำนวนหนึ่ง เพื่อนำมาวางแผนและจัดทำโครงการ เพื่อพัฒนาและช่วยเหลือประชาชนในบริเวณพื้นที่ดังกล่าวและพระราชทานชื่อว่า “โครงการห้วยองคตอันเนื่องมาจากพระราชดำริ” อีกทั้งได้พระราชทานทรัพย์ส่วนพระองค์ และเงินจากมูลนิธิชัยพัฒนาเข้าร่วมสนับสนุนโครงการ โดยมี พระอาจารย์ญาณรังสี (พระอาจารย์จันทร์ คเวสโก) วัดป่าชัยรังสีอำเภอเมือง จังหวัดสมุทรสาคร พระราชมงคลญาณ วัดปากน้ำ พระภาวนาวิสุทธาจารย์ วัดไตรมิตรวิทยารามกรุงเทพมหานคร เป็นผู้ร่วมสนับสนุนและประสานการดำเนินงานต่างๆ อันเป็นแนวทางพัฒนาตามแนวพระราชดำริ ที่ให้ฝ่ายต่างๆประสานการทำงานร่วมกันทั้งภาคราชการ ราษฎรและศาสนา
ที่ตั้งของโครงการ :
ตั้งอยู่ที่ตำบลสมเด็จเจริญ อำเภอหนองปรือ จังหวัดกาญจนบุรี ไปตามเสนทางสายกาญจนบุรี-หนองปรือ-ดานชาง(ทางหลวงหมาย
115 โครงการพัฒนาด้านสิ่งแวดล้อม
โครงการพัฒนาสิ่งแวดล้อม เนื่องมาจากปัญหาที่เกิดจากการพัฒนาเศรษฐกิจโดยอุตสาหกรรมที่ไม่ได้วางแผนอย่างรอบคอบ เพื่อป้องกันผลกระทบต่อทรัพยากรธรรมชาติ ได้แก่ ดิน น้ำ และป่าไม้ งานส่วนใหญ่ของโครงการจึงเป็นการปรับปรุงสภาพทรัพยากรธรรมชาติมีและสิ่งแวดล้อม ได้แก่

๑. การอนุรักษ์และพัฒนาทรัพยากรดิน สนับสนุนให้เกษตรกรเรียนรู้และเข้าใจวิธีการอนุรักษ์และบำรุงดินให้สมบูรณ์อยู่เสมอ มีพระราชดำริว่า “... การปรับปรุงที่ดินนั้นต้องอนุรักษ์ผิวดิน ซึ่งมีความสมบูรณ์ไว้ ไม่ให้ไถหรือลอกหน้าดินทิ้งไป สงวนไม้ยืนต้นที่ยังเหลืออยู่เพื่อที่จะรักษาความชุมชื้นของผืนดิน...” นอกจากนี้มีโครงการจัดสรรและปฏิรูปที่ดิน พัฒนาที่ดินที่ว่างเปล่า แล้วจดสรรให้เกษตรกรผู้ไรที่ดินได้มีที่ทำกิน แต่ไม่ให้กรรมสิทธิ์ในการถือครอง จัดพื้นที่ทำกินให้ราษฎรชาวไทยภูเขา ให้มีการทำการเกษตรแบบผสมผสานอย่างได้ผล

๒. ด้านอนุรักษ์ทรัพยากรแหล่งน้ำ โปรดเกล้าฯ ให้ตั้งศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยฮ่องไคร้อันเนื่องมาจากพระราชดำริ เพื่อศึกษาค้นคว้ารูปแบบที่เหมาะสมสำหรับการพัฒนาพื้นที่ต้นน้ำลำธาร โครงการอนุรักษ์แหล่งน้ำ ต้นน้ำลำธารมีอยู่ทั่วประเทศ ดังกล่าวแล้วในเรืองการพัฒนาแหล่งน้ำ

๓. ด้านอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้ การอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้เละทรัพยากรแหล่งน้ำเป็นสิ่งคู่กัน การทำลายป่าที่อุดมสมบูรณ์ซึ่งเป็นแหล่งต้นน้ำลำธารและซึมซับน้ำเก็บไว้ ทำให้แหล่งน้ำสูญหายไปด้วย นอกจากนั้น เมื่อไม่มีป่าซึมซับ น้ำฝนที่ตกลงมาก็สูญเปล่า บางแห่งก็หลั่งไหล ลงท่วมพื้นที่ทำกินและบ้านเรือนจึงโปรดเกล้าฯ ให้มีการปลูกป่าทดแทนป่าที่เสื่อมโทรมโดยใช้วิธี ปลูกป่าโดยไม่ต้องปลูก ปลุกจิตสำนึกให้คนไทยรักป่า และช่วยกันปลูกป่ารักษาป่า “เพียงแต่อย่ารังแก และรบกวน” ป่าก็จะขึ้นเองโดยธรรมชาติ สร้างแหล่งน้ำให้เลี้ยงต้นไม้ และปลูกพันธุ์ไม้บางอย่างเสริมบ้าง
116 โครงการศูนย์บริการพัฒนาขยายพันธุ์ไม้ดอกไม้ผลบ้านไร่ อันเนื่องมาจากพระราชดำริ จังหวดเชียงใหม่
ความเป็นมา :
- พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมีพระราชดำริเมื่อ พ.ศ. 2523และยังไม่มีหน่วยงานใดดำเนินการมาก่อน
- ดำเนินงานมาแล้วตั้งแต่ปี พ.ศ. 2523 แต่มีพระราชดำริใหม่เพิ่มเติม พ.ศ. 2528
- ทรงมีพระราชดำริ (พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว) กับนายพิศิษฐ์ วรอุไร ตำแหน่งอาจารย์และหัวหน้าศูนย์บริการพัฒนาขยายพันธุ์ไม้ดอกไม้ผลบ้านไร่ฯ คนแรก สังกัด มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ สถานที่ พระราชทานพระราชดำริ บ้านโรงวัว ตำบลแม่สอย อำเภอจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่ เมื่อ พ.ศ. 2527
โดยสรุปประเด็นสำคัญดังนี้ “ งานนี้เป็นประโยชน์ถึงประชาชนอย่างแท้จริงให้ขยายงานไปให้มากและหาคนให้มาช่วยงานเพิ่มขึ้น” พระราชกระแสรับสั่งนี้ พระราชทานหลังจากที่ได้เริ่มงานครั้งแรกโดยรับพระราชทาน พระราชทานทรัพย์ เมื่อ พ.ศ. 2523 เพื่อทดลองขยายพันธุ์ไม้ดอกไม้ผล และได้เริ่มทำแปลงสาธิตในหมู่บ้าน ที่บ้านไร่ หมู่ที่ 1 ตำบลบ้านแหวน อำเภอหางดง จังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งต่อมาได้ตั้งเป็นโครงการชื่อโครงการว่า “ โครงการศูนย์ขยายพันธุ์ไม้ดอกไม้ผล งานสาธิตฝึกอบรม และส่งเสริมอาชีพราษฎรตามพระราชดำริ”
117 โครงการทางด้านวิศวกรรม
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวกับงานวิศวกรรม
คำนำ นับตั้งแต่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชได้เสด็จขึ้นครองราชย์เมื่อ พ.ศ. ๒๔๘๙ เป็นต้นมา พระองค์ได้ทรงมุ่งมั่นประกอบพระราชกรณียกิจต่าง ๆ เป็นอันมาก เพื่อประโยชน์สุขของประชาชนชาวไทยและความเจริญของประเทศไทย สมดังพระราชปณิธานที่ว่า“เราะครองแผ่นดินโดยธรรม เพื่อประโยชน์สุขแห่งมหาชนชาวสยาม” ที่น่าสังเกตก็คือพระราชกรณียกิจหลายเรื่อง ได้แสดงถึงความสนพระราชหฤทัยและพระปรีชาสามารถของพระองค์ในงานวิศวกรรมสาขาต่าง ๆ ในบทความนี้ผู้เขียนจะขอกล่าวถึงพระราชประวัติและพระกรณียกิจในส่วนที่เกี่ยวข้องกับงานวิศวกรรม เพื่อเป็นการสดุดีพระเกียรติคุณ เนื่องในศุภมงคลวโรกาสที่พระองค์จะเจริญพระชนมายุครบ ๕ รอบพระชันษา ใน พ.ศ. ๒๕๓๐ นี้
พระราชประวัติการศึกษา
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชทรงเริ่มศึกษาวิชาการเบื้องต้น ณ โรงเรียนมาแตร์เดอี ถนนเพลินจิต กรุงเทพมหานคร ใน พ.ศ. ๒๔๗๕ ซึ่งเป็นปีที่มีพระชนมายุได้ ๕ พรรษา เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงการปกครองในปีนั้นแล้ว พระองค์ได้เสด็จฯ ไปประทับ ณ พระตำหนักวิลลาวัฒนา นครโลซานน์ ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ และทรงเข้าศึกษาวิชาขั้นต้นที่โรงเรียนเมียร์มองต์ นครโลซานน์ ในเดือนกันยายน พ.ศ. ๒๔๗๖ ต่อมาได้ทรงย้ายไปศึกษาที่โรงเรียนนูเวล เดลอลา สวิสโลมางค์ทรงสอบได้ประกาศนียบัตร บาเซอร์เลียร์เอส์ เลตรัส ในเดือนตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๘ ในปีเดียวกันนั้น ได้ทรงเข้าศึกษาในมหาวิทยาลัยโลซานน์ สาขาวิทยาศาสตร์ และหลังจากที่ได้เสด็จขึ้นครองราชย์เป็นพระมหากษัตริย์รัชกาลที่ ๙ แห่งพระราชวงศ์จักรี ในวันที่ ๙ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๙ แล้ว ก็ทรงเปลี่ยนแนวการศึกษาไปเป็นทางด้านสังคมศาสตร์ สาขาวิชากฎหมายและการปกครอง เพื่อทรงเตรียมรับพระราชภารกิจในฐานะองค์พระมหากษัตริย์ต่อไป
พระปรีชาสามารถทางช่างในปฐมวัย
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงโปรดงานทางช่างมาตั้งแต่ครั้งยังทรงพระเยาว์ ขณะที่ประทับอยู่ในประเทศสวิตเซอร์แลนด์นั้น ทรงมีห้องปฏิบัติการทางช่างในพระตำหนักวิลลาวัฒนา นครโลซานน์ และทรงแสดงฝีพระหัตถ์ในงานช่างเป็นที่ประจักษ์หลายครั้ง เช่น เมื่อครั้งที่มีพระชนมายุได้ราว ๑๐ พรรษา ได้ทรงซ่อมจักรเย็บผ้าของพระพี่เลี้ยงจนใช้การได้ นอกจากนี้พระองค์ยังเคยทดลองระบบไฟฟ้าสายเดี่ยวกับรถไฟฟ้าของเล่น ทรงประกอบเครื่องรับวิทยุชนิดใช้แร่และชนิดใช้หลอดสุญญากาศ ซึ่งสามารถรับฟังสถานีวิทยุกระจายเสียงในยุโรปได้หลายแห่ง และทรงจำลองเรือรบหลวงศรีอยุธยาจนเป็นผลสำเร็จอีกด้วย
พระปรีชาสามารถทางช่างของพระองค์นี้เป็นที่ประจักษ์ชัดตลอดมาจนกระทั่งปัจจุบันนี้
118 โครงการพระราชดำริเกี่ยวกับน้ำ
การพัฒนาแหล่งน้ำเพื่อการเพาะปลูกหรือการชลประทาน นับว่าเป็นงานที่มีความสำคัญและมีประโยชน์อย่างสำหรับประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศ ในการช่วยให้เกษตรกรทำการเพาะปลูกได้อย่างสมบูรณ์ตลอดปี ในปัจจุบันพื้นที่การเพาะปลูกนอกเขตชลประทาน ซึ่งต้องอาศัยเพียงน้ำฝนและน้ำจากแหล่งน้ำธรรมชาติเป็นหลัก ทำให้พืชได้รับน้ำไม่สม่ำเสมอตามที่พืชต้องการ อีกทั้งความผันแปรเนื่องจากฝนตกไม่พอเหมาะกับความต้องการ เป็นผลให้ผลผลิตที่ได้รับไม่ดีเท่าที่ควร พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงให้ความสนพระราชหฤทัยเกี่ยวกับการพัฒนาแหล่งน้ำมากกว่าโครงการพัฒนาอันเนื่องมาจากพระราชดำริประเภทอื่น ทรงให้ความสำคัญในลักษณะ “น้ำคือชีวิต” ดังพระราชดำรัส ณ พระตำหนักจิตรลดารโหฐาน เมื่อวันที่ ๑๗ มีนาคม ๒๕๒๙ ความตอนหนึ่งว่า
“...หลักสำคัญว่าต้องมีน้ำบริโภค น้ำใช้ น้ำเพื่อการเพาะปลูก เพราว่าชีวิตอยู่ที่นั่น ถ้ามีน้ำคนอยู่ได้ ถ้าไม่มีน้ำ คนอยู่ไม่ได้ ไม่มีไฟฟ้าคนอยู่ไม่ได้ แต่ถ้ามีไฟฟ้าไม่มีน้ำคนอยู่ไม่ได้...”
119 โครงการพระราชดำริเกี่ยวกับดิน
ประเทศไทยเป็นประเทศเกษตรกรรม ประชาชนส่วนใหญ่เลี้ยงชีพโดยอาศัยความอุดมสมบูรณ์ของดินมาช้านาน แผ่นดินจึงเป็นรากฐานของการพัฒนาประเทศอย่างแท้จริง ด้วยพระปรีชาญาณอันยิ่งใหญ่ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงตระหนักถึงความเสื่อมโทรมของดิน อันเกิดจากสาเหตุทางธรรมชาติ เช่น บางแห่งเป็นดินเปรี้ยว ดินด่าง ดินเค็ม และบางแห่งก็ไม่มีดินเลย ซึ่งทรงเรียกดินเหล่านี้ว่า "ดินแร้นแค้น" นอกจากนี้ ความเสื่อมโทรมของดินยังเกิดจากการกระทำอันรู้เท่าไม่ถึงการณ์ของประชาชน เช่น การตัดไม้ทำลายป่า และการใช้พื้นที่โดยขาดการอนุรักษ์ จึงพระราชทานแนวพระราชดำริในการป้องกัน แก้ไข และพัฒนาทรัพยากรดินเป็นอเนกประการ ซึ่งล้วนแต่นำประโยชน์สุขมาสู่เกษตรกรทั่วประเทศ
:: ตัวอย่างโครงการ ::
โครงการศูนย์ศึกษาการพัฒนาเขาหินซ้อน จังหวัดฉะเชิงเทรา
โครงการศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยทราย จังหวัดเพชรบุรี
โครงการศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยฮ่องไคร้ จังหวัดเชียงใหม่
โครงการพัฒนาพื้นที่ลุ่มน้ำแม่อาว จังหวัดลำพูน
โครงการศึกษาฟื้นฟูที่ดินเสื่อมโทรมเขาชะงุ้ม จังหวัดราชบุรี
โครงการทดลองแก้ปัญหาดินเปรี้ยว จังหวัดนครนายก
โครงการหญ้าแฝก
โครงการแกล้งดิน

120 โครงการพระราชดำริเกี่ยวกับป่า
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงห่วงใยในปัญหาปริมาณป่าไม้ลดลงเป็นอย่างมาก จึงทรงพยายามค้นหาวิธีนานาประการที่จะเพิ่มปริมาณของป่าไม้ในประเทศไทยให้เพิ่มมากขึ้นอย่างมั่นคงและถาวร โดยมีวิธีการที่เรียบง่ายและประหยัดในการดำเนินงานตลอดจนเป็นการส่งเสริมระบบวงจรป่าไม้ในลักษณะอันเป็นธรรมชาติดั้งเดิม ซึ่งได้พระราชทานพระราชดำริหลายวิธีการ
:: ตัวอย่างโครงการ ::
โครงการศูนย์ศึกษาการพัฒนาเขาหินซ้อน จังหวัดฉะเชิงเทรา
โครงการศูนย์ศึกษาพัฒนาภูพาน จังหวัดสกลนคร
โครงการศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยทราย จังหวัดเพชรบุรี
โครงการศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยฮ่องไคร้ จังหวัดเชียงใหม่
โครงการพัฒนาพื้นที่ลุ่มน้ำแม่อาว จังหวัดลำพูน
โครงการห้วยองคต จังหวัดกาญจนบุรี
โครงการพัฒนาปากน้ำปราณบุรี จังหวัดประจวบคีรีขันธ์
โครงการพัฒนาเบ็ดเสร็จลุ่มน้ำสาขาแม่ปิง จังหวัดเชียงใหม่ และจังหวัดลำพูน
โครงการพัฒนาพื้นที่ป่าขุนแม่กวง จังหวัดเชียงใหม่
โครงการศูนย์ศึกษาวิจัยธรรมชาติและป่าพรุสิรินทร
โครงการศูนย์ศึกษาการพัฒนาพิกุลทอง จ.นราธิวาส
โครงการศึกษาวิจัยและพัฒนาสิ่งแวดล้อมแหลมผักเบี้ย จังหวัดเพชรบุรี

121 โครงการสร้างเรือพระที่นั่งนารายณ์ทรงสุบรรณ
ประวัติความเป็นมา
การเสด็จพระราชดำเนินของพระมหากษัตริย์ไทย ในวาระต่าง ๆ มีมาตั้งแต่ครั้งสมัย กรุงสุโขทัย การเสด็จ ฯ ทางน้ำเรียกว่า" พยุหยาตราชลมารค " ในสมัยที่ กรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานีนั้น ที่ตั้งของเมืองเป็นเกาะ ล้อมรอบ ไปด้วยแม่น้ำลำคลอง มากมายหลายสาย ชีวิตความเป็นอยู่ริมน้ำของชาวกรุงเก่า จึงต้องอาศัยเรือในการสัญจร ไปมา ทั้งในเวลารบทัพจับศึก ก็จะใช้กระบวนทัพเรือเป็นสำคัญ จึงปรากฎมีการสร้างเรือรบมากมาย ในสมัยกรุงศรีอยุธยา ในเวลาบ้านเมือง ปราศจากศึกสงคราม ย่อมใช้เรือรบฝึกซ้อมกระบวนยุทธ เป็นนิจ เพราะฉะนั้น ถึงฤดูน้ำหลาก เป็นเวลาราษฎรว่างการทำนา จึงเรียกระดมพล มาฝึกซ้อมกระบวนทัพเรือ ประจวบกับ เป็นฤดูกาลของการทอดกฐิน พระเจ้าแผ่นดินจึงเสด็จพระราชดำเนิน ไปถวายพระกฐิน โดยกระบวนเรือรบ แห่แหน ให้ไพร่พลรื่นเริงในการกุศล โดยเฉพาะในสมัย สมเด็จพระนารายณ์มหาราช เป็นเวลาที่ประเทศสยามสงบ เจริญอย่างยิ่ง ในทางวัฒนธรรม กระบวนเรือพยุหยาตราชลมารค มีเรือเข้าร่วมกระบวนกว่า ๑๕๐ ลำ ฝีพายแต่งกายงดงาม พายเรือประกอบจังหวะ จนชาวต่างชาติ โดยเฉพาะชาวฝรั่งเศส บันทึกว่า " ไม่สามารถเทียบความงาม กับขบวนเรืออื่นใด เป็นขบวนเรือที่มโหฬาร "
เรือนารายณ์ทรงสุบรรณ เป็น เรือพระที่นั่งกิ่ง (๒) ประเภทเรือรูปสัตว์ เรือรูปสัตว์นี้ ตามหลักฐานท ี่ยืนยันได้มีมา ตั้งแต่รัชกาลสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ ในสมัยกรุงศรีอยุธยา เป็นเรือที่แกะสลักหัวเรือ เป็นรูปสัตว์ต่าง ๆ ทั้งสัตว์จริง และสัตว์ในเทพนิยาย เพื่อจะให้ ตั้งปืนใหญ่ที่หัวเรือได้ เรือรูปสัตว์ มาจาก ตราประจำตำแหน่ง ของเสนาบดี เช่น ราชสีห์ คชสีห์ นาค ฯลฯ เรือนารายณ์ทรงสุบรรณ นั้น มีชื่อเดิมว่า"มงคลสุบรรณ" พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๓ ในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ ทรงพระกรุณา โปรดเกล้า ฯ ให้ต่อขึ้น ตามแบบอย่างสมัยอยุธยา โดยมีพระราชประสงค์ ตามที่ปรากฏความ ในพระราชพงศาวดารว่า " ไว้เป็นเกียรติยศสำหรับ แผ่นดิน "
ลักษณะของเรือลำนี้ มีความยาว ๑๗ วา ๓ ศอก กว้าง ๕ ศอก ๕ นิ้ว ลึก ๑ ศอก ๖ นิ้ว กำลัง ๖ ศอก ๖ นิ้ว พื้นท้องเรือภายนอก ทาสีแดง กำลังฝีพาย ๖๕ คน โขนเรือ แต่เดิมจำหลักไม้ รูปพญาสุบรรณหรือพญาครุฑยุดนาค เท่านั้น มีช่องกลม สำหรับติดตั้งปืนใหญ่ อยู่ที่หัวเรือใต้ตัวครุฑ รัชสมัย พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔ มีพระราชดำริ ให้เสริมรูปพระนารายณ์ประทับยืน บนหลังพญาสุบรรณ เพื่อความสง่างาม ของลำเรือและ เพื่อให้ต้อง ตามคติ ในศาสนาพราหมณ์ ว่า พญาสุบรรณ นั้น เป็นเทพพาหนะ ของพระนารายณ์ และเมื่อเสริมรูป พระนารายณ์แล้ว โปรดเกล้า ฯ ให้ขนานนามเรือลำนี้ใหม่ว่า " นารายณ์ทรงสุบรรณ "
จากหลักฐาน เกี่ยวกับการ จัดกระบวนพยุหยาตราชลมารค ในสมัยรัตนโกสินทร์ ปรากฎว่า ได้มีการนำเรือพระที่นั่ง มงคลสุบรรณ หรือนารายณ์ทรงสุบรรณ ลำนี้ เข้าร่วมในกระบวนพยุหยาตราชลมารค ครั้งสำคัญ ๒ ครั้ง คือ กระบวนพยุหยาตราชลมารค ในการเสด็จ เลียบพระนคร ของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔ เนื่องในการ พระราชพิธีบรมราชาภิเษก เมื่อวันที่ ๒๑ พฤษภาคม พ.ศ.๒๓๙๔ และอีกครั้งหนึ่ง เนื่องในการ พระราชพิธีสถาปนา
สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ สยามมกุฎราชกุมาร เมื่อวันที่ ๑๙ มกราคม พ.ศ.๒๔๒๙ ในรัชกาล พระบาทสมเด็จ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ สันนิษฐานว่า ตัวเรือนารายณ์ทรงสุบรรณ คงเสื่อมสภาพไปตามกาลเวลา จึงไม่พบหลักฐาน การนำออกมาร่วม ในกระบวนพยุหยาตรา ทางชลมารคในรัชกาล ต่อ ๆ มา คงเหลือแต่โขนเรือ ซึ่งตาม ประวัติศาสตร์ ทราบว่า กระทรวงทหารเรือ เก็บรักษาไว้ถึงปี ๒๔๙๖ จึงมอบให้กรมศิลปากร เก็บรักษาไว้ ในพิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติ จนถึงปัจจุบัน
โขนเรือนารายณ์ทรงสุบรรณ เป็นงานประณีตศิลป์ ชิ้นเอกชิ้นหนึ่ง ของสมัยต้นกรุงรัตนโกสินทร์ โดยเฉพาะ ในรัชกาล พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๓ ที่งานแกะสลักและปิด ทอง ประดับกระจก ได้พัฒนาไป จนถึงขั้นสูงสุด นอกจากนั้น โขนเรือลำนี้ ยังมีความสำคัญ ในด้านความหมาย ต่อสถาบัน พระมหากษัตริย์ไทย เป็นอย่างยิ่ง สะท้อนคติ ความเชื่อ ในการเทิดทูน สมเด็จพระมหากษัตริยาธิราช ของชาวไทยโบราณว่า ทรงเป็น สมมติเทพ คือ ปางอวตาร ของพระผู้เป็นเจ้า ตามคติ ของพราหมณ์ ที่มีอิทธิพล ต่อภูมิปัญญา อย่างยิ่ง มีสองพระองค์ คือ พระอิศวร และพระนารายณ์ คนไทย ตั้งแต่โบราณนั้น ถือว่าองค์ พระมหากษัตริย์ ทรงเป็นปางอวตาร ขององค์พระเป็นเจ้า ทั้งสอง ดังนั้น การที่กองทัพเรือ จะได้ต่อเรือ ซึ่งมีโขนเรือเป็นรูปนารายณ์ทรงสุบรรณนี้น้อมเกล้าฯ ถวาย ในมหามงคลวโรกาสพระราชพิธี กาญจนาภิเษกครั้งนี้จึงนับว่าเป็นการเหมาะสม เพราะเท่ากับเป็นการเทิดพระเกียรติ และเสริมส่งพระบรมเดชานุภาพ ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่ หัว ตามคติธรรมเนียม ที่บรรพชนไทย ได้ยึดมั่นสืบต่อมาแต่โบราณ ทั้งนี้ กองทัพเรือ ได้มีหนังสือกราบบังคมทูล พระกรุณาขอพระราชทาน พระบรมราชานุญาต เพื่อสร้างเรือพระที่นั่ง ลำใหม่เพื่อน้อมเกล้า น้อมกระหม่อมถวาย ในวโรกาสที่ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว จะเสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติ ปีที่ ๕๐ ในวันที่ ๙ มิถุยายน ๒๕๓๙
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระราชทาน พระบรมราชานุญาต ให้กองทัพเรือ สร้างเรือพระที่นั่ง จำนวน ๑ ลำ พร้อมกับ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ พระราชทานชื่อเรือว่า "เรือพระที่นั่งนารายณ์ทรงสุบรรณ รัชกาลที่ ๙" เรือลำดังกล่าว มีฐานะเป็น เรือพระที่นั่งรองทอดบัลลังก์กัญญา เทียบเท่า เรือพระที่นั่งอนันตนาคราช และเรือพระที่นั่งเอนกชาติภุชงค์ และคาดว่าจะแล้วเสร็จในวันที่ ๕ พฤษภาคม ๒๕๓๙ พร้อมกับ จะดำเนินการซ่อมเรือพระราชพิธีทั้ง ๕๓ ลำ ให้พร้อมที่จะใช้ ในการเสด็จพระราชดำเนิน โดย กระบวนพยุหยาตราทางชลมารค การสร้างเรือพระที่นั่งในครั้งนี้ เป็นการสร้างใหม่ ทั้งหมด และเป็น เรือพระที่นั่งลำแรก ที่สร้างในรัชสมัยนี้ ซึ่งจะเป็นการรักษามรดก ทางศิลปสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ โดยใช้ช่างไทยแกะสลักโขนเรือ ตามต้นแบบเดิม และเมื่อวันที่ ๕ กันยายน ๒๕๓๗ ที่ผ่านมา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้เสด็จพระราชดำเนิน มาทรงเป็นองค์ประธานในพิธีวางกระดูกงูเรือพระที่นั่งนารายณ์ทรงสุบรรณ รัชกาลที่ ๙ ณ อู่ทหารเรือธนบุรี กรมอู่ทหารเรือ
ลักษณะของโครงการ
การสร้างเรือพระที่นั่งลำใหม่ มีงานสร้างเรือตามวิธีการ ช่างต่อเรือยุครัตนโกสินทร์ตอนต้น ผสมกับเทคนิคต่อเรือสมัยใหม่ โขนเรือเป็นรูปนารายณ์ทรงสุบรรณ จะมีขนาดใหญ่กว่าเดิม เล็กน้อย คือ ตัวเรือกว้าง ๓.๒๐ เมตร ยาว ๔๔.๓๐ เมตร กินน้ำลึก ๑.๑๐ เมตร น้ำหนัก ๒๐ ตัน ส่วนฝีพายซึ่งเรือลำเดิมใช้ ๖๕ นายนั้น มีแนวความคิดที่จะใช้ฝีพายเพียง ๕๐ นาย เพื่อเป็นการแสดงความหมายสอดคล้อง ถึงวโรกาส ๕๐ ปี แห่งการครองราชย์ของ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลปัจจุบัน
วัตถุประสงค์และเป้าหมาย
๑. เพื่อเป็นการเฉลิมพระเกียรติ โดยการสร้างเรือพระที่นั่งลำใหม่ ทดแทนเรือพระที่นั่งลำเดิม ซึ่งโขนเรือเป็นรูปนารายณ์ทรงสุบรรณ อันเป็นมงคลนาม ตามประวัติ จำนวน ๑ ลำ มีฐานะเป็น เรือพระที่นั่งรองทอดบัลลังก์กัญญา เทียบเท่าเรือพระที่นั่งอนันตนาคราช และเรือพระที่นั่งเอนกชาติภุชงค์ ขึ้นน้อมเกล้าฯ ถวายพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในวโรกาสทรงครองราชย์ปีที่ ๕๐ ดังกล่าว ซึ่งเป็นเรือพระที่นั่งลำแรกที่สร้างขึ้น ในรัชกาลปัจจุบัน
๒. รักษามรดกทางศิลปวัฒนธรรมไทยให้คงไว้ ด้วยการสร้างเรือพระที่นั่งลำใหม่ โขนเรือเป็นรูป นารายณ์ทรงสุบรรณ โดยใช้ต้นแบบเดิม ที่เป็นฝีมือช่างยุครัตนโกสินทร์ตอนต้น ในรัชกาลที่ ๓ และรัชกาลที่ ๔ ซึ่งตัวเรือทรุดโทรมไปตามกาลเวลาคงเหลือแต่โขนหัวเรือ ประกอบด้วย พญาสุบรรณ (พญาครุฑ) และพระนารายณ์ ซึ่งอยู่ในสภาพดี
๓. อนุรักษ์เรือลำนี้ไว้ในกระบวนเรือพระราชพิธี ทำให้กระบวนเรือมีความสมบูรณ์ขึ้น และจะได้อนุรักษ์ฝีมือช่างยุครัตนโกสินทร์ไว้มิให้สูญสลาย
122 เรือพระที่นั่งกิ่ง (*) เรือกิ่งหมายถึง เรือประเภทเรือขุดจากท่อนซุง ต่อหัวเรือยกสูงงอนขึ้น แกะสลักหัวเรือ ท้ายเรือด้วยศิลป ประติมากรรมที่งดงาม ได้ความคิดมาจาก "กิ่งดอกเลา" ซึ่งปักที่หัวเรือในสมัยกรุงศรีอยุธยา แผ่นดินสมเด็จ พระเจ้าทรงธรรม ปัจจุบันเหลือเพียงสามลำเท่านั้น คือ เรือพระที่นั่งสุพรรณหงส์ เรือพระที่นั่งอนันตนาคราช เรือพระที่นั่งเอนกชาติภุชงค์
123 งานสัปดาห์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ ประจำปีพุทธศักราช 2559 โดยคณะวิทยาศาสตร์ร่วมกับกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และสมาคมวิทยาศาสตร์แห่งประเทศไทยในพระบรมราชุปถัมป์ มีกำหนดการจัดงานระหว่างวันที่ 17-19 สิงหาคม 2559 รวมเป็นเวลา 3 วัน ภายใต้หัวข้อหลัก “จุดประกายความคิด พัฒนาชีวิตด้วยวิทยาศาสตร์ เสริมสร้างชาติด้วยเทคโนโลยี สู่วิถีแห่งนวัตกรรม” ภายใต้หัวข้อย่อย “ปีแห่งถั่วเมล็ดแห้ง (International Year of Pulses) และ STEM Education"
วัตถุประสงค์หลักในการจัดงานสัปดาห์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ ประกอบด้วย
1. เพื่อเทิดพระเกียรติ และพระปรีชาสามารถทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ในฐานะทรงเป็น “พระบิดาแห่งวิทยาศาสตร์ไทย”
2. เพื่อเทิดพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ รัชกาลที่ 9 ในฐานะทรงเป็น “พระบิดาแห่งเทคโนโลยีของไทย” และ “พระบิดาแห่งนวัตกรรมไทย”
3. เพื่อเทิดพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 เนื่องในโอกาสครองราชย์ครบ 70 พรรษา
4. เพื่อให้เยาวชนและประชาชนทั่วไป ทราบและตระหนักถึงความสำคัญของวันวิทยาศาสตร์แห่งชาติ
5. เพื่อส่งเสริมและเผยแพร่ผลงานการค้นคว้าวิจัยทางวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรมของไทย
6. เพื่อกระตุ้นให้เยาวชนและประชาชนทั่วไป มีความเข้าใจในวิทยาศาสตร์มากขึ้น และรู้จักนำวิทยาศาสตร์ไปใช้ในชีวิตประจำวัน
กิจกรรมสำคัญในงานสัปดาห์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ ปีนี้ ได้แก่
- พิธีถวายพานพุ่มราชสักการะพระบรมราชานุสาวรีย์ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4
ในวันพฤหัสบดีที่ 18 สิงหาคม 2559
- นิทรรศการเทิดพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 นิทรรศการเทิดพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 เนื่องในโอกาสครองราชย์ ครบ 70 พรรษา - นิทรรศการทางวิชาการจากภาควิชาในคณะวิทยาศาสตร์ และหน่วยงานภายนอก
ในงานสัปดาห์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ ปีนี้ ยังมีการบรรยายพิเศษ เรื่อง “โครงงานวิทยาศาสตร์ ทำเงินได้ : ธุรกิจ Start-up”
124
ขอแสดงความยินดี ดร. สุทธิศักดิ์ แก้วแกมจันทร์ ที่ได้ "รับรางวัลศาสตราจารย์สังเวียน อินทรวิชัย" ผู้ทำความดีเพื่อสังคม สาขาการพัฒนาการศึกษา จากมูลนิธิศาสตราจารย์สังเวียน อินทรวิชัย (“มูลนิธิ”) เมื่อวันที่ 3 พฤศจิกายน 2557 ดร. สุทธิศักดิ์ แก้วแกมจันทร์ เป็นอาจารย์ประจำสาขาวิชาสัตวศาตร์ เกษตรศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตสุรินทร์

วัตถุประสงค์ เพื่อยกย่อง เชิดชูเกียรติ บุคคลที่ปฏิบัติงานและมีผลงานดีเด่น เป็นที่ประจักษ์ในด้านการพัฒนาการศึกษาของประเทศ โดยการสนับสนุนของมูลนิธิตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
ความเป็นมา “รางวัลศาสตราจารย์สังเวียน อินทรวิชัย” ได้รับการสนับสนุนจากมูลนิธิตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย จัดให้มีโครงการเชิดชูผู้ทำคุณความดีแก่สังคมขึ้น โดยมอบรางวัลและทุนทรัพย์ให้แก่มูลนิธิหรือองค์กรเพื่อสังคมที่ได้รับการคัดเลือกในสาขาต่างๆ เพื่อส่งเสริมให้หน่วยงานที่ดำเนินกิจกรรมเพื่อสังคมสามารถดำเนินงานได้อย่างต่อเนื่องและยั่งยืน และเพื่อเชิดชูผู้ทำความดีแก่ส่วนรวมในด้านต่างๆ ซึ่งมูลนิธิศาสตราจารย์สังเวียน อินทรวิชัย ได้รับการคัดเลือกให้ได้รับรางวัลด้านการพัฒนาการศึกษา โดยมีภารกิจในการสรรหาบุคคลผู้ทำคุณประโยชน์แก่ วงการศึกษาเพื่อให้ได้รับรางวัลเกียรติยศ “รางวัลศาสตราจารย์สังเวียน อินทรวิชัย”


125 “เมมโมรี่ การ์ด สมเด็จเจ้าฟ้าไอที”
นับได้ว่าเป็นความปลาบปลื้มปิติให้กับประชาชนคนไทยอีกครั้ง สืบเนื่องมาจาก คณะบุคคลที่เกิดปีมะแม(สหชาติ) จำนวนกว่า ๖๐ ท่าน นำโดย นายสุเฑพ ศิลปะงาม, ดร.วิฑูร กรุณา, นายสมบัติ ฤทธิ์ทวี, นายพฤฒิพล ประชุมผล และ นายมหัศจักร โสดี เป็นตัวแทนคนปีมะแม ร่วมกับ บริษัท อาร์.ที.เอส.ประเทศไทย จำกัด ได้จัดทำหนังสือขอพระราชทานพระราชานุญาต เชิญตราสัญญาลักษณ์งานเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เนื่องในโอกาสฉลองพระชนมายุ ๕ รอบ พร้อมพระฉายาลักษณ์ เพื่อประดับลงบน เมมโมรี่การ์ด ยูเอสบี ขนาดเท่าบัตรเอทีเอ็ม

ทั้งนี้ เมื่อวันที่ ๒๖ พฤษภาคม ที่ผ่านมาถือได้ว่าเป็นความภาคภูมิใจให้กับคณะผู้จัดเป็นอย่างมากที่ สำนักราชเลขา โดยกองราชเลขานุการในพระองค์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ได้มีหนังสือตอบกลับ ว่าพระองค์ทรงพระราชทานพระราชานุญาตตามที่ขอ และได้มีการลงนามโดย คุณหญิงอารยา พิบูลนครินทร์ ราชเลขานุการในพระองค์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทั้งนี้ยังได้ทรงมีพระราชดำรัสฝากมายังคณะผู้จัดทำด้วยว่า “อยากให้ประชาชนมีไว้ใช้กันอย่างทั่วถึง” และด้วยเหตุนี้เอง จึงทำให้ทีมงานได้ตั้งเป้าหมายไว้ว่า ควรจัดทำเป็นเมมโมรี่การ์ดนี้ ให้เป็นของที่ระลึกในปีมหามงคลสำหรับปีนี้ เพื่อให้เป็นประโยชน์ต่อการให้งานและเป็นการเฉลิมพระเกียรติฯ พร้อมทั้งยังเป็นการสนับสนุนการเผยแพร่การเรียนรู้ของคนในชาติ โดยเน้นในด้านการศึกษาของชาติ ซึ่งถือได้ว่าเป็นเป็นเรื่องสำคัญลำดับแรกในการพัฒนาประเทศ โดยได้ใช้ชื่อว่า เมมโมรี การ์ด ยูเอสบี สมเด็จเจ้าฟ้าไอที

126การจัดแข่งขัน "รางวัล เจ้าฟ้าไอที รัตนราชสุดา สารสนเทศ" มีวัตถุประสงค์เพื่อ สนับสนุนงานวิจัยพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศในประเทศไทย ให้มีความก้าวหน้าทัดเทียมระดับสากล สามารถนำมาพัฒนาในเชิงธุรกิจ และมีจุดประสงค์หลักเพื่อสร้างประโยชน์ให้กับประเทศ รวมทั้งเพื่อเป็นการสนับสนุนให้มีการพัฒนาบุคลากรทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศอย่างกว้างขวางทั้งภาครัฐและเอกชน


127 เรากำลังจะมีรถไฟฟ้าลอดใต้แม่น้ำเจ้าพระยาแห่งเเรกของไทย อยู่ที่โครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน ส่วนต่อขยายที่ผ่านมามักจะเห็นความเข้าใจผิดว่าตัวอุโมงค์อยู่ในน้ำบ้าง หรือไม่มั่นใจในความปลอดภัยของตัวอุโมงค์ที่ลอดใต้แม่น้ำ จึงทำภาพจำลองชุดนี้ขึ้นมาประกอบกับภาพถ่ายสถานที่จริง อุโมงค์ลอดใต้แม่น้ำอยู่ระหว่าง สถานีสนามไชยกับสถานีอิสรภาพ เป็นอุโมงค์คู่ขนานกัน ไปกลับ โดยมีระยะห่างระหว่างสองสถานีนี้อยู่ที่ 1,254.23 เมตร ทำให้ต้องมีปล่องระบายอากาศระหว่างทาง และยังใช้เป็นทางออกฉุกเฉิน และปล่องระบายอากาศนี้ในระหว่างก่อสร้างยังสามารถลงไปตรวจสอบซ่อมแซมหัวขุด TBM ก่อนจะขุดลอดใต้แม่น้ำได้อีกด้วย อุโมงค์ช่วงลอดใต้จุดกึ่งกลางแม่น้ำมีความลึก 30.86 เมตร และแม่น้ำเจ้าพระยาช่วงที่อุโมงค์ลอดลึกสุดประมาณ 20 เมตร ตัวอุโมงค์อยู่ในชั้นดินใต้แม่น้ำ ความลึกจากใต้ท้องน้ำถึงหลังอุโมงค์ 9.71 เมตร ที่จุดกึ่งกลางแม่น้ำ ซึ่งแน่นอนครับ อุโมงค์ไม่ได้อยู่ในน้ำหรือใกล้กับแม่น้ำครับ เรื่องความปลอดภัยนั้นวางใจได้ครับ อุโมงค์ไม่ได้อยู่ในน้ำ ไม่ได้อยู่ใกล้น้ำ แต่อยู่ในดิน และมีระยะทางในการอพยพกรณีเกิดเหตุฉุกเฉินที่ได้มาตรฐาน
128 พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี พระวรราชาทินัดดามาตุ ประทานความช่วยเหลือราษฎรที่ประสบภัยในพื้นที่ต่างๆ
ที่ห้องประชุมมูลนิธิเปรมติณสูลานนท์ จังหวัดนครราชสีมา ศาสตราจารย์กิตติคุณ ดำรง เหรียญประยูร รองประธานมูลนิธิอาสาเพื่อนพึ่งภาฯ ยามยาก สภากาชาดไทย เป็นประธานในพิธีเปิดการอบรมสาธิตการเตรียมน้ำดื่มปลอดภัย พีแอนด์จี ให้กับเจ้าหน้าที่ อสม. และกลุ่มองค์การสตรีของพัฒนาชุมชน เพื่อเตรียมรับสถานการณ์ฉุกเฉิน สนองพระดำริพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี พระวรราชาทินัดดามาตุ เพื่อให้ประชาชนได้บริโภคน้ำสะอาด ที่ปลอดภัยตามมาตรฐานสากลและสามารถทำเองได้ โดยมูลนิธิฯ ได้กระจายผงทำน้ำดื่มพีแอนด์จีไปยังสำนักงานพัฒนาชุมชน ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร สาขาเมืองทุกจังหวัด โดยผู้นำชุมชนหรือประชาชนที่สนใจ สามารถขอรับผงน้ำดื่มดังกล่าวได้ ซึ่งประชาชนจังหวัดนครราชสีมา ที่อยู่นอกเขตเมือง สามารถขอรับผงทำน้ำดื่มได้จากพัฒนากรประจำตำบล
ส่วนที่ฝูงเฮลิคอปเตอร์ กรมทหารราบที่ 11 รักษาพระองค์ พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี พระวรราชาทินัดดามาตุ โปรดให้มูลนิธิอาสาเพื่อนพึ่งภาฯ ยามยาก สภากาชาดไทย บรรจุถุงยังชีพพระราชทาน ประกอบด้วย เครื่องอุปโภค-บริโภคที่จำเป็น จำนวน 5,500 ถุง เพื่อให้เพียงพอต่อความต้องการของผู้ประสบอุทกภัยในขณะนี้ โดยวันพรุ่งนี้ มูลนิธิฯ จะนำถุงยังชีพพระราชทานลำเลียงขึ้นรถบรรทุก เพื่อไปมอบให้แก่ผู้ประสบอุทกภัยในพื้นที่จังหวัดเพชรบูรณ์ สุโขทัย และลำปาง เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนในเบื้องต้น โดยถุงยังชีพพระราชทานบางส่วนจะเก็บไว้สำรองเพื่อใช้ในโอกาสต่อไป
129 กรมวังผู้ใหญ่ เปิดการประชุมเชิงปฏิบัติการส่งเสริมเศรษฐกิจพอเพียงในชุมชน ที่จังหวัดอำนาจเจริญ
ที่บ้านโนนธาตุ ตำบลพนา อำเภอพนา จังหวัดอำนาจเจริญ ว่าที่ร้อยตรี กิตติ ขันธมิตร กรมวังผู้ใหญ่ เป็นประธานเปิดโครงการประชุมเชิงปฏิบัติการส่งเสริมเศรษฐกิจพอเพียงในชุมชน ซึ่งสำนักงานโครงการสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ร่วมกับหน่วยงานต่างๆ จัดขึ้นสนองพระราชดำริในการส่งเสริมให้ประชาชน มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับแนวพระราชดำริปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ก่อนน้อมนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน
บ้านโนนธาตุ มีประชากร 716 คน 239 ครัวเรือน ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม ภายในชุมชนมี “ศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงบ้านโนนธาตุ” เป็นสถานที่แลกเปลี่ยนองค์ความรู้ในการน้อมนำแนวพระราชดำริเศรฐกิจพอเพียงมาประยุกต์ใช้และได้ผลจริง
130 พระเมตตา “พระบรมราชจักรีวงศ์” ต่อผู้ป่วยสถาบันจิตเวชฯ สมเด็จเจ้าพระยา
“..ประเทศอื่นราษฎรเขาเป็นผู้ขอให้ทำ เจ้าแผ่นดินจำใจทำ ในเมืองเรานี้เป็นแต่พระเจ้าแผ่นดินเห็นว่าควรจะทำ เพราะจะเป็นการเจริญแก่บ้านเมืองและเป็นความสุขแก่ราษฎรทั่วไป จึงได้คิดทำ เป็นการผิดกันอย่างตรงกันข้าม..”
“โรงพยาบาลสมเด็จเจ้าพระยา” ซึ่งปัจจุบันใช้ชื่อว่า “สถาบันจิตเวชศาสตร์สมเด็จเจ้าพระยา” เป็น โรงพยาบาลจิตเวชแห่งแรกของประเทศไทย เป็นสถานที่พึ่งของผู้ป่วยที่เกี่ยวกับสุขภาพจิต เปิดให้บริการบำบัดรักษาผู้ป่วยจิตเวชอย่างต่อเนื่องยาวนานมาเป็นเวลา 127 ปีแล้ว
โดยโรงพยาบาลหรือสถาบันแห่งนี้ก่อตั้งขึ้นโดยพระมหากรุณาธิคุณของ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อวันที่ 1 พ.ย. 2432 บริเวณปากคลองสาน
แรกเริ่มมีชื่อว่า “โรงพยาบาลคนเสียจริต” หรือคนทั่วไปเรียกว่า “โรงพยาบาลปากคลองสาน” ซึ่งเมื่อแรกรับมีผู้ป่วยราว 30 คน ต่อมาทวีจำนวนขึ้น…จนบางปีมีมากกว่า 1,000 คน
ด้วยปัญหาจำนวนผู้ป่วยที่ทวีสูงขึ้น ประกอบกับการชำรุดทรุดโทรมของโรงพยาบาลซึ่งมีสภาพเป็นตึกเก่าที่ต้องซ่อมแซมอยู่ตลอด พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระราชดำริให้ย้ายโรงพยาบาลไปอยู่ ณ สถานที่ใหม่ ซึ่งก็คือสถานที่ตั้งสถาบันจิตเวชศาสตร์สมเด็จเจ้าพระยาในปัจจุบัน

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงกำหนดให้อยู่บริเวณคลองสานฟากตรงข้ามกับโรงพยาบาลกาฬโรค ที่เรียกอีกชื่อหนึ่งว่า “โรงพยาบาลโรคติดต่อ” ซึ่งปัจจุบันคือ “โรงพยาบาลตากสิน”
สถาบันจิตเวชศาสตร์สมเด็จเจ้าพระยา มีประวัติความเป็นมายาวนานกว่าศตวรรษ และอาจกล่าวได้ว่าเป็นสถาบันจิตเวชศาสตร์แห่งเดียวในโลกที่มีกำเนิด และได้รับการส่งเสริมให้พัฒนาสู่การเป็นสถาบันจิตเวชศาสตร์ตามแบบอย่างอารยประเทศ ด้วยพระมหากรุณาธิคุณ ด้วยพระเมตตา ของพระมหากษัตริย์ และพระบรมวงศานุวงศ์ มาโดยตลอด ดังพระราชดำรัสของ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ความสำคัญตอนหนึ่งว่า…
“..ประเทศอื่นราษฎรเขาเป็นผู้ขอให้ทำ เจ้าแผ่นดินจำใจทำ ในเมืองเรานี้เป็นแต่พระเจ้าแผ่นดินเห็นว่าควรจะทำ เพราะจะเป็นการเจริญแก่บ้านเมืองและเป็นความสุขแก่ราษฎรทั่วไป จึงได้คิดทำ เป็นการผิดกันอย่างตรงกันข้าม..”

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระองค์ทรงเป็นพระมหากษัตริย์พระองค์แรกที่ทรงเอาพระราชหฤทัยใส่งานด้านจิตเวชศาสตร์มาโดยตลอด ทรงสนับสนุนการพัฒนาโรงพยาบาลที่คลองสานตั้งแต่เริ่มก่อตั้ง จนสิ้นรัชสมัย โดยพระองค์ท่านเสด็จสวรรคตในวันที่ 23 ต.ค. 2453 โดยที่พระองค์ยังมิทันได้ทอดพระเนตรความสำเร็จของโรงพยาบาลแห่งใหม่
ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว พระองค์ได้ทรงมีพระมหากรุณาธิคุณ พระราชทานพระบรมราชานุญาตให้จัดทำงบประมาณการก่อสร้างโรงพยาบาลคนเสียจริตให้สำเร็จลุล่วงตามพระราชประสงค์ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทำให้โรงพยาบาลสามารถเปิดทำการบำบัดรักษาผู้ป่วยได้ในเดือน ก.ย. 2455 ซึ่งโรงพยาบาลแห่งใหม่นี้ประชาชนทั่วไปนิยมเรียกว่า “หลังคาแดง” ตามสีแดงที่ใช้ทาหลังคาเรือนพยาบาลและเรือนผู้ป่วย
ต่อมาในรัชสมัย พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว โรงพยาบาลคนเสียจริตได้เปลี่ยนชื่อเป็น “โรงพยาบาลโรคจิต ธนบุรี” และได้นำวิธี อาชีวบำบัด (occupational therapy) มาใช้บำบัดรักษาผู้ป่วยจิตเวชเป็นครั้งแรกในไทย

จากนั้น ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร ทางโรงพยาบาลได้เริ่มนำวิธีการบำบัดรักษาผู้ป่วยจิตเวชตามหลักจิตเวชศาสตร์ตะวันตกมาใช้ และได้รับพระราชทานเงินสำหรับเป็นทุนในการก่อสร้างเรือนพิเศษสำหรับผู้ป่วยจิตเวชชายของโรงพยาบาลในปี พ.ศ. 2488 โดยตั้งชื่อว่า “เรือนพยับหมอก”
ในช่วงปี พ.ศ. 2502-2514 ถือเป็นยุคแห่งความเจริญก้าวหน้า มีการก่อสร้างอาคารในโรงพยาบาลเพิ่มขึ้นจำนวนมาก โดยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ได้ทรงมีพระมหากรุณาธิคุณพระราชทานเงิน 409,071.50 บาท จากการจัดฉายภาพยนตร์ส่วนพระองค์ สมทบกับผู้มีจิตศรัทธาร่วมบริจาค เพื่อสร้าง “อาคารราชสาทิส” อันเป็นนามพระราชทาน
โรงพยาบาลโรคจิตธนบุรี ได้มีการเปลี่ยนชื่อเป็น “โรงพยาบาลสมเด็จเจ้าพระยา” และมีการขยายงานจิตเวชสาขาต่าง ๆ เพื่อให้การบำบัดรักษาเฉพาะทางแก่ผู้ป่วยจิตเวช โดยในปี พ.ศ. 2502 โรงพยาบาลได้จัดตั้งแผนกระบบประสาท ขึ้น

ทั้งนี้ จากกระแสพระราชดำรัสของ สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี เมื่อวันที่ 27 มิ.ย. 2503 ซึ่งในเวลานั้นทรงเป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ และได้เสด็จพระราชดำเนินทรงเปิดอาคารราชสาทิส ณ โรงพยาบาลสมเด็จเจ้าพระยา หรือ สถาบันจิตเวชศาสตร์สมเด็จเจ้าพระยา ในปัจจุบัน ความสำคัญตอนหนึ่งคือ…
“..ข้าพเจ้าตระหนักดีว่าผู้ป่วยโรคจิตเป็นบุคคลที่น่าเวทนาสงสาร และทราบว่าอาจรักษาให้หายได้ ถ้ารักษาถูกทางในขั้นต้น และได้รับความเห็นอกเห็นใจจากญาติมิตรและสังคม พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้มีพระราชดำริและทรงสนพระทัยในเรื่องนี้อยู่แล้ว จึงพระราชทานภาพยนตร์ส่วนพระองค์ชุดเสด็จภาคใต้ ฉายเก็บเงินสร้างอาคารคนไข้หลังนี้ขึ้นเพื่อช่วยเหลือผู้ป่วย และหวังเป็นอย่างยิ่งว่าประชาชนจะได้เริ่มเห็นความสำคัญเรื่องปัญหาโรคจิตมากขึ้นและให้ความช่วยเหลือตามโอกาส..”

หลังจากนั้น ในวันที่ 28 ต.ค. 2508 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระมหากรุณาธิคุณโปรดเกล้าฯ พระราชทาน เครื่องมือผ่าตัดสมองด้วยความเย็น (Cryosurgical Unit) ซึ่งได้จัดซื้อด้วยพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ โดย โรงพยาบาลแห่งนี้นับเป็นโรงพยาบาลแห่งแรกในประเทศไทยที่เริ่มใช้เครื่องมือผ่าตัดสมองชนิดนี้
ต่อมา ในปี พ.ศ. 2511 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชดำเนินทรงเปิดตึก จุลินทร์-สงวน ล่ำซำ และตึกประสาทวิทยา ซึ่งใช้บำบัดรักษาโรคระบบประสาทโดยตรง และ ในปี พ.ศ. 2516 ทรงมีพระมหากรุณาธิคุณเสด็จพระราชดำเนินทรงวางศิลาฤกษ์อาคาร 84 ปี ณ โรงพยาบาลสมเด็จเจ้าพระยา

ในปี พ.ศ. 2520 สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร เสด็จพระราชดำเนิน พร้อมด้วย พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี พระวรราชาทินัดดามาตุ ทรงเปิดตึก 84 ปี และในปีถัดมาทั้งสองพระองค์ได้ทรงมีพระมหากรุณาธิคุณ เสด็จพระราชดำเนินเป็นการส่วนพระองค์เพื่อเยี่ยมชมโรงพยาบาลอีกครั้งหนึ่ง
ถึงปี พ.ศ. 2522 ได้มีการก่อตั้ง “มูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จเจ้าพระยา” โดยการรวบรวมเงินบริจาคจากผู้มีจิตศรัทธาเป็นจำนวนทั้งสิ้น 303,426.75 บาท เพื่อเป็นทุนเริ่มแรกในการขอจัดตั้งมูลนิธิฯ และได้จดทะเบียนจัดตั้งมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จเจ้าพระยา เมื่อวันที่ 10 ม.ค. 2523

ปี พ.ศ. 2532 สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินทรงเปิด “พิพิธภัณฑ์โรงพยาบาลสมเด็จเจ้าพระยา” และในปี พ.ศ. 2543 ได้เสด็จพระราช ดำเนินทรงนำคณะอาจารย์และนักเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า ทัศนศึกษา ณ พิพิธภัณฑ์แห่งนี้ จากนั้นในปี พ.ศ. 2544 ทรงมีพระมหากรุณาธิคุณรับมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จเจ้าพระยาไว้ในพระราชูปถัมภ์ และในปี พ.ศ. 2547 ได้เสด็จพระราช ดำเนินทรงวางศิลาฤกษ์อาคารราชสาทิสหลังใหม่ ซึ่งสร้างขึ้นแทนหลังเก่าที่ทรุดโทรม ซึ่งเมื่ออาคารสร้างแล้วเสร็จในปี พ.ศ. 2550 ได้เสด็จพระราช ดำเนินทรงเปิดอาคารหลังนี้
กล่าวสำหรับ มูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จเจ้าพระยา ในพระราชูปถัมภ์ฯ การดำเนินงานนั้นประสบความสำเร็จมาโดยตลอด โดยเฉพาะการรณรงค์หาเงินบริจาคเพื่อเกื้อประโยชน์ให้แก่ผู้ป่วยจิตเวชของสถาบันจิตเวชศาสตร์สมเด็จเจ้าพระยา
ทั้งนี้ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระมหากรุณาธิคุณให้อัญเชิญ พระปรมาภิไธยย่อ ภปร ประดิษฐานบนอาคาร ตามที่มูลนิธิฯ กราบบังคมทูลขอพระบรมราชานุญาต พร้อมกันนี้ได้ทรงวางศิลาฤกษ์ อาคาร สก. และในปี พ.ศ. 2552 ได้เสด็จพระราชดำเนินเปิดงาน100 ปี ศาสตราจารย์ นายแพทย์ฝน แสงสิงแก้ว ในวาระ 120 ปี สุขภาพจิตไทย
ในปี พ.ศ. 2550 สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ได้ทรงมีพระมหากรุณาธิคุณ พระราชทานทรัพย์ส่วนพระองค์ จำนวน 2,000,000 บาท เพื่อสมทบทุนสร้างอาคารผู้ป่วยในจิตเวชหญิง โดยท่านผู้หญิงจรุงจิตต์ ทีขะระ เป็นผู้แทนพระองค์นำมามอบให้มูลนิธิฯ และเมื่ออาคารสร้างแล้วเสร็จ ทรงมีพระมหากรุณาธิคุณพระราชทานนามอาคารหลังนี้ว่า “สมเด็จพระบรมราชินีนาถ ในรัชกาลที่ 9” และพระราชทานพระราชานุญาตให้อัญเชิญ พระนามาภิไธยย่อ สก ประดิษฐาน ณ ชั้นสูงสุดของอาคาร
และในวันที่ 22 มิ.ย. 2555 สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ทรงมีพระมหากรุณาธิคุณ เสด็จพระราชดำเนินทรงเปิดอาคารสมเด็จพระบรมราชินีนาถในรัชกาลที่ 9
โอกาสนี้ได้พระราชทานเงินจำนวน 500,000 บาท แก่คุณหญิงเอื้อปรานี เจียรวนนท์ ประธานมูลนิธิฯ เพื่อเป็นค่าอาหารผู้ป่วย ซึ่งก่อนหน้านี้ในปี 2554 ก็ทรงมีพระมหากรุณาธิคุณ พระราชทานทรัพย์ส่วนพระองค์ จำนวน 300,000 บาท เพื่อเป็นค่าอาหารผู้ป่วยของสถาบันจิตเวชศาสตร์สมเด็จเจ้าพระยาด้วย โดย ดร.จิรายุ อิศรางกูร ณ อยุธยา เป็นผู้แทนพระองค์นำมามอบให้
ซึ่งนับเป็นพระมหากรุณาธิคุณที่ทรงมีพระเมตตาต่อผู้ป่วยจิตเวช และยังความปลื้มปีติมาสู่ข้าราชการของสถาบันฯ และมูลนิธิฯ เป็นล้นพ้น

ในปัจจุบัน ประชาชนที่เข้ารับการบำบัดรักษาที่ สถาบันจิตเวชศาสตร์สมเด็จเจ้าพระยา ส่วนใหญ่ เป็นผู้ป่วยจิตเวชที่มีอาการทางจิตรุนแรง เรื้อรัง และเป็นผู้ยากไร้ ขณะที่อาคารผู้ป่วยเริ่มไม่เพียงพอ และหลายอาคารก็ทรุดโทรมไปตามกาลเวลา
ทาง มูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จเจ้าพระยา ในพระราชูปถัมภ์ฯ จึงได้ร่วมกับ กองทัพบก จัดรายการเชิญชวนร่วมบริจาค การกุศล “สายธารศรัทธา สู่…สถาบันจิตเวชศาสตร์สมเด็จเจ้าพระยา โรงพยาบาลสมเด็จเจ้าพระยา (หลังคาแดง) 127 ปี” ขึ้น ทางสถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบก ในวันพุธที่ 14 ก.ย. 2559 เวลา 22.30–00.30 น.
เพื่อสร้างอาคารเพื่อเฉลิมพระเกียรติ 60 พรรษา สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี และสมทบทุนกองทุนสมเด็จพระบรมราชินีนาถ ในรัชกาลที่ 9 เพื่อผู้ป่วยจิตเวชยากไร้ และฝึกอาชีพผู้ป่วยจิตเวช เพื่อให้ผู้ป่วยจิตเวชได้รับการรักษา และสามารถกลับสู่สังคมได้.
131 ยิ่งฟัง..ยิ่งรัก“ในหลวง”
60 ปีกว่าแห่งการครองสิริราชสมบัติของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว สิ่งที่ล้ำค่าและทรงความหมาย อาจมิได้อยู่แค่การเป็นกษัตริย์ที่ทรงครองราชย์ยาวนานที่สุดในโลก
หากแต่อยู่ที่ทรงครองแผ่นดินโดยเปี่ยมด้วยทศพิธราชธรรมเพื่อประโยชน์สุขของประเทศและราษฎร พระองค์ไม่เพียงเป็นกษัตริย์ที่เพียบพร้อมด้วยความเป็นเลิศทุกด้าน
แต่ยังทรงเปี่ยมด้วยพระราชจริยวัตรอันงดงามและเรียบง่าย เฉกเช่นสามัญชนคนธรรมดา ลองฟังคำบอกเล่าจาก “ดร.สุเมธ ตันติเวชกุล” ผู้ถวายงานใกล้ชิด แล้วหัวใจทุกดวงจะรู้สึก “รักในหลวง” ของเรามากขึ้น
ตลอดระยะเวลาแห่งการเสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช พระองค์ทรงปฏิบัติพระราชกรณียกิจน้อยใหญ่นานัปการเพื่อพสกนิกรชาวไทย ดังที่พระองค์ทรงมีพระปฐมบรมราชโองการว่า “เราจะครองแผ่นดินโดยธรรม เพื่อประโยชน์สุขแห่งมหาชนชาวสยาม”
พระราชดำริของพระองค์ก่อกำเนิดโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริมากมายหลายพันโครงการ ไม่ว่าจะเป็นด้านการเกษตร, สิ่งแวดล้อม, สาธารณสุข, ส่งเสริมอาชีพ, พัฒนาแหล่งน้ำ, การคมนาคมสื่อสาร และสวัสดิการสังคม ทำให้ราษฎรทั่วทุกภูมิภาคของประเทศมีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น สามารถพึ่งตนเองได้
พระองค์ไม่เพียงทุ่มเทพระวรกายทรงงานหนักเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของพสกนิกรเท่านั้น หากยังทรงตั้งมั่นในทศพิธราชธรรมอย่างเคร่งครัด ทศพิธราชธรรม หรือราชธรรมทั้ง 10 ประการที่พระองค์ทรงบำเพ็ญมาโดยสม่ำเสมอ ได้แก่ ทาน ศีล บริจาค ความซื่อตรง ความอ่อนโยน ความเพียร ความไม่โกรธ ความไม่เบียดเบียน ความอดทน และความเที่ยงธรรม
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ไม่เพียงแต่ทรงมีพระมหากรุณาธิคุณต่ออาณาประชาราษฎร์อย่างหาที่สุดมิได้ หากยังทรงมีพระอัจฉริยภาพที่เป็นเลิศทุกด้าน และพระราชจริยวัตรที่เรียบง่าย เป็นที่ประทับใจแก่ผู้ที่ได้มีโอกาสถวายงานใกล้ชิด
ดร.สุเมธ ตันติเวชกุล เลขาธิการมูลนิธิชัยพัฒนา และที่ปรึกษาสำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ(กปร.) ซึ่งได้มีโอกาสถวายงานใกล้ชิดพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเป็นเวลากว่า 20 ปี
กล่าวถึงพระอัจฉริยภาพของพระองค์ด้วยความประทับใจว่า ทรงมีความเป็นเลิศรอบด้าน และทรงงานด้วยใจเพื่อพสกนิกรของพระองค์ หากงานยังไม่สำเร็จจะไม่ทรงหยุด
“เรามักจะทึ่งเสมอว่า เวลารับสั่งอะไร ไม่ว่าเรื่องอะไร จะทรงรู้หมด ทางด้านวิทยาศาสตร์ ด้านเคมี ด้านธรรมชาติ มนุษยศาสตร์ ทุกด้านทรงเป็นเลิศหมด และลึกซึ้งมาก
และบางครั้งเราก็ ระดับ ดร.บางทีเราคิดในใจ อย่างนั้นมองไปได้ 2-3 ชั้น แต่พระองค์พอรับพระราชกระแสแล้วปรากฎว่าทรงมองไปตั้ง 6-7 ชั้น เราตามไม่ค่อยจะทัน
และอีกประการหนึ่ง ทรงทำด้วยใจด้วยพระทัยที่รักประชาชนจริงๆ จะเห็นเวลาทรงงานจะไม่ทรงสนพระทัยอะไรเลย มุ่งไปแต่เรื่องงานจนกระทั่งสำเร็จ ไม่สำเร็จจะไม่ทรงหยุดเลย และทุ่มเทไม่มีกลางวันกลางคืน ไม่มีเสาร์-อาทิตย์เลย เราก็เลยต้องปรับตัวตามพระองค์ไปด้วย ไม่งั้นจะถวายงานไม่ทันพระทัย”
ดร.สุเมธ เล่าให้ฟังว่า ไม่ว่าจะต้องทรงงานหนักหรือเสด็จพระราชดำเนินยังท้องถิ่นทุรกันดารเพียงใดพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มิเคยทรงย่อท้อ
โดยรับสั่งว่า “ทำงานต้องสนุกและมีใจรัก ถึงจะทำได้สำเร็จ” ไม่เพียงพระองค์จะทรงสนุกกับงาน หากยังทรงสร้างบรรยากาศในการทำงานให้รื่นเริงและทรงมีเรื่องเล่าให้สนุกตลอดเวลา ทรงมีพระอารมณ์ขันได้ในทุกสถานการณ์
“จะทรงรับสั่งในลักษณะที่มีพระอารมณ์ขันอยู่ตลอดเวลา บางครั้งผมเคยเล่าให้ฟัง เสด็จไปทางใต้ ที่นั่นเป็นดินกรด ก็รับสั่งถามประชาชนคนหนึ่งที่มาเฝ้าอยู่ว่า “ดินทางนี้เปรี้ยวมั้ย” เขาก็ไม่เข้าใจคำถาม เขาก็ตอบว่า “ไม่เคยกิน” พระองค์ท่านรับสั่ง “เราถามไม่ดีเอง” ก็ทรงพระสรวล ก็มีอยู่ตลอดเวลาเลย
บางทีรถวิ่งไปบนก้อนหิน มันไม่ใช่ถนน วิ่งไปบนก้อนหิน พระองค์ท่านก็รับสั่งว่า “นี่เขาเรียกว่าทางดิสโก้” คือนั่งไปแล้ว มันเต้นดิสโก้ไปด้วยในตัวโดยธรรมชาติ เพราะว่ามันขรุขระ กระแทกกระทั้นไปเป็นชั่วโมงเลย กว่าจะเข้าไปถึงจุดที่จะไป และวันนั้นเรานำพระองค์ท่านหลงทางด้วยซ้ำไป พระองค์ท่านต้องนำกลับมาอีกครั้ง ตกลงแทนที่เราจะเป็นผู้นำเสด็จ พระองค์ท่านนำเสด็จเองเลย แล้วเราก็ตามเสด็จเฉยๆ เราพาท่านหลงไปตั้งไกล”
แม้ระยะหลังนี้ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจะมิได้เสด็จพระราชดำเนินยังท้องถิ่นทุรกันดารเฉกเช่นแต่ก่อน แต่พระองค์ก็ยังทรงงานอยู่อย่างต่อเนื่อง เช่น เวลามีประชาชนถวายฎีกาเพราะเดือดร้อนเรื่องต่างๆ พระองค์จะพระราชทานฎีกาให้เจ้าหน้าที่ไปพิจารณาและสำรวจปัญหา แล้วจึงพระราชทานพระราชกระแสว่าให้ดำเนินการเช่นไร
ดร.สุเมธ ย้ำว่า พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีความห่วงใยในปัญหาบ้านเมืองและราษฎรอยู่ตลอด และจะทรงถ่ายทอดความห่วงใยนั้นๆ ผ่านพระราชดำรัสทุกวันที่ 4 ธ.ค.ของทุกปี จึงอยากให้ประชาชนและเจ้าหน้าที่บ้านเมืองน้อมนำสิ่งที่ได้จากพระราชดำรัสไปปฏิบัติ เพื่อเป็นการแบ่งเบาภาระของแผ่นดิน มิให้พระองค์ต้องทรงแบกรับแต่เพียงลำพัง
“ในฐานะพระมหากษัตริย์ ทรงห่วงบ้านเมืองในแง่มุมต่างๆ ไม่ว่าเรื่องเศรษฐกิจ สังคม เรื่องสิ่งแวดล้อม แม้กระทั่งยาเสพติด เมื่อมองกลับไปทุกวันที่ 4 ธันวาคม จะทรงหยิบยกขึ้นมาในแง่มุมต่างๆ และหลายครั้งทรงแนะ ทรงชี้ช่องวิธีการแก้ปัญหา และวิธีแก้ปัญหาเกือบทุกวิธีตั้งอยู่บนฐานของธรรมะ ความเมตตา ความเข้าใจ ความเห็นอกเห็นใจ มักจะใช้สิ่งนี้เป็นหลัก
แต่จะสังเกตเห็นพวกเราเนี่ย ผมเน้นย้ำเวลาไปพูดที่โน่นที่นี่ว่า พวกเราชอบ “เห็น” พระเจ้าอยู่หัวกัน เห็นแล้วก็ชื่นอกชื่นใจทุกที แต่ไม่ค่อย “มอง” พระเจ้าอยู่หัว น่าเสียดายมาก ผมอยากให้เราเปลี่ยนจาก “เห็น” มาเป็น “มอง” พยายามเพ่งพิศพิจารณาว่า สิ่งที่ทรงกระทำนั้นสื่ออะไรมาให้กับเรา และเราในฐานะพสกนิกรคนหนึ่งนั้น ควรจะปฎิบัติตนอย่างไร เพื่อสร้างประโยชน์ให้กับชาติบ้านเมือง …
มองดูสิครับทรงปฎิบัติอย่างไร และพยายามปฎิบัติตามให้จงได้ และอย่าเพียง “ได้ยิน” เฉยๆ ตรงนี้ให้ “ฟัง” พระเจ้าอยู่หัว และพยายามเข้าใจความหมาย และปฎิบัติตนด้วย
เพราะเราจะถวายภาระทั้งแผ่นดินให้พระองค์ท่านพระองค์เดียว คิดว่าคงไม่ยุติธรรม พวกเราพสกนิกรคงจะต้องเข้าไปช่วยร่วมแบก ร่วมรับภาระกับแผ่นดินนี้ เพราะเราก็อยู่บนผืนแผ่นดินนี้ และมีพระเจ้าอยู่หัวที่ทรงประเสริฐอย่างยิ่ง ผมคิดว่าเราทุกคนจะต้องปฎิบัติตามรอยเบื้องพระยุคลบาท”
ดร.สุเมธ ยังกล่าวถึงพระราชจริยวัตรของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวที่ตนน้อมนำไปปฏิบัติและพสกนิกรน่าจะดำเนินรอยตามด้วยว่า ทรงเรียบง่าย ประหยัด และสุขุมคัมภีรภาพอย่างยิ่ง ทรงทำทุกสิ่งด้วยพระเมตตาและปรารถนาดีอยู่ตลอดเวลา
“ชีวิตประจำวัน เห็นว่าทรงเรียบง่าย ไม่พิถีพิถันในเรื่องอะไรทั้งสิ้น อันนี้เป็นประการที่ 1 ประการที่ 2 จะทรงอดออม จะทรงประหยัด ใช้เหตุใช้ผลในการดำรงชีวิต ไม่เคยฟุ่มเฟือยเลย
ทุกสิ่งทุกอย่างจะทรงใช้ของธรรมดาทั้งสิ้นเลย ไม่ว่าจะเป็นนาฬิกา เครื่องเขียนดินสอธรรมดา เป็นไม้เฉยๆ ฉลองพระบาท 50 กว่าปีก็ทรงใช้อย่างนั้น สิ่งต่างๆ เหล่านี้ผมคิดว่าเรารับมาโดยไม่รู้ตัว จะทำอะไรให้มันฟู่ฟ่าเกินไป ความธรรมดาสามัญของพระเจ้าอยู่หัว ปรากฎขึ้นมา เราก็เบรคแล้ว ทุกคนก็เบรคหมด หยุดหมด
ประการถัดไปที่ผมคิดว่าใช้ประจำวันคือ ทรงสุขุมรอบคอบมาก ก่อนที่จะทำอะไร ต้องแน่นอนพระทัยเสียก่อน จะคิดจะอะไรต้องเตรียมข้อมูลให้พร้อม เมื่อพร้อมข้อผิดพลาดจะถูกลดระดับลงเหลือน้อยเหลือเกินจนเกือบไม่มีเลย ถึงจะลงมือทำ อันนี้ก็จะต้องเป็นบทเรียนของพวกเรา
เพราะส่วนมากเรามักผลีผลาม ใช้ตามอารมณ์ พอเขาเฮมาก็เฮไป ส่วนมากจะเป็นอย่างนี้ ไม่ค่อยใช้เหตุผลกัน ใช้อารมณ์เป็นที่ตั้ง แต่พระองค์ท่านสุขุมคัมภีรภาพมาก
ประการที่ 4 ความทำทุกสิ่งทุกอย่างบนฐานของความเมตตา ฐานความรัก รู้รักสามัคคี ความปรารถนาในแง่ดีอยู่ตลอดเวลา และทรงใช้วิธีที่นุ่มนวล ไม่ใช้การแตกหัก เพราะฉะนั้น 4-5 ประการนี้ถ้าเราเดินตามรอยเบื้องพระยุคลบาท ชีวิตเราก็จะตรงกับที่ท่านได้รับสั่งไว้ ก็มุ่งไปสู่จุดประโยชน์สุข”
ดร.สุเมธ ตันติเวชกุล เลขาธิการมูลนิธิชัยพัฒนา และที่ปรึกษา กปร. กล่าวด้วยว่า พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงเน้นการ “ครองแผ่นดินโดยธรรม เพื่อประโยชน์สุขแห่งมหาชนชาวสยาม”
ซึ่งจะสังเกตได้ว่า ไม่มีประเทศไหนสอนคำว่า “ประโยชน์สุข” มีแต่เพียงคำว่า “ประโยชน์” จึงได้มีการรบราฆ่าฟันเพื่อแย่งชิงผลประโยชน์กันอยู่ตลอดเวลา แต่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงมองเหนือกว่านั้น ทรงเน้นคำว่า “ประโยชน์สุข” เพราะประโยชน์จะต้องให้ความสุขด้วย และไม่ใช่ประโยชน์ที่ได้มาบนความทุกข์ของผู้อื่น!!






ร้อย.ปจว.4

 เราทหารทุกเหล่ารักและเทิดทูนในหลวง ขอน้อมสดุดีองค์ราชัน 

ผธก.ศสพ.

ขอพระองค์ทรงมีพลานามัย ที่แข็งแรง เป็นมิ่งขวัญของปวงชนชาวไทยตลอดไป

ร้อย.ปจว.4

 ทรงเป็นมิ่งขวัญของพสกนิกรทุกหมู่เหล่า ทรงเป็นพ่อของแผ่นดินสยาม

ผธก.ศสพ.

ขอพระองค์ทรงมีพระชนมายุยิ่งยืนนาน

ร้อย.ลว.ไกล๑พล.๑รอ.


พระคุณพ่อล้นฟ้ามหาราช ขอน้อมกราบพระคุณอันยิ่งใหญ่ แม้ว่าเราจักอยู่ทิศใด แต่ดวงใจของท่านอยู่กับเรา ด้วยเกล้าด้วยกระหม่อมขอเดชะ

ร้อย.ลว.ไกล๑พล.๑รอ.



อุทิศทั้งกาย และใจ ไว้ซึ่ง ชาติ ศาสน์ กษัตริย์


 

ร้อย.ลว.ไกล๑พล.๑รอ.


ขอพระองค์ทรงพระเจริญ ขอให้พระองค์ทรงทรงมีพระพลานามัยแข็งแรง ทรงมีพระชนมายุยิ่งยืนนาน เป็นมิ่งขวัญล้นเกล้าล้นกระหม่อมตราบนานเท่านาน

ผธก.ศสพ.







แผ่นดินไทยดำรงค์อยู่ได้ทุกวันนี้ด้วยสถาบันพระมหากษัตริย์

ร้อย.ปจว.4

ขอพระองค์ทรงพระเจริญ

ร้อย.ลว.ไกล๑พล.๑รอ.


เย็นศิระ เพราะพระบริบาล เย็นทั่วหล้า ด้วยพระบารมี

ร้อย.ลว.ไกล๑พล.๑รอ.



ข้าพระพุทธเจ้าขอสดุดี พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว


สมเด็จพระนาง เจ้าพระบรมราชินีนาถ ทรงพระเจริญ

Webboardแสดงความคิดเห็น
เยี่ยม   แย่   แย่   แย่   เขิน   หยอกล้อ  ตกใจ  ร้องไห้   สงสัย   ขอโทษ   หดหู่   อย่าน่ะ   ต่อว่า   โอเค
*ชื่อ
*สถานะ  
*อีเมล
ลิงค์ที่เกี่ยวข้อง
*รหัสยืนยัน

หมายเหตุ : : กรุณากรอกข้อมูลที่มี * ทุกช่อง

view

 กองทัพบก

 ยศ.ทบ.

กองอนุศาสนาจารย์ ยศ.ทบ.

ศูนย์การเรียนรู้ มทบ.๑๕

ฝอศจ.จทบ.ร.บ.

view